01 เมษายน 2552

คาดสิงคโปร์ลดค่าเงิน

นักวิเคราะห์คาดสิงคโปร์ลดค่าเงินกู้วิกฤติเศรษฐกิจ


นักวิเคราะห์คาด สิงคโปร์จะปล่อยสกุลเงินอ่อนค่าลงเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกหนุนเศรษฐกิจที่ อ่อนแอ โดยอาจปรับลดอย่างน้อย 1-2% แต่ติงต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างผลกระทบลูกโซ่ต่อสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย โดยล่าสุดเงินดอลลาร์สิงคโปร์เคลื่อนไหวอยู่ที่ 1.51 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อดอลลาร์สหรัฐ

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ธนาคารกลางสิงคโปร์ มีแนวโน้มผ่อนคลายอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สิงคโปร์ในอีกไม่กี่สัปดาห์ ข้างหน้า โดยอาจจะปรับขีดขั้นต่ำของอัตราแลกเปลี่ยน ขยายช่วงอัตราแลกเปลี่ยนกว้างขึ้นเพื่อให้สกุลเงินเคลื่อนไหวได้มากขึ้น หรือปรับความลาดเอียงของช่วงอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อเปิดโอกาสให้สกุลเงินเคลื่อนไหวไปในทางใดทางหนึ่งรวดเร็วขึ้น

นักวิเคราะห์ส่วนมากเชื่อว่า ธนาคารกลางสิงคโปร์ ที่มักเก็บงำรายละเอียดของอัตราแลกเปลี่ยน จะปรับลดค่ากลางของกรอบอัตราแลกเปลี่ยนอย่างน้อย 1-2% เพื่อชักนำให้ค่าเงินปรับตัวลง ในการทบทวนนโยบายอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งจะเป็นการส่งสัญญาณการผ่อนคลายนโยบาย หลังจากธนาคารกลางใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบเป็นกลาง ในการทบทวนนโยบายเมื่อเดือนต.ค.ปีที่แล้ว

อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์ต้องหลีกเลี่ยงความเข้าใจว่า การผ่อนคลายอัตราแลกเปลี่ยน เป็นการจงใจ ทำให้ค่าเงินอ่อนตัวลง เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก นายแมกนัส พริม นักยุทธศาสตร์สกุลเงิน เอสอีบี ในสิงคโปร์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนต้องอาศัยการพิจารณาทางการเมืองอย่างมาก เพราะการประกาศเป้าหมายปล่อยให้สกุลเงินอ่อนค่าลงอาจไม่เป็นที่ต้อนรับใน หมู่ประเทศเพื่อนบ้าน

ตลาดการเงินคาดหมายถึงความเสี่ยงที่เอเชีย จะปล่อยให้ค่าเงินลดลง เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากการส่งออกของภูมิภาคนี้ต้องพึ่งพาสหรัฐและยุโรป ที่กำลังประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอย สกุลเงินที่อ่อนค่าลงอาจไม่ช่วยกระตุ้นความต้องการที่ได้รับผลกระทบจาก วิกฤติเศรษฐกิจโลก แต่อาจช่วยหนุนความสามารถในการแข่งขันด1 ?นการทบทวนนโยบายอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งจะเป็นการส่งสัญญาณการผ่อนคลายนโยบาย หลังจากธนาคารกลางใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบเป็นกลาง ในการทบทวนนโยบายเมื่อเดือนต.ค.ปีที่แล้ว

อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์ต้องหลีกเลี่ยงความเข้าใจว่า การผ่อนคลายอัตราแลกเปลี่ยน เป็นการจงใจ ทำให้ค่าเงินอ่อนตัวลง เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก นายแมกนัส พริม นักยุทธศาสตร์สกุลเงิน เอสอีบี ในสิงคโปร์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนต้องอาศัยการพิจารณาทางการเมืองอย่างมาก เพราะการประกาศเป้าหมายปล่อยให้สกุลเงินอ่อนค่าลงอาจไม่เป็นที่ต้อนรับใน หมู่ประเทศเพื่อนบ้าน

ตลาดการเงินคาดหมายถึงความเสี่ยงที่เอเชีย จะปล่อยให้ค่าเงินลดลง เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากการส่งออกของภูมิภาคนี้ต้องพึ่งพาสหรัฐและยุโรป ที่กำลังประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอย สกุลเงินที่อ่อนค่าลงอาจไม่ช่วยกระตุ้นความต้องการที่ได้รับผลกระทบจาก วิกฤติเศรษฐกิจโลก แต่อาจช่วยหนุนความสามารถในการแข่งขันด้านราคา

ทั้งนี้ ดีลเลอร์ค้าเงินกล่าวว่า ไทยและไต้หวันเข้าแทรกแซงตลาดเงินในเดือนนี้ เพื่อลดมูลค่าสกุลเงินและหนุนการส่งออก แต่ทั้งสองประเทศไม่ได้ยืนยันความเคลื่อนไหวดังกล่าว

สิงคโปร์เป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกมากที่สุดในเอเชีย ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ประเทศก้าวสู่ภาวะถดถอยรุนแรงสุดเป็น ประวัติการณ์ โดยรายได้จากการส่งออกคิดเป็นสัดส่วน 200% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของสิงคโปร์

นักลงทุนทราบถึงจุดอ่อนของสิงคโปร์ และผลักค่าดอลลาร์สิงคโปร์ ร่วงลงเกือบ 6% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ นับจากต้นปี ส่งผลให้สกุลเงินสิงคโปร์ กลายเป็นสกุลเงินที่อ่อนแอที่สุดอันดับสองของเอเชีย รองจากเงินวอนของเกาหลีใต้ แต่หากเทียบตามน้ำหนักการค้า นายเอ็มมานูเอล อึ้ง นักยุทธศาสตร์สกุลเงินของธนาคารโอซีบีซี ประเมินว่า ค่าดอลลาร์สิงคโปร์ร่วงลงประมาณ 2.6% ในปีนี้

ขณะที่ธนาคารกลางของประเทศอื่นๆ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ธนาคารกลางสิงคโปร์กลับดำเนินนโยบายผ่านทางสกุลเงิน ซึ่งการเก็บช่วงอัตราแลกเปลี่ยนเป็นความลับ ทำให้นักวิเคราะห์ต้องพัฒนาแบบจำลองขึ้นมาเองเพื่อประเมินนโยบายของสิงคโปร์ นายเว่ย เจียง คิต นักวิเคราะห์จากซิตี้กรุ๊ป ตั้งข้อสงสัยว่า ธนาคารกลางสิงคโปร์อาจปล่อยค่าเงินลดลงถึงจุดต่ำสุดของกรอบอัตราแลกเปลี่ยน แล้ว เพื่อปูทางสู่การผ่อนคลายนโยบาย ส่วนนายคลอดิโอ ไพรอน นักยุทธศาสตร์สกุลเงิน เจ.พี.มอร์แกน เชส แบงก์ เชื่อว่า ธนาคารกลางสิงคโปร์จะปรับลดขีดขั้นต่ำของช่วงอัตราแลกเปลี่ยน 1-1.5% แต่นายฌอน คัลโลว์ จากเวสต์แพค คาดว่าจะมีการปรับช่วงอัตราแลกเปลี่ยนอย่างน้อย 2% โดยค่าเงินสิงคโปร์จะลดลงเหลือ 1.57 ดอลลาร์ต่อดอลลาร์สหรัฐ ภายในเวลา 1 เดือน และขยับไปอยู่ที่ 1.61 ดอลลาร์ต่อดอลลาร์สหรัฐภายในสิ้นเดือนมิ.ย.


0 ความคิดเห็น:

Template by - Abdul Munir | Blogging4