16 มีนาคม 2552

"ลดทุน"แก้ไม่ตรงจุด

โบรกฯใหญ่ลั่น"ลดทุน"แก้ไม่ตรงจุด

โบรกเกอร์ใหญมองสวนทิศสมาคม บล. ชี้แนวทางลดทุนหวังแก้ปัญหาส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ ไม่ใช่ทางออกที่ดี ลั่นภาวะวิกฤตมีแต่ตุนสภาพคล่อง ด้านนายกสมาคมแจง บล.ส่วนใหญ่มีรายได้หลักจากค่า นายหน้า ขณะที่ตลาดหุ้นซบหารายได้ยาก

จากที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์เสนอตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เกี่ยวกับแนวทางแก้ปัญหาธุรกิจหลักทรัพย์ได้รับผลกระทบจากภาวะตลาดหุ้นที่ตก ต่ำ โดยมีข้อเสนอใหม่คือ การให้บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ลดทุนจดทะเบียนลง เพื่อแก้ปัญหาผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ

นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า บริษัทยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องลดทุน เนื่องจากในอนาคตมีแผนจะขยายธุรกิจอีกมากจึงจำเป็นจะต้องใช้เงินทุนรองรับ อีกทั้งที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ของบริษัทไม่ได้ติดลบ

ส่วนโบรกเกอร์ที่ต้องการลดทุนก็มีความเป็นไปได้ หากต้องการดำเนินธุรกิจเฉพาะทางจริงๆ เพราะปัจจุบันแต่ละแห่งมีฐานทุนค่อนข้างสูง และดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (NCR)่ในอัตราที่สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ 7% ซึ่งบริษัทมี NCR เกือบ 200% หากจะลดทุนก็ยังคงมี NCR เหลืออีกมาก

นายชัยภัทร ศรีวิสารวาจา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.ซีมิโก้ กล่าวว่า ในสถานการณ์ที่ธนาคารพาณิชย์ต่างเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อ จะเห็นว่าธุรกิจต่างๆ ล้วนแต่ต้องการสงวนเงินทุนได้กับบริษัทให้มากที่สุด เพื่อเตรียมไว้ลงทุนในอนาคต ซึ่งจะได้ไม่ต้องยุ่งยากในการขอเพิ่มทุนอีก จึงมองว่าการลดทุนไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาโบรกเกอร์

แต่ในส่วนของบริษัทที่จะมีการลดทุน เพราะบริษัทควบรวมกิจการกับ บล.เคทีบี (ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของธนาคารกรุงไทย) จึงต้องลดทุนก่อนแล้วไปเพิ่มทุนใน บล.เคทีซีมิโก้ ทำให้ บล.ซีมิโก้ไม่ต้องมีฐานทุนใหญ่เพราะดำเนินเฉพาะธุรกิจลงทุนเท่านั้น ส่วนมาร์จิ้นโลนจะให้ทาง บล.เคทีซีมิโก้ดำเนินการเอง โดยทางธนาคารกรุงไทยจะให้วงเงินมาทำธุรกรรมดังกล่าว 1,000 ล้านบาท

นายสุวิทย์ มาไพศาลสิน ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บล.ภัทร กล่าวว่า หากต้อง การลดภาระให้โบรกเกอร์ควรจะพิจารณาเป็นรายบริษัท เพราะบางบริษัทมีแผนลงทุนในอนาคต จึงไม่จำเป็นต้องมาลดทุนเพื่อคืนผู้ถือหุ้น ความจริงขนาดของฐานเงินทุนควรจะต้องจัดให้เหมาะสมกับขนาดธุรกิจที่ดำเนินการ ในข้างหน้าซึ่งบริษัทยังจำเป็นต้องมีฐานทุนสูง เพราะยังมีธุรกิจที่จะลงทุน

นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช กรรมการผู้อำนวยการ บล.ทรีนีตี้ ในฐานะนายกสมาคม บล. กล่าวว่า ข้อเสนอในเรื่องการลดทุนเพราะเห็นว่า ปัจจุบันโบรกเกอร์ทั้งอุตสาหกรรมมีส่วนของทุนรวมกันที่ระดับ 6.3 หมื่นล้านบาท หรือเฉลี่ย 1 พันล้านบาทต่อราย โดยในภาวะตลาดหุ้นตกต่ำ การหารายได้ค่อนข้างยาก ทำให้กระทบต่อ ROE และที่สำคัญสัดส่วนรายได้หลักของโบรกเกอร์ 70-80% มาจากธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งธุรกิจนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ฐานทุนในระดับสูง ดังนั้นหากบริษัทใดมีเป้าหมายธุรกิจชัดเจน ก็สามารถใช้การลดทุนเพื่อลดภาระที่ต้องสร้างรายได้ให้กับผู้ถือหุ้นก็ได้

0 ความคิดเห็น:

Template by - Abdul Munir | Blogging4