25 พฤษภาคม 2552

จีดีพีทรุด นายกฯหวังปลายปีฟื้น

ศก.ไตรมาสแรกหนัก จีดีพีทรุด นายกฯหวังปลายปีฟื้น



นายกฯ​กล่าวในรายการเชืื่อมั่นประเทศไทย ฯ รับ เศรษฐกิจไตรมาสแรกปีนี้ จะหนักกว่าไตรมาส 4 ปีที่แล้ว แต่ยังเชื่อปลายปีจะฟื้น พร้อมยืนยัน เดินหน้าเก็บภาษีที่ดินแน่ ชี้ ปัญหาส่งออกเกิดจากกำลังซื้อไม่ใช่ค่าเงินแข็ง ...

เมื่อเวลาประมาณ 09.55 น. วานนี้ (24 พ.ค.) ​นายอภิสิทธิ์​ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ออกอากาศสด รายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ​์ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11ที่ทำเนียบรัฐบาล หลังจากสัญญาณช่วงแรก ขาดหายไปกว่า 40 นาที โดยมี รศ. ดร.ไพบูลย์​ เสรีวิวัฒนา เป็นพิธีกรสัมภาษณ์​ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า อยากขอบคุณสมาชิกรัฐสภาในสมัยที่เพิ่งสิ้นสุด อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ตั้งใจให้ทุกคนในรัฐบาลให้ความสำคัญในรัฐสภา สนับสนุนงานด้านนิติบัญญัติ หลายเรื่องที่สนับสนุนนโยบายรัฐบาลทำได้ด้วยดี ขอความร่วมมืองบประมาณ ให้ผ่าน พระราชกำหนด​ต่อไป ประเด็นที่สอง อยากพูดถึงงานในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลอนุมัติ ในเรื่องสำคัญ ๆ เช่น เรื่องคนพิการ ให้สถานที่สำคัญมีที่สำหรับคนพิการไปใช้ ต้องจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการ โดยจะย้อนกลับไปใช้กับอาคารก่อนมีมติ คณะรัฐมนตรี (ครม.) และมีเบี้ยสนับสนุนรายได้คนพิการเดือนละ 500 บาท คาดว่าเริ่มต้นได้ เม.ย. ปีหน้า ส่วนนโยบายเรียนฟรี เบี้ยยังชีพ ใครมีปัญหา แจ้งมาที่ 1111 โครงการเรียนฟรี 1579 ขอให้แจ้งเข้ามา สำหรับเรื่องพืชผลเกษตรผลไม้ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ ลิ้นจี่สะสางไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อนุมัติ 40 ล้านบาท ให้ท้องถิ่นช่วยขาย เรื่องถั่วลิสงก็ร้องมา หากท้องถิ่นดำเนินการได้เลยจะดีที่สุด เพราะพืชผล มีเวลาไม่มากในการแก้ไข และขอชวนทุกคนรับประทานผลไม้ไทย

ต่อข้อถามว่า รัฐบาล ทำงานมา 5 เดือนปัญหาเยอะมาก ทั้งเฉพาะหน้าและระยะยาว ประการแรก ในแง่ปัญหาทางสังคมการเมืองเศรษฐกิจ แบ่งเวลาให้ปัญหาเศรษฐกิจมากแค่ไหน นายกฯ กล่าวว่า ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาใหญ่มาก ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย รัฐบาลให้เวลากับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจมาก ปกติประชุมเป็นประจำทุกสัปดาห์ แต่ระยะหลัง มีประชุมสภา หากไม่มีจะเชิญผู้เชี่ยวชาญพูดคุยเป็นระยะๆ ในครม.​เรื่องเศรษฐกิจก็เยอะ เรื่องการลงทุนภาษีอากรก็ทำตลอดเวลา ตนเข้ามาเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ บางเรื่องอย่างท่องเที่ยวก็ประกาศเป็นระเบียบวาระแห่งชาติ ไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง ส่วนประเด็นทางการเมืองเป็นเรื่องความขัดแย้ง การแก้ปัญหา คือแสดงออกถึงท่าทีและติดตามงานซึ่งปฏิบัติตามกฎหมาย คดีความต่างๆ ส่วนเรื่องการแก้ปัญหาใหญ่ทางการเมือง ก็แก้ปัญหาในเวทีใหญ่ ฝ่ายค้าน วุฒิสภา เข้าร่วม ตนถือว่าสภาเป็นเจ้าภาพ รัฐบาลมีเวลาทำเรื่องเศรษฐกิจมากขึ้น ส่วนเรื่องสังคมแยกยาก

เมื่อถามว่าประเด็นการเมืองกระทบประเด็นเศรษฐกิจ อย่างไร อย่างกรณีพ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้านบาทที่ถูกประเด็นการเมืองเข้ามาเบียดไป นายกฯ​กล่าวว่า เป็นเรื่องของกระบวนการประชาธิปไตย การถ่วงดุลอำนาจ ยืนยันว่าเราทำทุกอย่างถูกต้อง เมื่อเป็นไปตามกติกาก็ต้องยอมรับ มีสิทธิ์เสนอตีความ การเมืองก็กระทบ เพราะ ส่งผลต่อความเชื่อมั่น ความวุ่นวายทางการเมืองเดือนเม.ย.กระทบแน่นอน แต่ปัญหาที่อยู่ในใจประชาชนจริงๆ คือปัญหาเศรษฐกิจ

เมื่อถามว่า ตัวเลขเศรษฐกิจ นาทีนี้รู้สึกยังไงกับแนวโน้มของเศรษฐกิจในเมืองไทย นายกฯ​ กล่าวว่า สบายใจไม่ได้ เพราะวิกฤติแรงมาจากข้างนอก ตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาสแรก ออกมา 1-2 วันนี้ คาดว่าหนักกว่าไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ครั้งนี้อาจจะลบ ร้อยละ 5, 6, 7, 8 เป็นไปได้ทั้งสิ้น ภูมิภาคนี้ มีตั้งแต่ ลบ 8 - 11 ของเราคงไม่เบา ขณะเดียวกัน มีสัญญาณที่ไม่หนักหนาจนมองไม่เห็นทางข้างหน้า เช่น การเลิกจ้า ง ลาออกจากงาน ตัวเลข ดีขึ้นกว่าเดือน ก.พ.​การใช้กำลังการผลิต ขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 60 จึงยังมั่นใจว่าไตรมาส 2 จะดีกว่าไตรมาส 1 มาตรการ เงินเพิ่งลง ไตรมาส 2 มีแค่เช็คออกไตรมาส 1 คาด เม.ย. -พ.ค.-​มิ.ย.​จะดีขึ้น ไตรมาส 3 จะมีแผนกระตุ้นรอบ 2 พอถึงไตรมาสสุดท้ายอัตราจะกลับมาเป็นบวก จึงต้องลดตัวเลขการว่างงานให้ได้ ปลายปีต้องกลับมาเป็นบวก

เรื่องที่เป็นห่วง คืออะไร นายกฯ กล่าวว่า ส่งออกท่องเที่ยว ทั้งภูมิภาค ส่งออก ลบไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 20 นักท่องเที่ยวตอนนี้ตัวเลขล่าสุด ลบ ร้อยละ 14-15 ​แต่ในหลายพื้นที่ ห่วงที่สุดคือทำยังไงไม่ให้นำไปสู่การว่างงาน

ส่วน เรื่องค่าเงินบาทแข็ง เทียบกับประเทศอื่นแข็งค่าหรือไม่ นายกฯ​ กล่าวว่า เรื่องค่าเงินเป็นที่วิจารณ์อยู่เป็นประจำ รัฐบาลติดตามใกล้ชิด ให้รายงานเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนตลอด 1 เดือน แข็งขึ้นพอสมควร ตนดูตัวเลขเทียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคทั้งหลาย การเคลื่อนไหวของเงินบาทไม่ได้ต่างจากประเทศอื่นในภูมิภาคมากนัก เราอยู่ตรงกลาง อย่าไปพูดหรือเข้าใจว่า เราแข็งคนเดียว ประเด็นที่สอง เงินที่อ่อนลงมากที่สุด น่าจะเป็น เกาหลีกับอินโดฯ ตัวเลขส่ออกของเขาไม่ได้ดีกว่าเรา แต่ส่งออกเป็นปัญหากำลังซื้อมากกว่าราคา เป็นเรื่องของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ยืนยันว่าจะดูแลไม่ให้ค่าเงินผันผวน ธปท.​ทราบดีกว่าภารกิจสำคัญคือฟื้นการส่งออก แต่การทำอะไรกับค่าเงิน ต้องระวังไม่ให้เป็นเหยื่อของนักเก็งกำไร โดยระบบของเราเป็นอย่างนั้น แต่ตนกับธปท.​จะคุยกันในเชิงเป้าหมายทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทุกเดือนติดลบ ดังนั้น ความกังวลเรืื่องเงินเฟ้อไม่มี ส่วนการท่องเที่ยว ค่าวีซ่า จอดอากาศยาน ประกันภัย ให้หมดแล้ว สินเชื่อ 5,000 ล้านบาท ถ้าหมดจะขยายเพิ่มให้ผู้ประกอบการ แต่อยากให้มีการปรับปรุงการลงทุน จังหวะนี้คือจังเหวะที่จะทำ ปรับปรุงปัจจัยพื้นฐาน

เรื่องปรับโครงสร้างภาษีน้ำมัน เก็บภาษีบาป เพิ่มขึ้น มีคำถามว่าภาษีน้ำมัน ที่รัฐบาลปรับโครงสร้างไป กระทบกับอุตสาหกรรม และประชาชนมากน้อยแค่ไหน นายกฯ​ระบุว่า ขณะนี้ไม่มีผลกระทบ ราคน้ำมันขณะนี้เป็นเรื่องตลาดโลก ภาษีน้ำมันที่เก็บเพิ่มขึ้นเราเอากองทุนน้ำมันไปชดเชย ที่รัฐบาลเก็บจากประชาชนเท่าเดิม แทนที่เงินเข้ากองทุนฯก็เข้าคลัง ขณะเดียวกันต้องดูโครงสร้างระยะยาว ของภาษีน้ำมัน ก่อนหน้านี้ เราเก็บต่ำมาก เพราะราคาน้ำมันพุ่งสูงไปมาก แต่ตอนนี้ราคา ปรับลงมา แต่ 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา ต้องจับตาหน่อย ถ้าสถานกาาณ์น้ำมันโลกเปลี่ยนแปลงไปก็ต้องทบทวนกัน ตรงกันข้ามกับเหล้าบุหรี่ ก็ยืนยันว่า ควรจะต้องเก็บเพิ่ม มีเสียงบอกว่าอยากให้เก็บมากกว่านี้ก็มี เหล้าบางตัวชนเพดานแล้ว พอเก็บเบียร์ก็ต้องเก็บเหล้าขาว เหล้าขาวติดปัญหาเหล้าชุมชน ซึ่งส่งเสริมกิจการในเรื่องสุราชุมชน ถ้าเพิ่มมากตรงนั้นก็กระทบสุราชุมชน ส่วนบุหรี่ ชนเพดานไปแล้ว ก็ต้องออกเป็นพ.ร.ก. ขยายเพดาน ต้องบอกตรงๆ คลังขอไม่มากเท่านี้ แต่ตนขอเอง ให้มาก

นายกฯ กล่าวอีกว่า ภาษีเงินได้และภาษี มูลค่าเพิ่มไม่คิดจะเพิ่ม จริงๆ ภาษีเงินได้อยากจะลด ต้องยอมรับว่า หลายประเทศ ภาษีน้ำมัน เก็บเพื่อสิ่งแวดล้อม ยืนยันว่าน้ำมันไม่กระทบต่อประชาชนถ้าน้ำมันในตลาดโลก มากก็จะดูอีก ราคาน้ำมันในบ้านเรา ต่ำ ความเป็นจริงโครงสร้างเราไม่ใช่โครงสร้างภาษีที่สูง และพยายามดูแลไม่ให้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง กระทบ ประชาชน

สำหรับภาษีทรัพย์สินที่ดิน นายกฯ​ กล่าวว่า หลักๆ ตอนนี้มีภาษีบำรุงท้องที่ โรงเรือน ตนคิดว่า วิธีการจัดเก็บล้าสมัย ถ้ารวมเป็นฐานภาษีทรัพย์สินที่ดิน จะช่วยทำให้สังคมมีความเป็นธรรมมากขึ้น และภาษีตัวนี้จะเป็นรายได้ของท้องถิ่น ซึ่งเป็นไปตามหลักสากล ต้องวางระบบ และมีมาตรการ ลงโทษ​คนที่มีที่แล้วไม่ใช้ โดยเก็บภาษีสูง วางแนวไว้ เพื่อเพิ่มความเป็นธรรมช่วยเหลือท้องถิ่น จะเดินต่อเรื่องนี้ ส่วนเรื่องแหล่งเริงรมย์​ นายกฯ​กล่าวว่า กำลังให้ประเมินอยู่



0 ความคิดเห็น:

Template by - Abdul Munir | Blogging4