28 พฤษภาคม 2552

ธปท.โต้มูดี้ส์ แบงก์ไทยแกร่ง

ธปท.โต้มูดี้ส์ แบงก์ไทยแกร่ง และฐานะการคลังไม่มีปัญหา

นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่มมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส เตรียมทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือของหนี้สินและเงินฝากของธนาคารในประเทศไทย 11 แห่ง ซึ่งมีแน้วโน้มที่จะลดอันดับความน่าเชื่อถือว่า สถาบันการเงินของไทยอยู่ในฐานะที่มั่นคงแข็งแรง เห็นได้จากสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสียง(บีไอเอส เรโช)ที่เฉลี่ยอยู่ประมณ 14-15% เพราะฉะนั้นไม่เห็นโอกาสทีจะมีปัญหา

ส่วนเรื่องฐานะการคลังของไทยแม้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีจะปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 40% ของจีพีพี แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆมอันดับเครดิตความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกัน จะพบว่าประเทศอื่นๆมีหนี้สาธารณะมากกว่าเกือบทั้งนั้น

"แม้เราจะใช้มาตรการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ไม่คิดว่าเราจะมีปัญหาหนี้สาธารณะในอีก 2-3 ปี และแม้หนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นในอนาคตแต่ไม่น่าจะเกิน 60% ซึ่งหากมาตรการการลงทุนภาครัฐมีประสิทธิภาพ ทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ ในที่สุดก็จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีลดลง เพราะฉะนั้นฐานะการคลังและหนี้สาธารณะไม่น่าเป็นประเด็น"


′มูดี้ส์′เล็งหั่นเครดิต11แบงก์ไทยเหตุประเมินศักยภาพการคลังรัฐบาลลดลง

มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส เตรียมทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือของหนี้สินและเงินฝากของธนาคารในประเทศไทย 11 แห่ง ซึ่งมีแน้วโน้มที่จะลดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยธนาคารดังกล่าวได้แก่ ธ.กรุงเทพ (BBL), ธ.กรุงศรีอยุธยา (BAY), ธ.กสิกรไทย (KBANK), ธ.กรุงไทย (KTB), ธ.ไทยพาณิชย์ (SCB), ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) (SCBT), ธ.ทหารไทย (TMB), ธ.นครหลวงไทย (SCIB), ธ.ยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ แบงก์ (UOBT), ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่ง ประเทศไทย (EXIMT) และธ.อาคารสงเคราะห์ (GHB)

แคโรลีน ซีท ผู้ช่วยรองประธานและนักวิเคราะห์ของมูดี้ส์ กล่าวว่า การทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือของหนี้สินและเงินฝากนั้น จะมีการพิจารณาที่บริบทของความสามารถของไทยในการให้การสนับสนุนระบบการธนาคารของประเทศให้สอดคล้องกับความสามารถในการดูแลหนี้สินของรัฐบาล อันเนื่องมาจากผลพวงของวิกฤตเศรษฐกิจและสินเชื่อทั่วโลก

"มูดี้ส์เชื่อว่า รัฐบาลมีแนวโน้มที่จะให้การสนับสนุนระบบการธนาคารของประเทศอยู่แล้ว ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ต้องดูแลเรื่องหนี้สินของตนเอง ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวอาจทำให้อันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารได้รับประโยชน์จากการยกระดับ อันเนื่องมาจากการให้การสนับสนุนอย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ดี ขณะที่วิกฤตการเงินยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความสามารถของประเทศและธนาคารกลางของประเทศในการให้การสนับสนุนธนาคารในประเทศดำเนินการสอดคล้องกับความสามารถในการดูแลหนี้สินของรัฐบาลนั้น ถือเป็นเรื่องที่ถูกกดดันมากขึ้นเรื่อยๆ"



0 ความคิดเห็น:

Template by - Abdul Munir | Blogging4