15 มิถุนายน 2552

PTT สร้างจุดยอดสูงใหม่




TFEX ผันผวน รอปัจจัยใหม่ชี้ชัด



คอลัมน์ เกาะติดหุ้นร้อน

คอลัมน์ เกาะติดหุ้นร้อน


- ถึงรอบหุ้นเล็กฮอตบ้าง จับตาหุ้นแอป โซลูท อิมแพค (AIM) ที่ราคาหุ้นพุ่งพรวด 311% จาก 1.6-1.70 บาท มาอยู่ที่ 4 บาท เก็งกำไรร้อนแรงจนตลาด หลักทรัพย์ฯต้องขอข้อมูลโบรกเกอร์ที่มีวอลุ่มเทรดหุ้นนี้สูง 3 แห่ง บล.กิมเอ็ง, บล.ฟิลลิป บล.เคที ซีมิโก้ ด้านผู้บริหาร AIM ยอมรับมีการเจรจาแผนธุรกิจกับพันธมิตรต่างประเทศและในประเทศ 2-3 ราย รวมทั้งการเพิ่มทุนและออกวอร์แรนต์ คาดได้ข้อสรุปครึ่งปีหลัง




- หุ้นขาประจำอย่าง ดราก้อนวัน (D1) ยังมีแรงเก็งกำไรต่อเนื่อง จากราคาหุ้น 0.16 บาท มาอยู่ที่ 0.39 บาท เพิ่มขึ้น 143% ส่วนวอร์แรนต์ (D1-W1) จาก 0.05 บาท มาที่ 0.15 บาท หลังผู้บริหารบริษัทประกาศขายหุ้นเพิ่มทุนเฉพาะเจาะจงที่เหลือ 345 ล้านหุ้นให้นักลงทุนกลุ่มใหญ่ นอกเหนือจากที่ขายไปแล้ว 5 ราย 455 ล้านหุ้นจากหุ้นเพิ่มทุนทั้งหมด 800 ล้านหุ้น

- ด้านนักวิเคราะห์ บล.สินเอเซีย ส่งสัญญาณเตือนราคาหุ้น D1 แพงเกินไปจากแนวรับหุ้น D1 ที่ 0.42 บาท แนวต้านที่ 0.50 บาท ขณะที่ D1-W1 ไม่สามารถประเมินแนวรับและแนวต้านได้ จึงแนะนำ "หลีกเลี่ยงลงทุน" ทั้ง D1 และ D1-W1

- หุ้นกลุ่มวัสดุก่อสร้างกลับมาคึกคักอีกครั้งหลังคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เตรียมเปิดซองประมูลงานก่อสร้างในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันภายในเดือนนี้ นำโดยหุ้น ช.การช่าง (CK) ราคาขยับจาก 3.74 บาท มาอยู่ที่ 4.38 บาท, ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น (STEC) จาก 3.76 บาท อยู่ที่ 4.76 บาท และอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) จาก 2.62 บาท อยู่ที่ 3.48 บาท



หุ้นเก็งกำไรเฉาสวนดัชนี

หุ้นเก็งกำไรเฉาสวนดัชนี ครึ่งปีแรกราคาดิ่งยกแผง


ครึ่งปีแรกหุ้นเก็งกำไรเฉา ราคาดิ่งสวนดัชนีและหุ้นขนาดใหญ่ กลุ่มไออีซีทรุดยกแผง ขณะที่หุ้นเอ็นพาร์คแชมป์ราคาดิ่ง 80% ส่วนหุ้นกลุ่มแบงก์ทะยานขึ้นกว่า 60% บล.ดีบีเอสเล็งปรับเป้าดัชนีสิ้นปีมีโอกาสเห็น 700 จุด ด้าน บลจ.กรุงไทย มองพื้นฐานหุ้นไทยแค่ 550 จุด ชี้ต้นเหตุตลาดหุ้นปรับเพิ่มขึ้นจากกระแสเงินทุนมากกว่าปัจจัยพื้นฐาน


จากการรวบรวมข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่เดือนม.ค.-มิ.ย. 2552 พบว่าราคาหุ้นเก็งกำไรปรับตัวลดลงสวนกับหุ้นขนาดใหญ่ที่มูลค่าตลาดรวม (มาร์เก็ตแคป) สูงสุดสิบอันดับแรก ขณะที่ภาพรวมตลาดหุ้นไทย ดัชนีปรับตัวขึ้น 25.63% จากระดับ 449.96 จุดเป็น 628.10 จุด

สำหรับหุ้นที่นักลงทุนนิยมเก็งกำไรและมีการปรับตัวลดลงมากสุดได้แก่ หุ้นบริษัทแนเชอรัล พาร์ค (N-PARK) ปรับตัวลดลง 80% จากราคา 0.05 บาท เหลือ 0.01 บาท รองลงมาหุ้นไลฟ์ คอร์ปอเรชั่น (LIVE) ลดลง 66.67% จากราคา 0.36 บาท เหลือ 0.12 บาท หุ้นบลิส-เทล (BLISS) ลดลง 60% จากราคา 0.10 บาท เหลือ 0.04 บาท หุ้นไออีซี (IEC) ลดลง 28.57% จากราคา 0.07 บาท เหลือ 0.05 บาท (ราคาหุ้นหลังแตกพาร์เหลือ 0.10 บาท) หุ้นซันไชน์ (SSE) ราคาปรับลดลง จาก 1.60 บาท เหลือ 1.48 บาท (ราคาหุ้นคิดจากรวมพาร์แล้ว จาก 0.10 บาทเป็น 1 บาท) และ หุ้นแคปปิทอล เอ็นจิเนียริ่ง เน็ตเวิร์ค (CEN) ราคาหุ้นลดลง 4.79% จากราคา 8.35 บาท เหลือ 7.95 บาท

ทั้งนี้หากนำมาเปรียบเทียบกับหุ้นที่มีมาร์เก็ตแคปสูงสุดสิบอันดับแรกในตลาดหุ้นไทย ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งหมด โดยหุ้นใหญ่ที่ปรับตัวขึ้นแรงสุดคือ แบงก์กรุงไทย (KTB)จากราคา 3.8 บาทต่อหุ้น เป็น 8.35 บาท คิดเป็น 119.74% รองลงมาเป็นหุ้นแบงก์ไทยพาณิชย์ (SCB) จากราคา 48.25 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 80 บาท คิดเป็น 65.8% หุ้นแบงก์กรุงศรีอยุธยา (BAY) จากราคา 9.3 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 15.1 บาท คิดเป็น 62.37% หุ้นแบงก์กสิกรไทย (KBANK) จากราคา 45 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 71.5 บาท คิดเป็น 58.89% หุ้นแบงก์กรุงเทพ (BBL) จากราคา 69 บาท เป็น 109 บาท คิดเป็น 57.97%

หุ้นปูนใหญ่ (SCC) จากราคา 103 บาท เป็น 161.5 บาท คิดเป็น 56.8% หุ้นบ้านปู (BANPU) จากราคา 228 บาท เป็น 356 บาท คิดเป็น 56.14% หุ้น ปตท.(PTT) ราคาเพิ่มขึ้นจาก 175 บาท เป็น 244 บาท คิดเป็น 39.43%หุ้น ปตท.สผ. (PTTEP) จากราคา 107 บาท เป็น 145.5บาท คิดเป็น 35.98% และ หุ้นแอดวานซ์ (ADVANC) จากราคา 79.5 บาท เป็น 87.5 บาทคิดเป็น 10.06%

นางอาภาพร แสวงพรรค ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล.ดีบีเอส (ประเทศไทย) กล่าวว่าการที่หุ้นเก็งกำไรปรับตัวลดลงสวนภาพรวมตลาดเนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจหุ้นขนาดใหญ่ เพราะมีปัจจัยพื้นฐานที่ดีรองรับ ถือลงทุนแล้วปลอดภัยกว่า ขณะเดียวกันที่ผ่านมาราคาหุ้นยังอยู่ต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน ทำให้ทยอยเข้าไปลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่มากกว่า และแม้ว่าราคาหุ้นกลุ่มดังกล่าวจะปรับตัวขึ้นมากแล้ว แต่ถ้าเปรียบเทียบกับมูลค่าพื้นฐานหรือราคาเป้าหมายในปีนี้ยังมีอีกหลายบริษัทยังมีส่วนต่างให้ทำกำไรได้

เธอกล่าวว่า ขณะนี้ บล.ดีบีเอสฯ อยู่ระหว่างทบทวนเป้าหมายดัชนีหุ้นสิ้นปีนี้ใหม่ หลังจากที่ปรับตัวขึ้นมาแรง โดยเบื้องต้นคาดว่ากรอบของการเคลื่อนไหวดัชนีจากนี้ไปน่าจะอยู่ที่ระดับ 650-700 จุด ซึ่งระดับ 700 จุด น่าจะมีโอกาสได้เห็น เนื่องจากมีปัจจัยที่สนับสนุนได้แก่ ภาพรวมเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย น่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว โดยอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่โครงการลงทุนขนาดใหญ่มีความคืบหน้ามากขึ้น และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลน่าจะเริ่มเห็นผล

ด้าน นายสุทยุต เชื้อพานิช ผู้จัดการฝ่ายลงทุน-ตราสารทุน บลจ.กรุงไทย กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นทั่วโลกถูกผลักดันด้วยกระแสเงินทุนไหลเข้าไม่ใช่ด้วยปัจจัยพื้นฐานของตลาด ในส่วนของเศรษฐกิจน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วแต่ในส่วนของตลาดหุ้นเองยังไม่คิดว่าตลาดหุ้นจะขึ้นไปทดสอบจุดสูงสุดเดิมได้ภายในหนึ่งปี แต่ภาพรวมของตลาดหุ้นยังเป็นแนวโน้มขาขึ้นอยู่ ในขณะที่เศรษฐกิจอาจจะเป็นลักษณะของ W-Shape เพราะภาคการผลิตและการบริโภคแม้จะผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่ฟื้นตัวเร็วนัก ด้วยพื้นฐานของตลาดหุ้นไทยตลาดหุ้นน่าจะอยู่ที่ระดับ 550 จุด ที่ระดับราคาต่ำกำไรสุทธิ (P/E) 9-10 เท่า แต่หากขยับขึ้นไปเทรดที่ระดับ P/E มากกว่า 10 เท่า ดัชนีก็มีโอกาสจะไปถึงระดับ 700 จุด ได้เช่นเดียวกัน

นายสุทยุต ยังกล่าวอีกว่า ปัจจัยการเมืองของประเทศไทยเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคก็ไม่แตกต่างกัน หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียก็มีปัญหาทางการเมืองเช่นเดียวกัน ในส่วนนี้นักลงทุนต่างชาติเองคงเข้าใจและไม่ได้กังวลอะไรมาก การที่ตลาดปรับตัวขึ้นในระยะสั้นนี้สะท้อนถึงการคาดหวังต่อผลกำไรบริษัทจดทะเบียนในระยะยาวที่จะออกมาเป็นหลัก ในส่วนของกองทุนหุ้นของ บลจ.กรุงไทยเองเมื่อราคาขยับขึ้นมาถึงระดับหนึ่งก็จะมีการขายทำกำไรสลับออกมาบ้าง หรือหุ้นตัวไหนที่เต็มมูลค่าแล้วก็อาจจะต้องเปลี่ยนตัวหุ้นเพื่อลงทุนเป็นการบริหารพอร์ตไปในตัว


ตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นต่อจากแรงซื้อต่างชาติ

ตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นต่อจากแรงซื้อต่างชาติ

กรุงเทพฯ - บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานบรรยากาศการซื้อขายหุ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา (8-12 มิ.ย.) ว่า ดัชนีราคาหุ้นปิดที่ระดับ 628.55 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.97 จาก 604.57 จุดในสัปดาห์ก่อนมูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสัปดาห์ลดลงร้อยละ 5.32 จาก 149,160.49 ล้านบาท ในสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่141,217.82 ล้านบาทในสัปดาห์นี้ คิดเป็นมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลงจาก 29,832.10 ล้านบาทในสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 28,243.56 ล้านบาท โดยนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 4,683.31 ล้านบาท และ 139.63 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 4,822.92 ล้านบาท ส่วนตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ ปิดที่ระดับ 188.50 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.13 จาก 179.31 จุดในสัปดาห์ก่อน และพุ่งขึ้นร้อยละ 15.69 จากสิ้นปีก่อน

ตลาดหุ้นสัปดาห์นี้ปรับตัวขึ้นเพราะผลจากราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าที่ปรับขึ้น และมีแนวโน้มปรับขึ้นต่อเนื่อง ทำให้มีแรงซื้อเข้ามามากในหุ้นกลุ่มพลังงาน และผลักดันให้ตลาดหุ้นไทยบวกแรง แม้จะมีแรงขายทำกำไรสลับออกมาบ้าง ขณะที่นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 7

สำหรับแนวโน้มในสัปดาห์นี้ (15-19 มิ.ย.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทยและบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยจำกัด คาดว่า ดัชนียังมีโอกาสผันผวนขึ้นต่อได้ โดยตลาดยังน่าจะได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวขึ้น และการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ แต่อาจเริ่มมีความเสี่ยงจากการปรับฐานโดยปัจจัยที่ต้องจับตา ได้แก่ การรายงานตัวเลขการค้าระหว่างประเทศเดือน พ.ค. ของกระทรวงพาณิชย์ และการประชุมสภาเพื่อพิจารณา พ.ร.ก. และร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพิ่มเติม รวมถึงร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553 ในวันที่ 15-18 มิ.ย.

ส่วนปัจจัยในต่างประเทศที่สำคัญ คงจะต้องติดตามความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมัน รวมทั้งการปรับตัวของตลาดหุ้นภูมิภาค ตลอดจนการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทยจำกัด

คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 620 และ 594 จุด ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 640 และ 670-690 จุด ตามลำดับ.-



ที่มา:สำนักข่าวไทย

จับตาทิศทางค่าเงินบาทไทย หลังจากนี้...

จับตาทิศทางค่าเงินบาทไทย หลังจากนี้...

เงินบาทดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งและสามารถหักล้างช่วงติดลบทั้งหมดลงในช่วงต่อมาท่ามกลางแรงเทขายเงินดอลลาร์ฯ เพื่อทำกำไร และแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของตลาดหุ้นไทยโดยมีนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิ กระนั้นก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกลงเล็กน้อยและกลับมาปรับตัวในกรอบแคบช่วงปลายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยลบจากความต้องการเงินดอลลาร์ฯ ของผู้นำเข้า ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ฟื้นตัวขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก สำหรับในวันศุกร์ เงินบาทปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 34.09 (ตลาดเอเชีย) เทียบกับระดับ34.18 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (5 มิถุนายน) ทำให้สัปดาห์หน้าค่าเงินบาทในประเทศอาจเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบประมาณ 34.00-34.40 บาทต่อดอลลาร์ฯ

ปัจจัยที่ต้องจับตา ได้แก่ การปรับตัวของสกุลเงินและตลาดหุ้นในภูมิภาค ตลอดจนสัญญาณการเข้าดูแลเสถียรภาพค่าเงินของธปท. ขณะที่ทิศทางของเงินดอลลาร์ฯ อาจขึ้นอยู่กับการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ อาทิ ผลสำรวจภาคการผลิตจัดทำโดยเฟดสาขานิวยอร์ก ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจจัดทำโดยเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยจัดทำโดยสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) เดือนมิถุนายนดัชนีราคาผู้บริโภค-ผู้ผลิต ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน การอนุญาตก่อสร้าง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และอัตราการใช้กำลังผลิต เดือนพฤษภาคม ข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิสู่ตลาดการเงินสหรัฐฯ เดือนเมษายน ตลอดจนข้อมูลดุลบัญชีเดินสะพัดประจำไตรมาส 1/2552


ที่มา:สำนักข่าวไทย

Template by - Abdul Munir | Blogging4