17 มิถุนายน 2552

ลุยBRT 'หมอชิต-แจ้งวัฒนะ' รับศูนย์ราชการ

ลุยBRT 'หมอชิต-แจ้งวัฒนะ' รับศูนย์ราชการ - เมืองทองถูกหวย
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2406 05 มี.ค. - 07 มี.ค. 2552



และจะประกาศประกวดราคาหาผู้รับจ้างไปพร้อมกับขั้นตอนการขออนุมัติเส้นทางเดินรถ และการทำงานนอกเขตปกครอง ต่อสู่สภากรุงเทพมหานคร จากนั้นเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ ขอยกเว้นการเดินรถ ในลักษณะองค์การขนส่งมวลชนกทม. (ขสมก.) คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างปีครึ่ง หรือสามารถเปิดใช้เส้นทางได้ประมาณ กลาง-ปลายปี 2553 ใช้ผิวจราจรเดิมด้านขวาสุดของแต่ละทิศทาง (ชิดคลองหรือเกาะกลางถนน) กว้างประมาณ 3.50 เมตร โดยโครงสร้างระบบ จะแยกผิวจราจร สำหรับรถยนต์ทั่วไป ด้วยเครื่องแบ่งช่องจราจร ซึ่งเป็นคอนกรีตสูงประมาณ 0.15 เมตร สถานีประกอบด้วยชานชาลาเฉพาะของแต่ละทิศทางกว้างประมาณ 3.90 เมตร และสะพานลอยกว้างประมาณ 6.00 เมตร สำหรับเดินข้ามถนนเชื่อมบาทวิถี 2 ฝั่ง และหลังคามีหลังคาคลุมตลอดโครงสร้างจากฐานรากถึงพื้นชานชาลา

สำหรับแนวเส้นทางด่วน บีอาร์ที ช่วงหมอชิต-แจ้งวัฒนะ มีจุดเริ่มต้นเริ่มจาก

สถานีที่ 1 บริเวณปลายทางของรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีหมอชิต บนถนนพหลโยธิน จากนั้นเลี้ยวโค้งเข้าสู่ถนนวิภาวดีรังสิต จะพบกับสถานีหอวังซึ่งเป็นสถานีที่ 2 บริเวณใต้ทางขึ้นทางยกระดับดอนเมืองโทล์ลเวย์ ซึ่งอยู่เยื้องๆระหว่าง ปตท.และ โรงเรียนหอวัง ซึ่งเป็นสถานีที่คาดว่าจะสามารถรองรับผู้โดยสารจำนวนมากจากสถานศึกษาและศูนย์การค้า ในบริเวณใกล้เคียง แนวเส้นทางวิ่งขึ้นสู่ทางยกระดับดอนเมืองโทล์ลเวย์ มุ่งหน้าไปทางหลักสี่ จากนั้นลงจากโทล์ลเวย์ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนแจ้งวัฒนะ จะพบกับสถานีหลักสี่ซึ่งเป็นสถานีที่ 3 และสถานี องค์การสื่อสาร สถานีที่ 4 ซึ่งสถานีนี้ บริเวณด้านในจะเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ซึ่งจุดนี้ประเมินว่าสามารถรองรับข้าราชการที่ทำงานในศูนย์ราชการแห่งนี้ จำนวนเกือบ 56,000 คน และประชาชนที่มาติดต่อราชการ

โดย ศูนย์จะจัดรถชัตเตอร์บัส รับส่งข้าราชการต่อเชื่อมมาที่สถานีองค์การสื่อสาร จากนั้นวิ่งมุ่งหน้าตรงไปยัง สถานีเมืองทองธานี ซึ่งเป็นสถานีปลายทาง โดยเมืองทองธานีอาจออกแบบให้ มี1-2 สถานีเนื่องจากต้องนำรถเข้า-ออกภายในโครงการ

ทั้งนี้จากแผนเดิมได้กำหนด แนวเส้นทางไว้ 7 สถานี ประกอบด้วย สถานีหมอชิต ซึ่งอยู่บริเวณ สถานีปลายทางของรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีหมอชิต

จากนั้นใช้เส้นทางถนนพหลโยธิน ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร และเลี้ยวซ้ายเข้าสู้ถนนวิภาวดีรังสิต เข้าสู่สถานีหอวัง วิ่งเข้าสู่ทางยกระดับดอนเมือง และเดินทางตามเส้นทางยกระดับดอนเมืองเป็นระยะทาง 8กิโลเมตร เลี้ยวเข้าสู่ถนนแจ้งวัฒนะ เป็นระยะทางประมาณ 3.5 กิโลเมตร ผ่านแยกหลักสี่ จะเป็นสถานีองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ถัดไปเป็นสถานีการสื่อสารแห่งประเทศไทย สถานีกรมการกงสุลและเลี้ยวเข้ารับส่งผู้โดยสาร ที่สถานีศูนย์ราชการใหม่แจ้งวัฒนะ วนไปสถานีตลาดพงษ์เพชร ซึ่งมีย่านธุรกิจบนถนนแจ้งวัฒนะ อยู่ใกล้เคียงจำนวนมาก เข้าสู่สถานีคลองประปา

ระบบโครงข่ายคมนาคม เฮโลมาลงที่ถนนแจ้งวัฒนะขนาดนี้ ยิ่งตอกย้ำให้ ทำเลนี้ยิ่งรุ่งขึ้นไปอีกโดยเฉพาะ เมืองทองธานี ขณะนี้ราคาที่ดินปาเข้าไป 120,000 บาทต่อตารางวาแล้ว จากอานิสงส์ศูนย์ราชการ หากมีบีอาร์ที ของกทม. เสิร์ฟถึง ด้านในโครงการอีก ไม่รู้จะพุ่งอีกสักกี่ตลบลองคิดดู !!!

หลังกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างโครงการระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษหรือ ( Bangkok BRT) นำร่องระยะที่ 1 ในเส้นทางช่องนนทรี -ราชพฤกษ์ ไปแล้ว สมัย นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าฯกทม. และปัจจุบันมีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 80% ล่าสุด ผู้ว่าฯกทม.คนปัจจุบัน "ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร เร่งเดินหน้า โครงการ บีอาร์ที ต่อเนื่อง เป็นสายที่ 2 ได้แก่ โครงการบีอาร์ที เส้นทาง หมอชิต -แจ้งวัฒนะ (เมืองทองธานี) หรือ หมอชิต -ศูนย์ราชการเดิม ระยะทาง 17 -18 กิโลเมตร ประมาณ 5-6 สถานี มูลค่าไม่เกิน 2,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างออกแบบใหม่ เนื่องจากผู้ว่าฯกทม. เห็นว่าควรลากแนว บีอาร์ที ยื่นออกไปรับผู้โดยสารถึงเมืองทองธานี เขตปกครองของจังหวัดนนทบุรี ที่มีปริมาณการเข้าใช้พื้นที่เฉลี่ยวันละเกือบแสนคน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของ จราจรติดขัดในปัจจุบัน อย่างไรก็ดีคาดว่าแบบจะแล้วเสร็จ ในกลางเดือนมีนาคมนี้


0 ความคิดเห็น:

Template by - Abdul Munir | Blogging4