29 มีนาคม 2552

ทองคำปิดร่วง $16.8

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก:
ดอลล์แข็ง ฉุดทองคำปิดร่วง $16.8

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (27 มี.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงิน ยูโร เนื่องจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะลดดอกเบี้ยและเข้าซื้อพันธบัตรเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

สำนักข่าวเอพีรายงานว่า สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดที่ 923.2 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 16.8 ดอลลาร์

ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.ลดลง 35.7 เซนต์ ปิดที่ 13.2630 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาโลหะทองแดงส่งอบเดือนพ.ค.ดิ่งลง 1.9 เซนต์ ปิดที่ 1.8360 ดอลลาร์/ปอนด์

เจมส์ สตีล นักวิเคราะห์จากธนาคาร HSBC ในกรุงนิวยอร์กกล่าวว่า สัญญาทองคำได้รับปัจจัยลบจากค่าเงินดอลลาร์ที่พุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร หลังจากมีกระแสคาดการณ์ว่าอีซีบีอาจเดินตามรอยรัฐบาลสหรัฐและญี่ปุ่นในการ เข้าซื้อพันธบัตรเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้สกุลเงินยูโรหมุนเวียนในระบบการเงินของ ยุโรปมากขึ้น

นอกจากนี้ ตลาดทองคำยังได้รับแรงกดดันหลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคประจำเดือนก.พ.ขยับขึ้นเพียง 0.2% หลังจากพุ่งขึ้น 1% ในเดือนม.ค. และจากการสำรวจพบว่าผู้บริโภคยังคงมีมุมมองในด้านลบต่อเศรษฐกิจ

ขณะที่รายได้ส่วนบุคคลประจำเดือนก.พ.ลดลง 0.2% ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกัน 4 ครั้งภายในระยะเวลา 5 เดือน และสะท้อนให้เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยส่งผลให้ภาคเอกชนเลย์ออฟพนักงานอย่าง ต่อเนื่อง

ดาวโจนส์ดิ่งลง148จุด

ดาวโจนส์ดิ่งลงเกือบ 150 จุด

สหรัฐ 28 มี.ค. - ตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งลงตามคาดเกือบ 150 จุด จากแรงเทขายทำกำไร หลังจากดัชนีปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา

ปิดการซื้อขายตลาดหุ้นสหรัฐ นักลงทุนเทขายหุ้นในทุกกลุ่ม เพื่อทำกำไร หลังจากดัชนีพุ่งขึ้นต่อเนื่องในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและพลังงานมีแรงเทขายมากที่สุด ขณะที่ข้อมูลล่าสุดระบุว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคในเดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นเพียง 0.2% ขณะที่รายได้เฉลี่ยกลับลดลง 0.2%

ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กมีอยู่ราว 1.4 พันล้านหุ้น มีจำนวนหุ้นลบมากกว่าหุ้นบวกในอัตราส่วน 1 ต่อ 3

สจ๊วต สวิทเชอร์ นักวิเคราะห์จากเจพีมอร์แกน ไพรเวท แบงค์ กล่าวว่า "นักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากตลาดหุ้นนิวยอร์กทะยานขึ้นติดต่อกันหลายวัน ส่วนปัจจัยอื่นๆที่กดดันตลาดก็ได้แก่ตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคและรายได้ส่วนบุคคลในสหรัฐที่น่าผิดหวัง ซึ่งสวนทางกับเมื่อ 2-3 วันก่อนที่บรรยากาศการซื้อขายเป็นไปอย่างคึกคักหลังจากทางการสหรัฐเปิดเผยยอดขายบ้านใหม่และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนที่แข็งแกร่งเกินคาด"

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคประจำเดือนก.พ.ขยับขึ้นเพียง 0.2% หลังจากพุ่งขึ้น 1% ในเดือนม.ค. ขณะที่รายได้ส่วนบุคคลประจำเดือนก.พ.ลดลง 0.2% ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกัน 4 ครั้งภายในระยะเวลา 5 เดือน และสะท้อนให้เห็นว่าภาคเอกชนในสหรัฐเลย์ออฟพนักงานจำนวนมาก

นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาส 4 หดตัวลง 6.3% ต่อปี ซึ่งเป็นสถิติที่หดตัวลงครั้งใหญ่สุดนับตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของปีพ.ศ.2525
ซึ่งเป็นผลมาจากการร่วงลงของยอดส่งออก ตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภค และอัตราการลงทุนในทุกภาคส่วน
รวมถึงการลงทุนด้านอุปกรณ์และซอฟท์แวร์ แม้รัฐบาลสหรัฐพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะออกมาตรการกระตุ้น
การใช้จ่ายในภาคเอกชนก็ตาม

นักลงทุนตื่นตระหนกกับข่าวที่ว่า บริษัท กูเกิล อิงค์ ประกาศปลดพนักงานครั้งใหญ่เกือบ 200 คน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้แต่บริษัทที่ทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำก็ยังได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก โดยพนักงานที่ถูกปลดซึ่งใหญ่อยู่ในแผนกขายโฆษณานั้น คิดเป็นสัดส่วน 1% ของพนักงานทั้งหมด 20,200 คน

ทั้งนี้ แม้ว่ากูเกิลจะมีกำไรกว่า 4.2 พันล้านดอลลาร์ จากผลประกอบการ 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่ทางบริษัทก็ยังพยายามลดต้นทุนเพราะไม่ต้องการให้กำไรและราคาหุ้นลดลงไปมากกว่านี้ โดยข่าวดังกล่าวส่งผลให้หุ้นกูเกิลดิ่งลง 5.59 ดอลลาร์ ปิดที่ 347.70 ดอลลาร์ และหุ้นแอสเซนเจอร์ ร่วงลง 13.5%

ขณะที่การร่วงลงของสัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ได้ฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงด้วย โดยหุ้นเอ็กซอนโมบิลดิ่งลง 1.25 ดอลลาร์ ปิดที่ 69.98 ดอลลาร์ และหุ้นเชฟรอนร่วงลง 1.27 ดอลลาร์ ปิดที่ 68.90 ดอลลาร์

ส่วนหุ้นกลุ่มการเงินดิ่งลงข่าวว่าประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐประชุมร่วมกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของ 12 สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ในสหรัฐ รวมถึงนายวิกรม บัณฑิต ซีอีโอซิตี้กรุ๊ป โดยหุ้นซิตี้กรุ๊ปดิ่งลง 6.8% และหุ้นเจพีมอร์แกนร่วงลง 5.8%

ด้านราคาน้ำมันดิบตลาดไนเม็กซ์
ลดลง 1.96 ดอลลาร์สหรัฐ ไปปิดที่ 52.38 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล

ทำให้หลังปิดตลาด ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ ปิดที่ 7,776.18 จุด ลดลง 148.38 จุด
แนสแดค ปิดที่ 1,545.20 จุด ลดลง 41.80 จุด
และ เอสแอนด์พี ปิดที่ 815.94 จุด ลงไป 16.92 จุด

ที่มา : สำนักข่าวไทย
สำนักข่าวอินโฟเควสท์

รอดูตัวเลขเศรษฐกิจ

บล. พัฒนสินแนะรอดูตัวเลขเศรษฐกิจสัปดาห์หน้ากำหนดชะตาตลาดหุ้นไทย

ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย ผู้บังคับบัญชา สายงานวิจัยหลักทรัพย์ บล.พัฒนสิน กล่าวใน Money Channel ว่า นักลงทุนต่างชาติไม่สนใจที่จะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย เพราะยังมีตลาดหุ้นในภูมิภาค เช่น ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ที่น่าสนใจมากกว่า เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับลดลงไม่แรง และค่าเงินบาทก็อ่อนค่าน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคนี้

ถนอมศักดิ์บอกว่า ขณะนี้มุมมองที่นักลงทุนมีต่อตลาดหุ้นไทยแตกต่างกันใน 2 ประเด็น

คือมีทั้งกลุ่มที่มองว่า ดัชนีได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และเริ่มมองเป้าหมายถัดไปของดัชนีที่ 468-480 จุด

ส่วนอีกกลุ่มคือคือกลุ่ม Bear Market Rally หรือมองว่าเริ่มฟื้นตัวจากภาวะที่ซบเซา ซึ่งเชื่อว่าดัชนีจะขึ้นไปแตะ 450 จุดแล้วจะลดลง ซึ่งมุมมองที่ต่างกันทำให้เกิดภาวะที่ไม่กล้าซื้อและไม่กล้าขาย

ในสัปดาห์หน้า จะมีการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งถนอมศักดิ์เชื่อว่าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก และจะมีการเข้าซื้อพันธบัตรเหมือนอย่างที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปฏิบัติ ซึ่งจะส่งผลให้เงินยูโรอ่อนค่า และเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และส่งผลไปยังสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะน้ำมันที่ราคาน่าจะปรับเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ไทยจะประกาศตัวเลขเงินเฟ้อประจำเดือนมี.ค.ออกมาในสัปดาห์หน้าเช่น กัน ซึ่ง บล.พัฒนสินมองว่า จะติดลบ 0.3% และน่าจะส่งผลต่อเนื่องให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยหุ้นที่จะได้รับประโยชน์ คือกลุ่มธนาคาร และกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อย่าง บมจ. พฤกษาเรียลเอสเตท (PS)

ส่วนทางสหรัฐฯก็จะมีการประกาศตัวเลขดัชนีภาคการผลิต อย่าง ISM Manufacturing Index ที่น่าจะส่งผลต่อภาวการณ์ซื้อขายอย่างมาก โดยหากลดลง หุ้นก็จะลดลงตาม และดัชนีตลาดหุ้นไทยอาจลดลงไปแตะ 430 จุด แต่ถ้า ISM Index เพิ่มขึ้น ก็อาจทำให้ดัชนีพุ่งขึ้นแรงได้เช่นกัน

สำหรับปัจจัยการเมือง ถนอมศักดิ์มองว่า จะกระทบกับตลาดหุ้นก็ต่อเมื่อเกิดผลบานปลาย หรือมีการเปลี่ยนแปลงอะไรที่ชัดเจนปรากฎขึ้น


ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 440.81 จุด เพิ่มขึ้น 1.41 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6,128.025 ล้านบาท

- นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 302.58 ล้านบาท
- นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 712.91 ล้านบาท
- นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 410.34 ล้านบาท

-Money Channel โดย สุจิตรา สินทวีวงศ์

มีหวัง!!

มีหวัง!!
[28 มี.ค. 52 - 05:39]

ดัชนีหุ้นวันที่ 27 มี.ค. 52 ปิดที่ 440.81 จุด เพิ่มขึ้น 1.41 จุด มีมูลค่าการซื้อขาย 6,128.03 ล้านบาท ต่างชาติซื้อสุทธิ 713.45 ล้านบาท

ฝ่ายวิเคราะห์ บล.ฟาร์อีสท์ระบุ ว่า นักลงทุนกำลังมีความหวังว่าเศรษฐกิจกำลังจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วหลังเห็น รายงานตัวเลขเศรษฐกิจในรอบสัปดาห์นี้ทั้งตัวเลขสินค้าคงทน, ยอดขายบ้านใหม่ และยอดขายบ้านมือสองและจีดีพีไตรมาส 4 ปี 51 ของสหรัฐฯ ออกมาดีเกินคาดทำให้มีแรงซื้อเก็งกำไรกลับเข้ามาในตลาดหุ้นทั่วโลก

ส่วนสัปดาห์หน้ามีปัจจัยบวกกรณีที่ “บารัก โอบามา” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ประชุมร่วมกับซีอีโอ 12 สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่เพื่อแลกความคิดเห็นการพลิกฟื้นเศรษฐกิจและแก้ปัญหา สถาบันการเงิน หากได้ข้อสรุปที่ดีอาจทำให้นักลงทุนมีความหวังต่อการฟื้นตัวของระบบการเงิน โลกมากขึ้น

ขณะที่การประชุมกลุ่ม จี 20 วันที่ 2 เม.ย. นี้ น่าจะมีข่าวดีจากการร่วมกันหาแนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจโลก

จึงมองว่าดัชนีน่าจะมีโอกาสไปได้ต่อและอาจขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่ 450 จุดซึ่งจะเป็นจังหวะในการขายทำกำไรหรือเพื่อลดความเสี่ยงออกมา

โฟกัสหุ้นรายตัว หุ้น PTT ยังคงเป็นหุ้นที่เล่นได้ไม่ว่าราคาจะขึ้นหรือลง ล่าสุด บล.สินเอเซีย ยังคงแนะ “ซื้อเก็งกำไร” ให้ราคาพื้นฐาน 176 บาท เช่นเดียวกับ บล.นครหลวงไทย และ บล.ไซรัสที่ให้เป้าหมายที่ 171 บาท และ 186 บาทตามลำดับ ขณะที่ บล.กิมเอ็งแนะ “ซื้อลงทุน” ให้ราคาเหมาะสม 203 บาท

หุ้นอสังหาฯ LPN เนื้อหอมหลังจัดให้ผู้บริหารพบนักวิเคราะห์เมื่อ 26 มี.ค. ปรากฏว่าแต่ละโบรกฯมีมุมมองความเห็นหลากหลาย

กลุ่มที่แนะให้ซื้อมี บล.ทรีนีตี้ ให้ราคาเป้าหมาย 2.9 บาท, บล.ซีมิโก้ให้ ซื้อลงทุนยาวให้มูลค่าพื้นฐาน 3.10 บาท, บล.กรุงศรีอยุธยาแนะ “ซื้อลงทุนเพื่อเงินปันผล” ให้มูลค่า 3.20 บาท ส่วน บล.กิมเอ็งและ บล.เกียรตินาคินให้ ราคาเป้าหมายที่ 3.62 บาท และ 4.70 บาท ตามลำดับ สำหรับ บล.ฟินันซ่าให้เป้าหมาย 3.57 บาท, บล.ฟิลลิป 3.40 บาท ขณะที่ บล.ธนชาตให้ราคาพื้นฐานสูงสุดที่ 5 บาท

ด้าน บล.เคจีไอ กับ บล.นครหลวงไทย สวนทางแนะขายให้ราคาเป้าหมายแค่ 2 บาท และ 2.80 บาท ตามลำดับ.

อินเด็กซ์ 51


Template by - Abdul Munir | Blogging4