12 พฤษภาคม 2552

ได้เวลาหุ้นเล็ก !

ได้เวลาหุ้นเล็ก !

หุ้นไทยลากยาวเดือนเศษดัชนีฯพุ่งกว่า 40% วานนี้ดัชนีฯสุดผันผวน ฟากนักลงทุนแห่เก็งกำไรหุ้นเล็ก ได้เงินดี ด้านกูรูเตือนอย่าชะล่าใจ หุ้นขึ้นแค่การรีบาวด์ในตลาดขาลง ให้ระวังแรงขายทำกำไร แนะอยากเล่นให้เลือกเทรดดิ้งหุ้นผลงานโค้งแรกแจ่ม พร้อมเปิดโผหุ้นเล็กในดวงใจ TVO -LST -TSTH- TIES และ 2 วอร์แรนต์ BCP-W1 รวมทั้ง UMS-W 1

เป็นการแรลลี่ที่ยาวนานยิ่งสำหรับตลาดหุ้นไทย หากย้อนกลับไปจะพบว่าดัชนีฯเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนเม.ย.จนถึงปัจจุบัน ( 11 พ.ค.52) เป็นเวลา 22 วันทำการ โดยวันที่ 1 เม.ย.ดัชนีฯปิดที่ระดับ 430.09 จุด เปรียบเทียบกับวันนี้ดัชนีฯปิดที่ระดับ 535.18 จุด เพิ่มขึ้น 194.91 จุด หรือ 43.31%

ท่ามกลางการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ โดยคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัว ขณะที่การปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีฯรอบนี้เป็นการหักปากกานักวิคเราะห์ส่วนใหญ่ที่มองว่า การปรับตัวเพ่มขึ้นของดัชนีฯจะกินระยะเวลาไม่นาน แต่จวบจนบัดนี้ดัชนีฯก็ยังยืนอยู่ในแดนบวก ในขณะที่มูลค่าการซื้อขายค่อนข้างหนาแน่น

แต่นักวิเคราะห์ก็ยังออกมาระบุว่า ขณะนี้ดัชนีฯได้ปรับตัวขึ้นมาแรงเกินพื้นฐานที่แท้จริง ในขณะที่ความกังวลถึงภาพรวมเศรษฐกิจโลกนั้นยังมีอยู่ โดยมองว่า เศรษฐกิจทั่วโลกยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างแท้จริง ขณะที่ปัญหาการเมืองภายในประเทศไทยเองยังมีเข้ามาเป็นระลอก นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จึงมองว่า การปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีฯครั้งนี้เป็นเพียงการเล่นรอบ และรอเวลาที่จะพักฐาน ราคาหุ้นหลายตัวได้ปรับขึ้นแรงอย่างต่อเนื่อง หุ้นบางตัวราคาแพงเกินพื้นฐานไปเสียแล้ว

จึงไม่แปลกที่วานนี้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยจึงค่อนข้างผันผวน ระหว่างวันดัชนีฯปรับตัวขึ้นไปสูงสุดกว่า 12 จุด และลงมาต่ำสุดบวกกว่า 1 จุด การเคลื่อนไหวของหุ้นขนาดใหญ่หลายตัวค่อนข้างผันผวนหนัก แต่ท่ามกลางความผันผวนดูเหมือนว่าหุ้นขนาดเล็กกลับร่าเริงเป็นพิเศษ

วานนี้ (11 พ.ค.) ราคาหุ้น GSTEEL ปิดที่ 0.42 บาท เพิ่มขึ้น 0.01 บาท หรือ 2.44% มูลค่าการซื้อขาย 166.38 ล้านบาท BLAND ปิดที่ 0.33 บาท เพ่มขึ้น 0.06 บาท หรือ 22.22% มูลค่าการซื้อขาย 94.44 ล้านบาท IRPC ปิดที่ 3.22 บาท เพิ่มขึ้น 0.18 บาท หรือ 5.92% มูลค่าการซื้อขาย 967.94 ล้านบาท Q-CON ปิดที่ 1.35 บาท เพิ่มขึ้น 0.31 บาท หรือ 29.81% มูลค่าการซื้อขาย 2.41 ล้านบาท TSTH ปิดที่ 1.23 บาท เพิ่มขึ้น 0.08 บาท หรือ 6.96% มูลค่าการซื้อขาย 282.62 ล้านบาท TYONG ปิดที่ 0.59 บาท เพิ่มขึ้น 0.13 บาท หรือ 28.26% มูลค่าการซื้อขาย 99.24 ล้านบาท



****เตือนอย่าชะล่าใจ หุ้นขึ้นแค่การรีบาวด์ในตลาดขาลง

บทวิเคราะห์ บล.ทรีนีตี้ ระบุว่า คาดการณ์กรอบดัชนีสัปดาห์นี้ที่ 535-515 จุด มีโอกาสเห็นการเดินหน้าและถอยหลังให้เห็น Bear Market Rally (หุ้นขึ้นท่ามกลางภาวะตลาดหมี) หลังเดือน พ.ค.คาดว่าไม่ยั่งยืนมีปรับขึ้นปรับลง แต่ยังไม่จบ ให้เฝ้าติดตามใกล้ชิดขึ้น ช่วงเวลาที่ fund flows เข้า ต้องยอมรับ Fair Value ของการวิเคราะห์พื้นฐาน และ แนวต้านของการวิเคราะห์ทางเทคนิคอาจละลาย เพราะสมมติฐานอาจมีการปรับเปลี่ยนในภายหลัง

บทวิเคราะห์ บล.ซีมิโก้ ระบุว่า การดีดตัวของตลาดหุ้นที่เห็น ณ ขณะนี้ เป็นเพียงการรีบาวด์ในตลาดขาลง (Bear Markey Rally) เนื่องด้วยปริมาณการซื้อขายยังไม่สนับสนุน การดีดตัวขึ้นไปยังเป้าหมายดังกล่าวจึงยังมีความผันผวน (อาจมีแรงขายทำกำไรเป็นระยะ เพราะไม่มั่นใจว่าตลาดจะฟื้นจริง แนวต้านแรกอยู่แถว 545 – 550 จุด แนวรับ 515 จุด) โดยเฉพาะหากตัวเลขเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีกว่าคาดเหล่านั้น ไม่มีความต่อเนื่อง ก็อาจทำให้ นักลงทุนเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อตลาดเช่นกัน

แต่ด้วยเหตุที่ปัจจุบันตัวเลขเศรษฐกิจยังเกื้อหนุน จึงมีโอกาสที่ดัชนีจะเหวี่ยงขึ้นต่อได้ (แนวต้านแรก 545 -550 จุด) ด้วยแรงหนุนจากหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์ ที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อาทิ กลุ่มน้ำมัน (PTTEP, BCP) เดินเรือ (PSL, TTA) เหล็ก (TSTH) ระยะสั้น อาจขายทำกำไรเป็นระยะ (ยังไม่มั่นใจว่าตลาดจะฟื้นตัวจริง โดยเฉพาะตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐอาจพลิกแย่ลงได้อีก หลังบริษัทรถยนต์ขนาดใหญ่เริ่มปิดโรงงานช่วงกลาง 2Q52) แล้วรอสะสมใหม่เมื่อตลาดหุ้นปรับฐาน (แนวรับ 510 – 520 จุด)


****แนะถือเงินสด รอจังหวะซื้อกลับเมื่อดัชนีฯปรับฐาน

บทวิเคราะห์ บล.ทิสโก้ ระบุว่าแนวโน้มสัปดาห์นี้ คาดว่าดัชนีฯ จะปรับตังขึ้นต่อแต่ต้องระวัง Peak ชั่วคราวที่ 535-540 จุด หลังจากนั้น ดัชนีฯจะทรงกับลง 3-5 วัน ปรับฐานใหญ่ประมาณ 35 -40 จุด จาก Peak - แนวรับคือ 495 - 500 จุด แนวโน้มเดือน พ.ค. 52 ยังเหมือนเดิมคือ ดัชนีฯจะซิกแซกขึ้นเป้าหมายปลายเดือนนี้ที่ 560 หรือ 590 จุด

สำหรับกลยุทธ์แนะนำทยอยขายหุ้นที่ขึ้นมามากที่แนวต้าน 535 จุดและ 540 จุด หรือขายหนักเมื่อ ดัชนีฯ เกิดสัญญาณกลับตัวลง ด้วยการทำ Lower High จากวันก่อนหน้า หรือ ปิดติดลบเกิน 3 จุด 3. ถือเงินสด - รอหาจังหวะซื้อกลับ ปลายสัปดาห์นี้ เมื่อดัชนีฯลงมาปิด GAP ที่ 495 - 500 จุด


****เซียนหุ้นบอกหากอยากเก็งกำไร ต้องเทรดดิ้งหุ้นผลงานไตรมาสแรกแจ่ม

บทวิเคราะห์ บล.พัฒนสิน ระบุว่า หุ้นเก็งกำไรยังคงเน้นหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะรายงานกำไรเติบโตดี ได้แก่ VNT,BANPU ,BCP ,SPALI, CPALL, KH ,CPF, SEAFCO
บทวิเคราะห์ บล.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ ระบุว่า ยังพอ Trading ได้แต่เล่นเพียงระยะสั้นๆ โดยแนะนำ เก็งกำไรหุ้นที่คาดงบQ1 จะดี(THAI BCP CPF SPALI) 2.เลี่ยงหุ้นที่งบจะแย่อย่างเรือ(TTA RCL) เหล็ก(TSTH GSTEEL)


**** เปิดโผหุ้นเล็กในดวงใจกูรู เลือกเทรดดิ้งยามตลาดผันผวน

นายเตชธร ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน สายงานวิจัย บล.เอเชียพลัส กล่าวว่า สำหรับภาวะตลาดฯปัจจุบันที่ดัชนีฯมีความผันผวนโดยหุ้นขนาดเล็กที่มีความโดดเด่นและมีความน่าสนใจ ได้แก่ กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง คือ TRC ที่จะได้รับอานิสงค์จากต้นทุนในการก่อสร้างที่จะลดลงจากราคาเหล็กที่ปรับตัวลง ซึ่งส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจ ประกอบกับงานที่อยู่ในมือยังมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มปตท.ฯ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ยังมีหุ้นในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่ได้รับปัจจัยบวกจากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่จะมีผลให้ความต้องการสินค้าในกลุ่มโภคภัณฑ์ฟื้นตัวขึ้นและราคาสินค้าก็มีโอกาสที่จะปรับตัวดีขึ้นในทิศทางเดียวกัน โดยแนะนำในหุ้นกลุ่มอาหาร คือ TVO LST และ TSTH

สำหรับกลยุทธ์การลงทุน แนะนำเก็งกำไร TRC ประเมินแนวรับ 2.4 บาท แนวต้าน 2.5 บาท, TVO แนวรับ 12.30 บาท แนวต้าน 13 บาท , LST แนวรับ 2.90 บาท แนวต้าน 3.10 บาท และ TSTH แนวรับ 1.20 บาท แนวต้าน 1.30 บาท

ด้านนายรณกฤต สารินวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.แอ๊ดคินซัน กล่าวว่า สำหรับภาวะตลาดฯในปัจจุบันราคาหุ้นหลายตัวได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกินมูลค่าพื้นฐานที่แท้จริง ทั้งนี้สำหรับการลงทุนในขณะนี้จะต้องพิจารณาจากจังหวะและโอกาสการลงทุน ซึ่งจะต้องพิจารณาจากปัจจัยทางด้านเทคนิคของหุ้นที่มีสัญญาณและแนวโน้มที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยแนะนำเก็งกำไรในหุ้นดังต่อไปนี้ ได้แก่ TIES แนวรับ 1.54 บาท แนวต้าน 1.80 บาท,BCP-W แนวรับ 3.60 บาท แนวต้าน 4 บาท และ UMS-W แนวรับ 4.36 บาท แนวต้าน 4.70 บาท


eFinance-Thai

0 ความคิดเห็น:

Template by - Abdul Munir | Blogging4