25 มีนาคม 2552

นักวิชาการสหรัฐเสียงแตกแผนขจัดหนี้เน่า

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

พอล ครุกแมน เจ้าของโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์คนล่าสุดปี 2551

พอล ครุกแมน เจ้าของโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์คนล่าสุดปี 2551

กู รูเศรษฐศาสตร์ การเงินสหรัฐ เสียงแตกแผนแก้หนี้เสีย โดยครุกแมนฟันธง "ไกธ์เนอร์" ต้องผิดหวังทำงานล้มเหลว สวนทางสเปนซ์เชื่อมั่นขุนคลัง

สำนักข่าวบลูมเบิร์กและรอย เตอร์ได้รวบรวมความเห็นของนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญและนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของสหรัฐ ที่มีต่อแผนขจัดสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ หรือหนี้เสีย ออกจากงบบัญชีสถาบันการเงินสหรัฐ จากการนำเสนอของนายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รมว.คลังสหรัฐวานนี้ (24 มี.ค.) โดยมีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยเชิงบวกและฝ่ายคัดค้านเป็นมุมมองแง่ลบ

โดยนายพอล ครุกแมน เจ้าของโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์คนล่าสุดปี 2551 มั่นใจและแน่ใจอย่างมากว่า นายไกธ์เนอร์จะเผชิญความล้มเหลว และประสบความผิดหวังอย่างมาก

"ปัญหาแท้จริงที่มาจากแผนขจัดหนี้เสียของนายไกธ์เนอร์ อยู่ที่แผนดังกล่าวจะใช้ไม่ได้ผล และมีแนวโน้มว่าไกธ์เนอร์กำลังกลับไปหา วิธีการที่เรียกว่า "ทำเงินสดให้กลายเป็นเศษขยะ" อย่างที่นายเฮนรี พอลสัน อดีต รมว.คลังคนก่อนได้ทำไว้ ส่วนนี้เป็นมากกว่าความผิดหวัง และทำให้ผมเกิดความรู้สึกสิ้นหวัง " นายครุกแมนวัย 56 ปี แสดงความเห็นใน นสพ.นิวยอร์ก ไทมส์เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

นอกจากนี้นายครุกแมนแนะนำว่า แทนที่จะให้ทุนอุดหนุนการซื้อสินทรัพย์ขาดสภาพคล่อง รัฐบาลควรรับประกันหนี้ของสถาบันการเงินต่างๆ และควรเข้าไปเทคโอเวอร์บริษัทล้มละลาย พร้อมกับสะสางงบบัญชีบริษัท ซึ่งเป็นลักษณะคล้ายคลึงกับสิ่งที่รัฐบาลสวีเดนได้ดำเนินการไปแล้วช่วง ทศวรรษหลังปี 2533

ทั้งนี้ความเห็นของนายครุกแมนตรงข้ามกับนายเอ. ไมเคิล สเปนเซอร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ร่วมประจำปี 2544 เชื่อว่าเป็นโอกาสดีที่นายไกธ์เนอร์จะทำแผนสะสางสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่กลาย เป็นหนี้เสียภาคธนาคารสหรัฐให้ประสบผลสำเร็จได้

"แผนขจัดหนี้เสียนั้น ที่สำคัญขึ้นอยู่กับภาคเอกชน ในฐานะผู้มีส่วนร่วมและเป็นผู้กำหนดราคา การแทรกแซงของรัฐบาลบางครั้งสามารถทำให้ตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น และการแทรกแซงอาจได้ผล แผนของกระทรวงคลังมีความซับซ้อนน้อย ซึ่งทำให้ผลในทางปฏิบัติสำเร็จได้ ผมคาดว่ากระทรวงคลังได้ทำการบ้านแล้ว และมีเอกชนรอเซ็นสัญญาอัดฉีดเงินเป็นหุ้นส่วนกับไกธ์เนอร์แล้ว" นายสเปนซ์วัย 65 ปีกล่าว

ขณะที่นายอัลลัน เมลท์เซอร์ วัย 81 ปี เจ้าของงานเขียนประวัติศาสตร์ธนาคารกลางสหรัฐ เห็นว่าแผนของนายไกธ์เนอร์จะช่วยได้อย่างแน่นอน แต่คำถามสำคัญอยู่ที่ว่า ภาคเอกชนสามารถยอมรับภัยคุกคามและการตรวจสอบจากสภาคองเกรสได้หรือไม่ ซึ่งทำให้ผลที่ตามมาในอนาคตนั้นน่าสะพรึงกลัว

ด้านนายไบรอน เวียน นักวิเคราะห์กองทุนบริหารความเสี่ยง พีโคท แคปิตอล แมเนจเมนท์ กล่าวในการประชุมสุดยอดหลักทรัพย์เอกชนและกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่รอยเตอร์จัด ขึ้นว่า แผนของกระทรวงการคลังสหรัฐในการขจัดสินทรัพย์ด้อยคุณภาพออกจากงบบัญชีสถาบัน การเงินนั้น เป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล และแม้แผนนี้จะไม่ขจัดสินทรัพย์ด้อยคุณภาพออกจากงบบัญชีได้ทั้งหมด แต่ก็ถือว่าประสบผลสำเร็จอย่างมาก

"บริษัทจัดการสินทรัพย์ขนาดใหญ่ที่มีอิทธิพล ซึ่งตกลงที่จะเข้าร่วมโครงการซึ่งรวมถึงแบล็คร็อค อิงค์ และแปซิฟิก อินเวสท์เมนต์ แมเนจเมนท์ คอมปะนี หรือพิมโค เป็นหุ้นส่วนเอกชนที่เหมาะสมสำหรับรัฐบาล ขณะที่กองทุนเฮดจ์ฟันด์ก็มีแนวโน้มที่จะมีบทบาทน้อยกว่าในแผนดังกล่าว" นายเวียนให้ความเห็น

อย่างไรก็ดีความเห็นแตกต่างของนักวิชาการกับนักเศรษฐศาสตร์ข้างต้น ยังทำให้ดัชนีดาวโจนส์เปิดตลาดวันแรกสัปดาห์นี้ปรับขึ้นแรง 497.48 จุด หรือ 6.8% ปิดที่ระดับ 7,775.86 จุด ทำสถิติสูงสุดนับจากวันที่ 13 ก.พ.ปีนี้ ส่วนดัชนีเอส แอนด์ พี 500 ปรับขึ้น 54.38 จุด หรือ 7.1% ปิดที่ 822.92 จุด และดัชนีแนสแดกปรับขึ้นเช่นกัน 98.50 จุด หรือ 6.8% ปิดที่ 1,555.77 จุด

ด้านสำนักข่าวซินหัวอ้างความเห็นของนายมาร์ติน เฟลด์สไตน์ นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังของสหรัฐจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นอดีตผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ และเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งนายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐจัดตั้งขึ้นในเดือนก.พ.ปีนี้ ให้ความเห็นว่าจนถึงตอนนี้ยังไม่มีสัญญาณใดๆ บ่งชี้ว่าสหรัฐจะฟื้นตัวในระยะเวลา 2 ปี และเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวเมื่อใด และเชื่อว่ามาตรการของรัฐบาลยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ และกล่าวว่า เศรษฐกิจยุโรปน่าจะย่ำแย่กว่าสหรัฐ

ขณะเดียวกันธนาคารกลาง (เฟด) และกระทรวงคลังสหรัฐ มีแถลงการณ์ร่วมให้เฟดควรเพิ่มบทบาทการเป็นศูนย์กลางเพื่อประสานความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในการป้องกันวิกฤติการเงินในอนาคต โดยแถลงการณ์ร่วมครั้งนี้มีขึ้นขณะที่คณะทำงานของนายโอบามาและสภาคองเกรส กำลังหามาตรการปรับโครงสร้างตลาดเงินในประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงการล่มสลายทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ท่ามกลางความพยายามของสหรัฐในการยุติวิกฤติเลวร้าย และหวังจะนำพาประเทศให้รอดพ้นจากภาวะถดถอย

นอกจากนี้ กระทรวงคลังและเฟดได้เรียกร้องให้สภาคองเกรสกำหนดนโยบายให้เฟด มีอำนาจในการบริหารสถาบันการเงินรายใหญ่ที่ล้มละลาย เพื่อดูแลเศรษฐกิจของประเทศให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

ที่มา:กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

0 ความคิดเห็น:

Template by - Abdul Munir | Blogging4