25 กุมภาพันธ์ 2552

ภาวะเศรษฐกิจไทย ปี 51-52

ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่และทั้งปี และแนวโน้มปี 2552

# เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปี 2551 หดตัวร้อยละ 4.3 ภายหลังจากมีการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.0 ใน 3 ไตรมาสแรก การหดตัวของเศรษฐกิจเป็นผลจากทั้งการส่งออกสินค้าและบริการ และความต้องการสินค้าภายในประเทศลดลงจากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ปัญหาการเมืองภายในประเทศ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจลดลง รวมทั้งความล่าช้าของการดำเนินโครงการลงทุนภาครัฐในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหลายครั้ง

# รวมทั้งปี 2551 เศรษฐกิจขยายตัวเพียงร้อยละ 2.6 นับว่าเป็นการชะลอตัวลงมากเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.9 ในปี 2550 และเป็นแรงส่ง (economic momentum) ที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ลดลงมาก แต่ในภาพรวมเศรษฐกิจนับว่ายังมีเสถียรภาพ โดยที่แรงกดดันเงินเฟ้อไตรมาสที่สี่ลดลงเป็นร้อยละ 2.1 ตามภาวะราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลงและเฉลี่ยทั้งปีอัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 5.5 แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดรวมทั้งปี 2551 อยู่ในฐานะขาดดุลเล็กน้อยประมาณ 178 ล้านดอลลาร์ สรอ.

# อัตราดอกเบี้ยปรับลดลง แต่อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงเร็วกว่าจึงมีผลให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงกลับมาเป็นบวกและเพิ่มขึ้นและยังไม่เป็นปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจโดยเฉพาะในช่วงของเศรษฐกิจขาลง สินเชื่อชะลอตัวและเงินฝากเร่งตัวขึ้นทำให้สภาพคล่องส่วนเกินกลับมาเพิ่มขึ้น ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงต่อเนื่องเช่นเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์โดยเฉลี่ยลดลงมากและมีความผันผวนเป็นช่วง ๆ ตามการเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าและออกของนักลงทุนต่างชาติในภาวะที่ผลกระทบจากปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพได้นำไปสู่วิกฤตทางการเงินที่เป็นวงกว้างมากขึ้น และตามปัญหาการเมืองภายในประเทศที่ทำให้ความเชื่อมั่นนักลงทุนลดลง

# ฐานะการคลังขาดดุลงบประมาณและขาดดุลเงินสดเป็นจำนวนสูงถึง 129,003 ล้านบาท และ 208,134 ล้านบาท ในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2551 เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ลดลงและต่ำกว่าเป้าหมายมากจึงไม่เพียงพอกับการเบิกจ่ายในด้านรายจ่าย หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2551 มีจำนวน 3,415,565 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 37 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 36.92 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน

# ในปี 2552 คาดว่าเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงที่จะหดตัว โดยมีแนวโน้มที่จะหดตัวชัดเจนในช่วงครึ่งปีแรก แต่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีอันเนื่องจากปัจจัยสนับสนุน คือ (i) การผลักดันการดำเนินมาตรการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาลให้มีความต่อเนื่องและเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง (ii) การเร่งรัดการเบิกจ่ายและการดำเนินโครงการภายใต้กรอบงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2552 และการเตรียมความพร้อมให้สามารถเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2553 ได้ทันทีในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม (iii) การเร่งดำเนินโครงการลงทุนสำคัญของภาครัฐภายใต้แผนการลงทุนระยะปานกลางและระยะยาวให้สามารถเริ่มดำเนินการได้ภายในปลายปีนี้ และ (iv) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจการเงินโลกที่จะทำให้การส่งออกและการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวในช่วงปลายปี

# คาดว่าโดยรวมเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวติดลบร้อยละ (-1.0)-(0.0) อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ(-0.5) – (0.5) อัตราการว่างงานอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5-3.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเล็กน้อยประมาณร้อยละ 0.0-1.0 ของ GDP

# การบริหารเศรษฐกิจในปี 2552 เน้นการกระตุ้นและสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและแผนการลงทุนระยะปานกลางและระยะยาวโดยการใช้งบประมาณรายจ่ายรัฐบาลและการดำเนินโครงการภาครัฐเป็นปัจจัยนำ และดำเนินมาตรการเพื่อดูแลผลกระทบต่อภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ การดูแลแรงงานผู้ถูกเลิกจ้างงาน ให้มีสวัสดิการรองรับที่เหมาะสมและได้รับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะและจัดหางานใหม่ การดูแลสาขาการผลิตและบริการที่อาจได้รับผลกระทบรุนแรง เช่น การท่องเที่ยว การส่งออก อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น และวางกลไกช่วยเหลือเกษตรกรซึ่งเผชิญราคาผลผลิตลดลงให้สามารถวางแผนการผลิตและได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม

ที่มา : สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ภาวะตลาดหุ้นไทย 25-2-52

ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้ารีบาวน์ตามดาวโจนส์พุ่ง คาดกนง.ลดดอกเบี้ยหนุน

นักวิเคราะห์ประเมินดัชนีเช้าวันนี้รีบาวน์ตามดาวโจนส์ที่พุ่งแรง คาดกนง.ลดดอกเบี้ยหนุน ประกอบกับวานนี้ดัชนีทดสอบ 430 จุดอยู่พักใหญ่แล้ว แต่ไม่ผ่าน ส่วนปัจจัยที่จะจำกัดการรีบาวน์ไม่แรงคือตัวเลขเศรษฐกิจที
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้น่าจะรีบาวน์เพราะมีปัจจัยที่ทำให้รีบาวน์คือเรื่องที่กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยและดาวโจนส์ที่ทะยานขึ้น ทั้ง 2 ปัจจัยนี้น่าจะเป็นตัวที่ผลักดันให้ตลาดรีบาวน์ได้และเมื่อวานทดสอบ 430 จุดอยู่พักใหญ่ๆ แต่ไม่ผ่าน ส่วนตัวที่จะจำกัดการรีบาวน์ไม่แรงคือภาพรวมของตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาส่วนใหญ่คนก็ค่อนข้างจะกังวลกันอยู่ ตรงนี้จะเป็นตัวที่ถ่วงทั้งเศรษฐกิจในบ้านเราและเศรษฐกิจโลกด้วย

ส่วนที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐเตรียมแถลงนโยบายเศรษฐกิจต่อสภาคองเกรสครั้งแรกในวันนี้ ก็เป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อไปว่าจะออกมาในรูปแบบไหน อย่างไรบ้าง ขณะที่ดาวโจนส์บวกขึ้นมาก็น่าจะมีส่วนทำให้เรารีบาวน์ขึ้นไปได้

ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน :

  • ตลาดหุ้นนิวยอร์คเมื่อวานนี้(24 ก.พ.) ดัชนีดาวโจนส์ ปิดที่ 7,350.94 จุด เพิ่มขึ้น 236.16 จุด(+3.32%) ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปิดที่ 773.14 จุด เพิ่มขึ้น 29.81 จุด(+4.01%) และดัชนีแนสแด็ก ปิดที่ 1,441.83 จุด เพิ่มขึ้น 54.11 จุด (+3.90%)
  • นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 183.05 ล้านบาทเมื่อวานนี้
  • ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือน เม.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการเมื่อวานนี้ที่ 39.96 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.52 ดอลลาร์
  • 'กรณ์' ค้าน 'ชาญชัย' อุ้มค่ายรถต่างชาติค้านลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ 3% ซื้อรถใหม่ลดหย่อนภาษีได้ 50,000 บาท ย้ำรัฐต้องการช่วยพวกแรงงานที่ถูกเลิกจ้างก่อน ขณะที่รมต.อุตสาหกรรมเดินหน้าสรุปแพ็คเกจช่วยเหลือ ผู้ประกอบการ-ลูกจ้าง 26 ก.พ.นี้ ก่อนเสนอ ครม.เศรษฐกิจชี้ขาด
  • สภาพัฒน์รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ 'อภิสิทธิ์' คาดอาจติดลบยาวถึงไตรมาส 3 ก่อนมาบวก 0-1% ในไตรมาส 4 รัฐบาลเตรียมประกาศแผนกระตุ้นรอบสองภายใน 45 วัน ด้านพาณิชย์เล็งทบทวนเปิดเสรีธุรกิจต่างด้าวตามบัญชี 3 พ.ร.บ.ต่างด้าว
  • 'มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย' แนะเร่งเพิ่มศักยภาพ 4 กลุ่มอุตสาหกรรม ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การบิน และโลจิสติกส์ รับการแข่งขันเดือดในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ระบุหากเพิกเฉยเงินลงทุนไหลเข้าเวียดนาม มาเลเซีย และสิงคโปร์ แนะศึกษาเปิดเสรีลงทุนให้รอบคอบ หวั่นเปิดช่องสวมสิทธิเข้าลงทุนกระทบธุรกิจภายใน สื่อนอกชี้เป็นโอกาสไทยชี้แจงสถานการณ์
  • นายกฯ ขีดเส้นก.พ.เร่งบรรจุข้าราชการ 2.4 หมื่นตำแหน่ง แก้ปัญหาว่างงาน ให้เสร็จก่อนสิ้นเดือนเม.ย.นี้เผย พนักงานธุรการ รับมากที่สุดกว่า 1.7 พันตำแหน่ง ผู้ว่าการกนอ.รับวิกฤติเศรษฐกิจแรงงานเขตนิคมฯ 15 จังหวัด ถูกเลิกจ้างแล้ว 1.1 แสนคน เฉพาะอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ กระทรวงแรงงานชี้เลิกจ้างยังน่าห่วงเผย 2 เดือนแรกปลดแล้วกว่า 1.7 หมื่นคนแนวโน้มลอยแพเพิ่มอีก 1.3 แสนราย
  • นักเศรษฐศาสตร์คาดแบงก์ชาติปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.5% วันนี้ คาดส่งผลให้ดอกเบี้ยลดเหลือ 1.5% เหตุเงินเฟ้อยังลดลงต่อเนื่อง ขณะที่เศรษฐกิจยังหดตัวต่อเนื่องอีกทั้งงบประมาณการคลังยังไม่เบิกจ่ายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ พร้อมคาดว่ากนง.น่าจะลดดอกเบี้ยต่อเนื่องไปเหลือ 1% กลางปีนี้
  • เครือเซ็นทรัล หวังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวครึ่งปีหลัง ตั้งงบ 19,000 ล้านบาท เดินหน้าขยายการลงทุน ชงรัฐลดภาษีวีเอที-ธุรกิจ ปลุกกำลังซื้อพร้อมดึงต่างชาติลงทุน ดันรายได้ปีนี้พุ่ง 1.12 แสนล้านบาท หรือเติบโต 11%
  • นักวิเคราะห์ชี้สองยักษ์ยานยนต์สหรัฐ จีเอ็ม-ไครสเลอร์ ขาดสภาพคล่องหนักเสี่ยงสูงล้มละลาย ผสมข่าววงในห่วงเอไอจีไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมาขาดทุนหนัก 6 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือกว่า 2 ล้านล้านบาท อาจยื่นล้มละลายหากดีลขอทุนเพิ่มจากรัฐบาลล่ม ส่งผลนักลงทุนยิ่งผิดหวังแผนกู้ภาคการเงินของโอบามา ฉุดดาวโจนส์ร่วงทำสถิติต่ำสุดในรอบ 12 ปี
  • คลัง เปิดเผยว่า ฐานะการคลังเบื้องต้นตามระบบ สศค.(ระบบ Government Finance Statistics: GFS)ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 52(ต.ค.-ธ.ค.51) รัฐบาลขาดดุลการคลังทั้งสิ้น 124,800 ล้านบาท คิดเป็น 1.3 % ของ GDP ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 55,415 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของการดำเนินนโยบายการคลัง สะท้อนถึงบทบาทของนโยบายการคลังในการพยุงและกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • ตลท.ยื่นขอเสนอคลังปล่อยหุ้น 10 ตัว ที่ถืออยู่กระจายสู่มือรายย่อย เพิ่มฟรีโฟลตให้ตลาดหุ้น ส่วนวันนี้พร้อมชงเรื่องลดฟรีโฟลตไอพีโอ เข้าที่ประชุมบอร์ดตลาดฯ ด้าน"ภัทรียา"ลั่นมาตรการนี้ใช้แค่ชั่วคราวเท่านั้น ขณะที่ "อารีพงษ์"เมินข้อเสนอตลท. บอกไม่เข้าใจตลาดฯต้องการให้ขายหุ้นตัวไหน
  • รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การประชุมประเมินสถานการณ์การส่งออกไทยปี 52 วันที่ 25 ก.พ.ผู้อำนวยการส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (ทูตพาณิชย์) ประจำอยู่ทั่วโลกจะรายงานตัวเลขส่งออกรายตลาดให้ รมว.พาณิชย์ รับทราบเพื่อกำหนดเป้าหมายการส่งออกปีนี้ใหม่ โดยมีแนวโน้มที่จะปรับลดเป้าส่งออกสินค้า รายตลาดเกือบทุกตลาดทั้งใหม่และเก่า เช่นตะวันออกกลาง อินเดีย แอฟริกา ยุโรป
ที่มา : IQข่าวหุ้น

ปฏิทินหุ้น วันที่ 25 ก.พ. 2552

ที่มา:IQ ข่าวหุ้น
กุมภาพันธ์ 2552
25 ก.พ. TR จ่ายปันผล หุ้นละ 1.30 บาท
VAYU1 จ่ายปันผล หน่วยลงทุนละ 0.15 บาท (รอบ 1 ก.ค.-31 ธ.ค.51)
26 ก.พ. BSI ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ
KEST XD หุ้นละ 0.50 บาท (รอบ 1 ก.ค.-31 ธ.ค.51)
TOP XD หุ้นละ 1.00 บาท (รอบ 1 ก.ค.-31 ธ.ค.51)
27 ก.พ. URBNPF XD หน่วยลงทุนละ 0.222 บาท (รอบ 1 ต.ค.-31 ธ.ค.51)
LUXF จ่ายปันผล หน่วยลงทุนละ 0.36 บาท (รอบ 20 พ.ค.-31 ธ.ค.51)

มีนาคม 2552
3 มี.ค. LEE-W1 ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ
PTTCH XD หุ้นละ 1.00 บาท (รอบ 1 ก.ค.-31 ธ.ค.51)
SPF XD หน่วยลงทุนละ 0.1784 บาท (รอบ 1 ต.ค.-31 ธ.ค.51)
SYNEX XD หุ้นละ 0.12 บาท (รอบ 1 เม.ย.-31 ธ.ค.51)
4 มี.ค. TMT XD หุ้นละ 1.00 บาท (รอบ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.51)
KK-W3 XE 1 : 1.13362 @ 12.35 บาท
5 มี.ค. DRT XD หุ้นละ 0.10 บาท (รอบ 1 ก.ค.-31 ธ.ค.51)
EGCO XD หุ้นละ 2.50 บาท (รอบ 1 ก.ค.-31 ธ.ค.51)
KSL XD หุ้นละ 0.22 บาท
MAKRO XD หุ้นละ 2.50 บาท (รอบ 1 ต.ค.-31 ธ.ค.51)
MSC XD หุ้นละ 0.20 บาท (รอบ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.51)
PTT XD หุ้นละ 2.00 บาท
PTTAR XD หุ้นละ 0.50 บาท (รอบ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.51)
TLUXE XD หุ้นละ 0.10 บาท (รอบ 1 ก.ค.-31 ธ.ค.51)
6 มี.ค. BROCK XD หุ้นละ 0.045 บาท (รอบ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.51)
BSEC XD หุ้นละ 0.082 บาท (รอบ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.51)
JCP XD หุ้นละ 0.60 บาท (รอบ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.51)
QHPF จ่ายปันผล หน่วยลงทุนละ 0.21 บาท (รอบ 1 ต.ค.-31 ธ.ค.51)
9 มี.ค. CSC XD หุ้นละ 0.77 บาท (รอบ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.51)
PHATRA XD หุ้นละ 1.00 บาท (รอบ 1 ก.ค.-31 ธ.ค.51)
10 มี.ค. SCCC XD หุ้นละ 4.50 บาท (รอบ 1 ก.ค.-31 ธ.ค.51)
11 มี.ค. DELTA XD หุ้นละ 1.10 บาท (รอบ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.51)
SNC XD หุ้นละ 0.15 บาท (รอบ 1 ก.ค.-31 ธ.ค.51)
SWC XD หุ้นละ 0.12 บาท (รอบ 1 ก.ค.-31 ธ.ค.51)

3 บริษัทยักษ์สหรัฐส่อล้มละลาย

นักวิเคราะห์ชี้สองยักษ์ยานยนต์สหรัฐ จีเอ็ม-ไครสเลอร์ ขาดสภาพคล่องหนักเสี่ยงสูงล้มละลาย ผสมข่าววงในห่วงเอไอจีไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมาขาดทุนหนัก 6 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือกว่า 2 ล้านล้านบาท อาจยื่นล้มละลายหากดีลขอทุนเพิ่มจากรัฐบาลล่ม ส่งผลนักลงทุนยิ่งผิดหวังแผนกู้ภาคการเงินของโอบามา ฉุดดาวโจนส์ร่วงทำสถิติต่ำสุดในรอบ 12 ปี

ทั้งนี้แหล่งข่าวยังคาดการณ์ด้วยว่า เอไอจีจะขาดทุนราว 6 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2.1 ล้านล้านบาทในไตรมาส 4 ซึ่งจะถือเป็นหนึ่งในบริษัทเอกชนของสหรัฐ ที่ขาดทุนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แซงหน้าบริษัทไทม์ วอเนอร์ ซึ่งเคยขาดทุนสูงถึง 5.4 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2545 และมากกว่าการขาดทุนในไตรมาส 3 ปีที่ผ่านมาของเอไอจีเอง ที่ระดับ 2.45 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยช่วงนั้นรัฐบาลสหรัฐได้เพิ่มมาตรการช่วยเหลือเอไอจีอยู่ที่ประมาณ 1.5 แสนล้านดอลลาร์

แหล่งข่าวรายหนึ่งเปิดเผยว่า การเจรจาระหว่างรัฐบาลกับเอไอจีรอบล่าสุดนั้น รวมถึงความเป็นไปได้ในการให้เงินทุนเพิ่มเติมกับเอไอจี และการแปลงหนี้เป็นทุน รวมทั้งหารือทางเลือกอื่นๆ ด้วย ส่วนสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นบีซีรายงานว่า เอไอจีจะประกาศตัวเลขขาดทุนวันจันทร์ (2 มี.ค.) โดยจะปรับลดมูลค่าสินทรัพย์ทางบัญชีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์และสินทรัพย์อื่นๆ และเปิดเผยว่าคณะกรรมการของเอไอจีจะประชุมกันในวันอาทิตย์นี้ (1 มี.ค.) เพื่อทำข้อตกลงกับรัฐบาล

ทั้งนี้รอยเตอร์รายงานด้วยว่า ข่าววงในระบุเอไอจีอาจยื่นล้มละลาย และสองบริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ของสหรัฐเสี่ยงสูงที่จะล้มละลาย เป็นปัจจัยลบอย่างหนึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นวอลล์สตรีท ฉุดดัชนีดาวโจนส์ร่วงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 12 ปีวานนี้ เพราะนักลงทุนไม่มั่นใจแผนกอบกู้เศรษฐกิจ สร้างเสถียรภาพให้กับภาคการเงินครั้งล่าสุดของรัฐบาลสหรัฐ

โดยดัชนีดาวโจนส์ปิดตลาดทรุดลง 250.89 จุด หรือ 3.41% นิ่งที่ระดับ 7,114.78 จุด ส่วนตลาดหุ้นเอเชียสำคัญกอดคอกันติดอยู่ในแดนลบตามดาวโจนส์ นำโดยดัชนีหุ้นที่ตลาดเซี่ยงไฮ้ทั้งกระดานเอและบี ลดลง 4.56% หรือลดลง 105.12 จุด ปิดที่ 2,200.65 จุด ดัชนีหั่งเส็งของฮ่องกงลดลง 2.9% หรือตกลง 376.58 จุด ปิดที่ระดับ 12,798.52 จุด ดัชนีนิกเคอิ ลดลง 1.46% หรือลดลง 107.60 จุด ปิดที่ 7,268.56 จุด ขณะที่ตลาดหุ้นไทยดัชนีลดลง 3.68 จุด หรือ 0.84% ปิดที่ 431.32 จุด

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ

AIG เข้าเจรจากับรัฐบาล

AIG เข้าเจรจากับรัฐบาล หลังคาดขาดทุนหนัก

บริษัท American International Group กำลังอยู่ในช่วงการเจรจาขอความช่วยเหลือรอบใหม่จากรัฐบาลสหรัฐฯหลังคาดว่าตนจะต้องรับมือกับภาวะขาดทุนรายไตรมาสก้อนใหญ่ที่สุด ถึง 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง AIG เคยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลมาแล้วถึง 2 ครั้งในปีที่ผ่านมา

ตัวเลขขาดทุนที่ประเมินไว้สำหรับไตรมาส 4/51 นี้ ยังถือว่าเป็นจำนวนที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์วงการธุรกิจของสหรัฐฯ และทำลายสถิติการขาดทุน 5.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐของ Time Warner ในปี 2545 รวมทั้งตัวเลขการขาดทุนกว่า 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐของ AIG เองในไตรมาส 3/51 ด้วย

แหล่งข่าววงในบอกว่า นอกเหนือจากเรื่องของเงินอัดฉีดก้อนใหม่แล้ว การพูดคุยเจรจารอบล่าสุดนี้ยังจะมีการถกกันเกี่ยวกับการซื้อขายแลกเปลี่ยนพันธบัตรและหลักทรัพย์ด้วย

สำนักข่าว CNBC รายงานว่า หากการเจรจาครั้งนี้ไม่สำเร็จ AIG ก็เตรียมใจประกาศล้มละลายไว้แล้ว ขณะที่ก็มีแหล่งข่าวอื่นที่ปฏิเสธความน่าจะเป็นนี้

Template by - Abdul Munir | Blogging4