16 เมษายน 2552

จับตาหุ้นเด่นวันนี้ 16-4-52

STOCKFOCUS: จับตาหุ้นเด่นวันนี้

*PYLON
-คาดรายได้กำไร Q1/52 โตจาก backlogที่มีราว 200 ลบ.คาด H2 ได้งานเพิ่ม

*PTT
-PTT ทยอยออกหุ้นกู้ 2-3 หมื่นลบ.ปีนี้, PTTEP เล็งออก 3-4 หมื่นลบ.ในพ.ค. มองโอกาสเหมาะส่ง PTTEP เน้นทำ M&A พลังงานต้นน้ำเพิ่มสร้างสมดุลธุรกิจ

*KASET
-ตั้ง PM และเครือกระทิงแดงเป็นตัวแทนจำหน่าย,คาดปี 52 ลงทุน 45 ลบ.

*CENTEL
-ลุยรับบริหาร รร.ในตปท.ลดความเสี่ยง, ปรับลดเป้าปีนี้โตเหลือ 6-7% จากเดิมคาดไว้ 10%

*SHIN
-คาดปี 52 รายได้ใกล้เคียงปีก่อน รักษาระดับจ่ายปันผลเท่างวดปี 51

*PSAAP/MALEE
-ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะขึ้นเครื่องหมาย SP (Suspension) ห้ามซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของ MALEE และ PSAAP ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นไป จนกว่าบริษัทจะสามารถดำเนินการปรับปรุงแก้ไขฐานะการเงินและการดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์

*TMB
-นสพ.ระบุ แบงก์ทหารไทย(TMB)ยังไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต.ให้ขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ(TMB IT-ONE)ให้กับนักลงทุน เหตุยังแจงข้อมูลไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผล ที่ต้องขึ้นอยู่กับผลกำไรของธนาคาร หวั่นมีปัญหาเช่นเดียวกันไฮบริดจ์เทียร์1

*BCP
-นสพ.ระบุ"บางจาก"เตรียมทำเซอร์ไพรส์อีกรอบ แย้มกำไรไตรมาส 1/52 ดีเกินคาด โชว์บริหารจัดการดี เร่งทำความเสี่ยงล่วงหน้าแล้วกว่า 40% แถมค่าการกลั่นปีนี้มีลุ้นแตะระดับ 7-8เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลพร้อมเดินหน้าโครงการ PQI เพิ่มกำลังผลิตเป็น 1 แสนบาร์เรลต่อวัน หนุนรายได้ปีนี้ขยับเพิ่มเล็งทุ่มเงินสด 2,000 ล้านบาท สร้างโรงกลั่นเบนซินมาตรฐานยูโรโฟร์

*PAE
-นสพ.ระบุ PAE พร้อมเคลียร์กับกลุ่ม GPS หลังสงกรานต์นี้ กรณีปัญหาใช้สิทธิแปลงวอร์แรนต์เป็นหุ้นสามัญ ขณะที่ราคาหุ้นในกระดานต่ำลงกว่าราคาใช้สิทธิมากแล้ว ส่วนความช่วยเหลือทางการเงินยังปกติ ขณะที่กิจการของบริษัทก้าวหน้าตามลำดับ เริ่มรับงานเข้ามาต่อเนื่อง

*PERM
-นสพ.ระบุ โรงงานแห่งใหม่คืบ 90% อยู่ระหว่างรอเครื่องจักรจากญี่ปุ่นคาดแล้วเสร็จปลายปีนี้ ดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ต้นปี 53 พร้อมรับรู้รายได้ทันที สามารถเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นอีก 30% จากปัจจุบันมีกำลังการผลิต 2.2 แสนตันต่อปี มั่นใจไตรมาส 1/52 ใกล้เคียงกับปีก่อน

*RATCH
-นสพ.ระบุ ผุดวินฟาร์ม ใหญ่สุดในอาเซียน ที่เพชรบูรณ์ ขนาด 60 เมกะวัตต์ มูลค่าประมาณ4,300 ล้านบาท ติดตั้งกังหันลม 30 ต้น เริ่มการก่อสร้างต.ค.นี้ เดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าให้กฟผ.ปี 54 ตอบสนองนโยบายรัฐหนุนเอกชนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน

*ACL
-นสพ.ระบุ ความคืบหน้าขายแบงก์ ธปท.เผย ICBC ยังเดินหน้าเจรจาซื้อหุ้นสินเอเชียจากคลังและแบงก์กรุงเทพ หวังเพิ่มสัดส่วนถือหุ้นเกิน 49%

*CK
-นสพ.ระบุ รฟม.บีบ CKTC ลดค่าก่อสร้างต่ำกว่า 1.5 หมื่นล้านบาทแล้ว เตรียมชงบอร์ดพิจารณา เร็วๆนี้ ก่อนทำราคากลางใหม่ คาดเหลือเพียง 1.3 หมื่นล้านบาท หลังหักลบอัตราเงินเฟ้อ และราคาน้ำมัน ที่ลดลงปัจจุบัน

*EASTW
-นสพ.ระบุ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จึงจะทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อหาทางแก้ไขวิกฤติปัญหาน้ำขาดแคลนในระยะยาว อาจให้ กนอ.ลงทุนในบางส่วนเพื่อความมั่นคง ทั้งด้านปริมาณให้เพียงพอ อีกส่วนหนึ่งให้ภาคเอกชนเป็นผู้จัดหา

*SCB
-นสพ.ระบุ แบงกใบโพธิ์ใส่เงินเพิ่มทุนธนาคารเวียดนาม รักษาส่วนถือหุ้น 33% คาดไตรมาสแรกสินเชื่อแบงก์หดตัว 5%

*SEAFCO
-นสพ.ระบุ ซีฟโก้เตรียมเซ็นสัญญาโครงการมูลค่า 300 ล้านบาทหลังเม.ย.นี้ ดันรายได้ปีนี้โตกว่า 1.6 พันล้านเทียบปีก่อน เผยแนวโน้มผลประกอบการไตรมาสแรกพลิกมีกำไร หลังรับเงินพิเศษจากการคืนหนี้สูญ 2 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าเก็บหนี้ลูกหนี้คืนหมดภายในพ.ย.ปีนี้

*VIBHA
-นสพ.ระบุ บิ๊ก VIBHA ประเมินแนวโน้มธุรกิจไตรมาส 2/2552 ได้รับผลจากพิษเศรษฐกิจการเมืองวุ่นวายไม่มาก ขณะที่รายได้ Q1/2552 ทรงตัว ใกล้เคียงช่วยเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 260.79 ล้านบาท ขณะที่ทั้งปีมั่นใจรายได้เข้าเป้า 1,200 ล้านบาทเตรียมเข้าเทกโอเวอร์ โรงแรมปริ๊นส์ ตั้น พาร์ค สวีท รองรับทัวร์สุขภาพ

*GRAMMY
-นสพ.ระบุ แกรมมี่ชี้ทีวียังเป็นสื่อที่มีอิทธิพลมากสุด มองทีวีดาวเทียมจุดเปลี่ยนสำคัญในการสร้างรายได้ ย้ำวางหมากเดินหน้าถูกทาง มุ่งสร้าง Total Entertainment Platform มั่นใจเดินหน้าสวนกระแสพิษเศรษฐกิจและการเมือง สิ้นปี 52 รายได้ไม่ต่ำกว่าปี51 แน่

*EVER
-นสพ.ระบุ "สวิจักร์ โลจายะ" แห่ง EVER บอกผู้ถือหุ้นปีนี้ไม่ตั้งเป้าเติบโต แค่เก็บโครงการเก่าขายประคองตัวให้ผ่านพ้นวิกฤตปีนี้ไปก่อน ส่วนหุ้นที่ปรับลงก็ปล่อยตามกลไกไม่เข้าเก็บหุ้นราคาถูกเพิ่ม

*THAI
-นสพ.ระบุ เปิดแผนหารายได้บินไทยพลิกเกมเอาเครื่องบินเจ้าปัญหาแอร์บัสเอ 340-500 ทั้ง 4 ลำ บินเต็มพิกัดหลังประกาศขายไม่มีคนซื้อ โดยหันไปเปิดเส้นทางบินใหม่กรุงเทพฯ-ออสโล ประเทศนอร์เวย์สัปดาห์ละ 5 เที่ยวบินและเพิ่มความถี่เป็นบินทุกวัน กรุงเทพฯ-แอลเอ ด้านประธานแผนฟื้นฟูอนุมัติทันทีเริ่ม 1 มิถุนายนนี้ ตั้งเป้าสองเส้นทางโกยไม่ต่ำกว่า 6 เดือน แฉถ้าจอดทิ้งขาดทุนเดือนละกว่า 100 ล้านบาท

*MFC
-นสพ.ระบุ บอร์ด MFC อ้าแขนรับกลุ่มบล.แอ๊ดคินซัน นั่งกรรมการเพิ่ม 1 เก้าอี้ ชงผู้ถือหุ้นวันนี้ หลังกุมหุ้นใหญ่อันดับสอง

ที่มา:IQ ข่าวหุ้น

3 สาเหตุฉุด GDP

การเมือง-คลังสะดุด-โลกทรุด 3เหตุฉุดGDPไทยลบสุด5%


ท่ามกลางวิกฤติโลก ที่ยังมองไม่เห็นจุดสิ้นสุด ว่าจะจบลงหรือลงเอยอย่างไรนั้น การคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาคของบรรดาองค์กรการ เงินชั้นนำสำหรับปี 2552 ซึ่งครอบคลุมถึงปี 2553 นั้น ได้ทยอยประกาศให้รับรู้เหมือนเช่นทุกปีที่ผ่านมา


โดยปลายไตรมาส 2 เข้าสู่ไตรมาส 3 ปี 2552 ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ได้เรียงแถวกันให้ข้อมูลผลการประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจ ในหลายแง่หลายมุม ที่รัฐบาลและนักเศรษฐศาสตร์ไทยต้องตระหนักถึงปัจจัยลบต่างๆ ที่อาจเหนี่ยวรั้งเศรษฐกิจไทยยิ่งลงลึกแตะ 5% ติดลบมากกว่าสมมติฐานเป็นกลางคือหดตัว 2-4%

ห่วงการเมือง-การคลังสะดุด

เอดีบีถือเป็นองค์การเงินระดับภูมิภาครายแรก ที่เผยแพร่ข้อมูลการวิเคราะห์เศรษฐกิจเอเชียและไทยปีนี้และปีหน้า โดยให้ข้อมูลเชิงลึกและชัดเจนกว่าองค์กรอื่น ในแง่ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เมื่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพีของไทยหดตัวแรงกว่าคาดการณ์ไว้บนสมมติฐานเป็นกลาง ซึ่งสะท้อนถึงจำนวนคนที่จะตกงานเพิ่มขึ้น

โดย ฌอง ปิแอร์ เวอร์บีสท์ ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทนของเอดีบี ประจำประเทศไทย กล่าวว่าหากพิจารณาแนวโน้มเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะชาติอุตสาหกรรมสำคัญไม่ว่าจะ สหรัฐ ยุโรปและญี่ปุ่น ขยายตัวติดลบหมด ทำให้คาดการณ์การขยายตัวของเอเชียปี 2552 อยู่ที่ระดับ 3.4% ซึ่งต่ำสุดในรอบ 12 ปี เทียบกับวิกฤติปี 2540

"เฉพาะไทยจีดีพีจะติดลบ 2% ปีนี้ ก่อนฟื้นตัวเป็นบวก 3% ปีหน้า การหดตัวของจีดีพีไทยที่ 2% ถือเป็นครั้งแรกนับจากที่เคยหดตัวถึง 10.5% เมื่อเกิดวิกฤติปี 2540 การหดตัวของจีดีพีปีนี้ อาจทำให้คนว่างงานเพิ่มขึ้นเกือบ 2 ล้านคน แต่หากการเมืองไทยเลวร้ายมากขึ้น การดำเนินนโยบายเบิกจ่ายล่าช้าเงินไม่สามารถส่งถึงในเวลาอันควร จีดีพีจะยิ่งติดลบ 4-5% ซึ่งไม่ใช่เพราะปัจจัยในประเทศเท่านั้น แต่อาจมีปัจจัยต่างประเทศร่วมด้วย" เวอร์บีสท์ให้ข้อมูล

เวอร์บีสท์เตือนด้วยว่าเศรษฐกิจเอเชียกำลังหดตัว สะท้อนได้จากดัชนีค้าปลีกในภูมิภาคลดลง สะท้อนถึงกำลังในการบริโภคยังคงลดลง เป็นผลสืบเนื่องจากอัตราว่างงานมากขึ้น หากคำนวณเทียบจีดีพี คาดว่าจีดีพีไทยที่ลดลงทุก 1% จะทำให้คนตกงานเพิ่ม 4 แสนคน

ขณะที่ธนาคารโลกให้ข้อมูลการจ้างงานในไทย มีอัตราว่างงานเพิ่มขึ้น เดือนแรกปีนี้เพิ่มจากธ.ค.ปีก่อน 3 แสนคน อัตราว่างงานเดือนม.ค.ปีนี้อยู่ที่ 2.4% เทียบกับเดือนม.คปีก่อน 1.7%
ความกังวลของเวอร์บีสท์ สอดรับกับ นิสสันเก วีระซิงห์ ที่ปรึกษาจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประจำเอเชีย-แปซิฟิก ที่ว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะหดตัวแรง ติดลบระหว่าง 2-4% ด้วยเงื่อนไขนโยบายการเงินการคลังต้องต่อเนื่องไม่เปลี่ยนแปลงและต้องเกิดผล สำเร็จ การเมืองต้องมีเสถียรภาพ

ไอเอ็มเอฟระบุว่าในช่วงปี 2552 รัฐบาลไทยต้องใช้นโยบายการเงินและการคลังเข้ามาเสริม ซึ่งการดำเนินนโยบายทั้งสองด้านที่ผ่านมาเหมาะสมแล้วและถือว่าจำเป็น เพื่อสกัดกั้นหรือหยุดยั้งการบริโภคกับการลงทุนไม่ให้หดตัวไปมากกว่านี้

ความเห็นของวีระซิงห์ตอกย้ำมุมมองของเวอร์บีสท์ ที่ว่าระยะสั้นปัญหาท้าทายรัฐบาลไทยคือ การดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่ประกาศไว้แล้วให้ได้ผลอย่างแท้จริง รัฐบาลต้องเบิกจ่ายดีขึ้น เร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ล่าช้ามานานกว่า 3 ปี เพราะความไม่มั่นคงทางการเมือง

ขณะที่ กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของธนาคารโลก หรือ เวิลด์แบงก์ในไทย มองว่ารัฐบาลจำเป็นต้องลงทุนสาธารณูปโภคพื้นฐาน เพื่อรักษาความสามารถแข่งขันของประเทศในระยะยาว ดึงเอกชนร่วมพัฒนาสาธารณูปโภค ปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อการลงทุน จะช่วยลดแรงกดดันที่มีต่องบประมาณฐานะการคลังได้

หวั่นโลกถดถอยเกินคาด

ทั้งนี้วีระซิงห์เตือนว่า หากสถานการณ์เศรษฐกิจการเมืองไทย ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้น บวกแนวโน้มเศรษฐกิจโลกยังถดถอยซบเซาต่อเนื่อง หรือยืดเยื้อกว่าคาดการณ์ไว้ ไอเอ็มเอฟเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตและคาดการณ์จีดีพีของไทยแน่นอน

สอดรับกับ กิริฎา และแอนเนต ดิกซอน ผู้อำนวยการธนาคารโลก ซึ่งกล่าวถึงสมมุติฐานเลวร้ายสุดของธนาคารโลกที่ว่าจีดีพีไทยจะติดลบมากกว่า 2.7% โดยติดลบหนักสุด 4.9% ปีนี้ ด้วยการให้น้ำหนักกับปัญหาเกิดจากการค้าโลกหดตัวอาจฉุดจีดีพีไทยติดลบมาก ขึ้น

"ยอมรับว่าการเมืองอาจส่งผลกระทบต่อคาดการณ์จีดีพีไทยอยู่บ้าง แต่ไม่ร้ายแรงหรือรุนแรงเท่ากับปัญหาจากเศรษฐกิจโลกหดตัว เราให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจโลกที่กำลังทรุดตัวและผลกระทบจากการค้าโลกหดตัว มากกว่า" กิริฎากล่าวย้ำ สอดรับเอดีบีให้ปัจจัยเสี่ยงเรื่องหนึ่งสำหรับไทย คือแนวโน้มที่กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ อยู่ในสภาพถดถอยนานกว่าที่หวั่นเกรงกัน
หวั่นส่งออกหดตัวกว่า 17%

ทั้งนี้ธนาคารโลกมองวิกฤติโลกส่งผลกระทบต่อไทย ในแง่ที่ปริมาณการค้าโลกอาจลดลงกว่า 6% ซึ่งการส่งออก 2 เดือนแรกปีนี้ของไทยติดลบแล้ว 20% ส่งออกทุกประเภทโตติดลบหมด ทำให้คาดว่าปีนี้ส่งออกไทยจะติดลบ 17% สอดคล้องกับเอดีบีที่ว่าการส่งออกทั้งสินค้าและบริการหดตัวมากกว่าที่คาดไว้ เพราะปัจจัยเสี่ยงจากชาติอุตสาหกรรมชั้นนำถดถอยนานกว่าที่คาดไว้

ส่วนไอเอ็มเอฟชี้ว่าช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผลประกอบการแข็งแกร่งของภาคส่งออกของไทย ช่วยสนับสนุนการเติบโต ทั้งๆ ที่อุปสงค์ในประเทศซบเซาและเบาบางมาก แต่พอเข้าสู่ต้นไตรมาส 4 ปี 2551 การส่งออกกลับหดตัวแรง ซึ่งปีนี้ไอเอ็มเอฟคาดว่าส่งออกของไทยจะหดตัว 10%

โดยเอกสารติดตามเศรษฐกิจไทยของธนาคารโลก เตือนไว้ว่าโครงสร้างเศรษฐกิจโลก จะเปลี่ยนไปหลังเกิดวิกฤติโลกครั้งล่าสุด ทำให้ผู้ส่งออกของไทยต้องเจาะหาตลาดใหม่พัฒนาสินค้าและบริการ ให้เป็นที่ต้องการของตลาดใหม่ เพิ่มขีดแข่งขันและมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ ขณะที่รัฐบาลต้องช่วยปรับปรุงบรรยากาศการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นทักษะและนวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐานและกฎระเบียบวิธีการทำงานของรัฐด้วย

หนี้ต่ำเอื้อรัฐกู้-ต้องลงทุนเพิ่ม

รายงานคาดการณ์เศรษฐกิจไทยของเอดีบี ระบุว่าจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทำให้หนี้สาธารณะของไทยเทียบจีดีพีเพิ่ม เป็น 43% ในปี 2552 มีช่องว่างให้รัฐบาลกู้ยืมได้อีก เพราะกรอบความยั่งยืนทางการคลังอยู่ที่ 50% ของจีดีพี ขณะที่ทุนสำรองสกุลเงินต่างประเทศยังสูง และหนี้ต่างประเทศยังต่ำประมาณ 24%ของจีดีพี

“ถ้าเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้ไม่ดี รัฐบาลอาจพิจารณาใช้งบขาดดุลต่อเนื่องได้อีก และอาจก่อหนี้สาธารณะเกินกรอบยั่งยืนทางการคลังได้ตามความจำเป็น เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจเติบโต และเมื่อเศรษฐกิจโตในระดับที่อยู่ตัวแล้ว รัฐบาลควรลดใช้งบประมาณขาดดุล และทำให้การก่อหนี้อยู่ในกรอบยั่งยืนทางการคลังต่อไป” เวอร์บีสท์กล่าวเตือน

เวอร์บีสท์ระบุด้วยว่าขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยยังน้อยเทียบกับ ประเทศอื่น ซึ่งรัฐบาลคงจะประกาศมาตรการอื่นๆ ออกมาอีก แต่มาตรการจะได้ผลหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างไร ถ้าโลกไม่ฟื้นตัวเร็ว ไทยต้องเพิ่มมาตรการอื่นๆ อีก

“ขนาดมาตรการจะส่งผลมากต่อเศรษฐกิจ และส่งผลดีต่อเมื่อรัฐนำเงินไปลงทุนในสาธารณูปโภค ลำพังมาตรการออกเช็คช่วยชาติแม้ส่งผลต่อการบริโภคก็จริง แต่ไทยต้องลงทุนสาธารณูปโภคควบคู่กับการช่วยผู้บริโภค จึงจะช่วยเศรษฐกิจได้ในวงกว้างกว่า ลึกกว่าและได้ผล” เวอร์บีสท์ให้ความเห็น

ทั้งนี้ไอเอ็มเอฟประเมินขาดดุลงบประมาณของไทยจะอยู่ที่ 4.5% ของจีดีพี ระดับนี้เมื่อพิจารณาจากหนี้สาธารณะแล้วยังต่ำ สามารถรับได้หรือยังอยู่ในกรอบยั่งยืนทางการคลัง ซึ่งมูลหนี้ส่วนนี้คงจะเพิ่มขึ้นตามการใช้นโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ยังช่วยให้ไทยอยู่บนเส้นทางเติบโตต่อเนื่องได้ และขาดดุลระดับนี้ควรช่วยกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์ในประเทศได้

"การลงทุนของภาครัฐนับว่าสำคัญช่วยจีดีพีเติบโตตลอด 2-3 ปีข้างหน้า และจำเป็นอย่างมากที่ต้องผลักดันโครงการสาธารณูปโภคให้เกิดขึ้นและดำเนินต่อ ไป ในระยะกลางคาดว่าไทยจะค่อยๆ ฟื้นตัวได้ ด้วยการส่งออกและการลงทุนของรัฐ แต่ต้องกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชน หนุนการบริโภคฟื้นตัว ตอนนี้การลงทุนเอกชนเทียบจีดีพีต่ำมาก จากนี้ไปการลงทุนควรปรับขึ้นให้มาก" วีระซิงห์กล่าว

ระวังเอ็นพีแอลแบงก์เพิ่ม

ทั้งนี้เอดีบีมองว่า ท่ามกลางข่าวร้ายยังมีข่าวดีสำหรับไทย คือผลกระทบจากปัญหาสินเชื่อบ้านปล่อยกู้ลูกค้าความน่าเชื่อถือต่ำ (ซับไพร์ม) ไม่มากนัก ไม่ถึง 1% ของทุนสถาบันการเงินถือว่าต่ำมาก ซึ่งสะท้อนด้วยว่าสถาบันการเงินในภูมิภาครวมทั้งไทยยังแข็งแกร่ง ขณะที่ปริมาณหนี้ไม่ก่อรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสถาบันการเงินต่ำมาก

แต่รายงานของเอดีบีย้ำว่าความแข็งแกร่งของสถาบันการเงินไทยเวลานี้ หากเศรษฐกิจเกิดชะลอตัวยาวนาน อาจจะทำให้ปริมาณเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นได้ จนส่งผลกระทบย้อนกลับกระทบต่อสถานะของสถาบันการเงินของไทยได้ในอนาคต

ขณะที่ไอเอ็มเอฟประเมินแนวโน้มภาคธนาคารและเอกชนของไทยไว้ว่า ยังสดใสสุขภาพดีแข็งแกร่งกับการเผชิญและรับมือวิกฤติโลก ฐานะเงินทุนของธนาคารยังดีอยู่ หลายปีที่ผ่านมาเอ็นพีแอลลดลงจากระดับสูงสุดเมื่อครั้งเกิดวิกฤติเอเชีย การลงทุนซับไพร์มมีน้อย

ภาคเอกชนไทยช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ภาระหนี้ลดลงความสามารถทำกำไรสูง แต่มีแนวโน้มว่าวิกฤติขณะนี้จะกดดันภาคเอกชนและภาคธนาคารของไทย อาจทำให้เอ็นพีแอลขยับสูงขึ้นได้ ธุรกิจขนาดกลางถึงย่อม หรือ เอสเอ็มอี อาจเผชิญปัญหาคุมเข้มสินเชื่อมากขึ้น

จี้รัฐทำกันชนช่วยสังคม

ทั้งนี้เอดีบีมองปัญหาท้ายรัฐบาลไทย คือหากเศรษฐกิจยังชะลอตัวต่อเนื่องยาวนาน ปัญหาว่างงานจะยังเป็นปัญหาใหญ่ รัฐบาลต้องพิจารณาโครงข่ายความปลอดภัยทางสังคม (social safety net) อย่างจริงจังทั้งในระยะสั้นและยาว
ขณะที่ดิกซอนจากธนาคารโลก แนะไทยพัฒนาระบบการป้องกันทางสังคม (social protection system) เพื่อลดผลกระทบเกิดกับประชาชน เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว และเป็นการส่งเสริมการบริโภคของภาคครัวเรือน โดยเฉพาะเยาวชนในวัยทำงาน ให้ใช้วิกฤติเป็นโอกาส เข้ารับการศึกษาอบรมเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาทักษะให้มากขึ้น ขณะที่รัฐต้องสร้างแรงจูงใจคนเหล่านี้สนใจพัฒนาตัวเอง


อาจปรับขึ้นเพียงระยะสั้น

นักวิเคราะห์คาดหุ้นไทยอาจปรับขึ้นเพียงระยะสั้น หวั่นแรงขายกังวล พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

กรุงเทพฯ - นายจักกริช เจริญเมธาชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเปิดทำการเพียง 2 วัน คือ 16-17 เม.ย.นี้ หลังจากหยุดยาวช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยคาดว่าดัชนีหุ้นไทยจะปรับตัวลง แม้ว่าผู้ชุมนุมได้สลายการชุมนุมแล้ว แต่การที่รัฐบาลประกาศคงพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้มุมมองของต่างชาติต่อประเทศไทยยังคงภาพลบ ประกอบกับการที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ หรือ S&P ลดอันดับเครดิตสกุลเงินบาทจากระดับ A เป็น A- จะกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนและสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่าง ๆ เช่น มูดีส์ และ ฟิทซ์ มีแนวโน้มลดเครดิตไทยลงเช่นกัน ดังนั้นประเมินว่าคงจะมีแรงขายออกมาจากนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยดัชนีมีแนวรับที่ 440 จุด

นายเตชะธร ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า แรงกดดันทางการเมืองลดน้อยลง ทำให้ตลาดปรับในทิศทางเชิงบวกได้ และในสัปดาห์ที่แล้ว ตลาดหุ้นไทยก็บวกน้อยกว่าภูมิภาค และเห็นว่าหลังปัจจัยภายในประเทศสงบลงปัจจัยภายนอกจะเข้ามามีอิทธิพลต่อการ ลงทุนมากขึ้น ซึ่งต้องติดตามว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ มีแนวโน้มจะปรับ ขึ้นด้วยหรือไม่ ขณะที่ในช่วงที่ผ่านมา บรรยากาศภายนอกประเทศเริ่มมีทิศทางดีขึ้น แนวต้านสัปดาห์นี้อยู่ที่ 465 จุด และแนวรับ 450 จุด

นายรณกฤต สารินวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายวิเคราะห์ บล.แอ๊ดคินซัน กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยจะดีขึ้นในสัปดาห์นี้ แต่มองว่าจะเป็นเพียงระยะสั้น เนื่องจากปัจจัยทางการเมืองที่สงบลง มองว่าจะเป็นเพียงแค่ชั่วคราว ดัชนีไม่น่าเกิน 480 จุด อย่างไรก็ตาม ปัจจัยการเมืองยังไม่จบ และอาจจะมีประเด็นต่อเนื่องตามมา ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศยังไม่ดีนัก ซึ่งจะกดดันต่อการลงทุน โดยให้แนวรับดัชนี ในสัปดาห์นี้ที่ 430 และแนวต้าน 480 จุด ทั้งนี้ เมื่อวันศุกร์ที่ 10 เม.ย.ที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทยปิดที่ 453.88 จุด.


ที่มา:สำนักข่าวไทย

หุ้นไทยอาจขึ้นช่วงสั้น

หุ้นไทยอาจขึ้นช่วงสั้น ระวังแรงขายต่างชาติ

นักวิเคราะห์ประเมินแนวโน้มตลาดหุ้นอาจปรับตัวขึ้นในช่วงสั้น หลังรัฐบาลสลายชุมนุมเสื้อแดงไม่เกิดเหตุรุนแรง เตือนแรงขายต่างชาติกังวลพรก.ฉุกเฉิน

นายจักกริช เจริญเมธาชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเปิดทำการเพียง 2 วัน คือ 16-17 เม.ย.นี้ หลังจากหยุดยาวช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยคาดว่าดัชนีหุ้นไทยจะปรับตัวลง แม้ว่าผู้ชุมนุมได้สลายการชุมนุมแล้ว แต่การที่รัฐบาลประกาศคงพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้มุมมองของต่างชาติต่อประเทศไทยยังคงภาพลบ

นอกจากนี้ การที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ หรือ S&P ลดอันดับเครดิตสกุลเงินบาทจากระดับ A เป็น A- จะกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนและสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่าง ๆ เช่น มูดีส์ และ ฟิทซ์ มีแนวโน้มลดเครดิตไทยลงเช่นกัน ดังนั้นประเมินว่าคงจะมีแรงขายออกมาจากนักลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยดัชนีมีแนวรับที่ 440 จุด

นายเตชะธร ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส กล่าว ว่า แรงกดดันทางการเมืองลดน้อยลง ทำให้ตลาดปรับในทิศทางเชิงบวกได้ และในสัปดาห์ที่แล้ว ตลาดหุ้นไทยก็บวกน้อยกว่าภูมิภาค และเห็นว่าหลังปัจจัยภายในประเทศสงบลงปัจจัยภายนอกจะเข้ามามีอิทธิพลต่อการ ลงทุนมากขึ้น ซึ่งต้องติดตามว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ มีแนวโน้มจะปรับ ขึ้นด้วยหรือไม่

ขณะที่นายรณกฤต สารินวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายวิเคราะห์ บล.แอ๊ดคินซัน กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยจะดีขึ้นในสัปดาห์นี้ แต่มองว่าจะเป็นเพียงระยะสั้น เนื่องจากปัจจัยทางการเมืองที่สงบลง มองว่าจะเป็นเพียงแค่ชั่วคราว ดัชนีไม่น่าเกิน 480 จุด



Template by - Abdul Munir | Blogging4