28 มีนาคม 2552

วอร์แรนท์ใกล้หมดอายุ

มองวอร์แรนท์ใกล้หมดอายุ ผ่านทฤษฎีเกม


หลายคนคงจะสงสัยว่า ทำไม วอร์แรนท์ใกล้หมดอายุบางตัว ถึงมีการทำราคากันอย่างสนั่นหวั่นไหว เขาไม่กลัวกันบ้างหรือว่า เมื่อเล่นไปแล้ว จะขาดทุนบรรลัย ทั้งคนทำราคา และคนเล่นรายย่อย รายฝุ่น รายละอองเพราะวอร์ฯหลายๆตัว ผลประกอบการก็ไม่ดีเลย แต่ก็ยังเล่นกันเข้าไปได้ และในท้ายที่สุด วอร์ฯ กับแม่ที่ไม่สามารถทำราคาขึ้นไปจนถึงราคาใช้สิทธิอย่างสมเหตุสมผลได้ ก็จะมีค่าเป็นเพียง wall paper

ผม จะลองอธิบายดูว่า ทำไม การเล่นวอร์ฯใกล้หมดอายุ ถึงเกิดขึ้นได้อย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ต้องดูพื้นฐานบริษัทเลยด้วยซ้ำ แต่ต้องดูว่า วอร์ตัวนั้น สามารถเรียกผู้เล่นเข้าไปร่วมในเกมได้มากพอหรือไม่ก็พอแล้ว กรอบการพิจารณาใช้ game theory นะครับ

ดังนี้

เมื่อวอร์ฯตัวหนึ่ง ใกล้หมดอายุ
ราย ใหญ่(เจ้าของ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ อินไซเดอร์ใกล้ชิดผู้บริหาร ผู้ที่มีปริมาณหุ้นแม่ และวอร์ฯอยู่ในมือ(ทั้งของตัวเอง หรือ nominee เยอะๆ ฯลฯ) จะมีทางเลือกคือ จะเล่น หรือไม่เล่น
เช่นเดียวกับรายย่อย คือมีทางเลือกคือ เล่นกับไม่เล่น

กรณีที่๑ รายใหญ่เลือกเล่น รายย่อยเลือกเล่น
ใน ส่วนของรายใหญ่ ถ้าเลือกที่จะเล่น ผลตอบแทนจากการเล่นครั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการชักจูงให้รายย่อยเข้ามาเล่นให้ได้(ข่าวลือ อำนาจซื้อนำ ความสามารถต่างๆในการกระตุ้นความโลภ ฯลฯ) และในเวลาเดียว กัน ถ้าสามารถทำราคาตัวแม่ให้ขึ้นไปจนมากกว่าราคาใช้สิทธิของตัวลูกได้พอสมควร ก็จะมีคนนำวอร์ฯตัวนั้น มาแปลง เป็นตัวแม่ มีเงินเข้ามาในบริษัทเพิ่มขึ้นอีกทางด้วย ดังนั้นจึงเป็นผู้ได้ประโยชน์มากที่สุด สมมติให้มีค่าผลตอบแทนเป็น +๑๐๐
ในส่วนของรายย่อย ถ้าเลือกที่จะเข้าสู่เกม และสามารถออกได้ทัน จะได้ผลตอบแทนเป็นบวกด้วยเช่นกัน แต่จะน้อยกว่ารายใหญ่ สมมติให้ค่าผลตอบแทนเป็น +๕๐

กรณีที่๒ รายใหญ่เลือกเล่น แต่รายย่อยไม่ตาม
กรณี นี้ อาจเกิดได้กับหุ้นที่ไม่ดึงดูด ไม่มีสภาพคล่อง ไม่เล่นข่าวลือ อำนาจซื้อนำไม่พอ ฯลฯ เมื่อรายใหญ่เลือกเล่น แต่ไม่มีรายย่อยตาม ผลตอบแทนของรายใหญ่ เมื่อทำราคาขึ้นไปสูงๆ ทั้งวอร์และตัวแม่แล้ว จะเป็นแค่การเรียกใช้สิทธิของวอร์ฯ เพื่อเพิ่มเงินสดในบริษัท และหลังจากนั้นรายใหญ่จะประคองราคาตัวแม่ไว้ เมื่อเกิดการแปลงลูกเข้ามา แล้วทยอยรินขายตัวลูกที่แปลงเป็นแม่แล้วอีกด้วย ในที่สุดอาจได้ผลลัพธ์เป็นกำไรเล็กน้อย หรืออย่างแย่ น่าจะไม่ได้ไม่เสียเท่าไร จึงสมมติให้ค่าผลตอบแทนเท่ากับ ๐ ก็พอ ซึ่งน่าจะเป็นกรณีแย่ที่สุด
ส่วนรายย่อย ก็ไม่ได้ไม่เสียเช่นกัน เพราะไม่เล่น จึงมีค่าเท่ากับ ๐ ด้วย

กรณีที่๓ รายใหญ่ไม่เล่น รายย่อยเล่น
กรณี นี้ ไม่มีประโยชน์สำหรับทั้งสองฝ่าย เพราะถ้ารายใหญ่ไม่เล่น โอกาสที่วอร์ฯ กับตัวแม่ จะมีค่าเหมาะสมกับราคาแปลงสิทธิจะเกิดขึ้นได้ยาก เพราะกำลังซื้อของรายย่อยไม่เพียงพอในการทำราคาเอง จึงเป็นแค่ทำกำไรกันระยะสั้น และรายใหญ่ก็จะไม่ได้ขายวอร์ที่ค้างอยู่ในมือ จนหมดมูลค่าไป รวมทั้งไม่ได้เงินเข้ามาในบริษัทอีกด้วย แต่มีโอกาสขายได้ในราคาที่สูงก่อนหมดมูลค่า ให้รายย่อยไปถือแทน สมมติว่ามีผลตอบแทนเป็น -๕๐
ส่วนรายย่อย รายฝุ่นรายละออง สุดท้ายแล้วน่าจะขาดทุนมากกว่า เพราะไม่สามารถดึงผู้เล่นเข้ามาในเกมได้ และพร้อมจะถูกรายใหญ่ขายยัดให้เสมอ สมมติผลตอบแทนเป็น -๑๐๐

กรณีที่๔ รายใหญ่ไม่เล่น รายย่อยไม่เล่น
กรณี นี้ เช่นกันรายใหญ่ จะเสียโอกาสในการใช้สิทธิแปลงเป็นแม่ และดึงเงินสดเข้าบริษัทจากค่าแปลงสิทธิ และจะไม่มีโอกาสขายใส่มือรายย่อยตอนที่รายย่อยกล้าลากด้วย จนวอร์ฯหมดอายุคามือไปฟรีๆ สมมติผลตอบแทนที่ได้เป็น -๑๐๐
ส่วนรายละออง ไม่เล่นก็ไม่ได้ไม่เสีย คือเท่ากับ ๐

ตีตาราง ผลตอบแทนได้ดังนี้


รายย่อย,รายฝุ่น,รายละออง
--------------------------------------------------------------------
///////////////////////
---------------------------------------------------------------------
รายใหญ่ เล่น/ (+๑๐๐,+๕๐) /////////////// (,๐)
---------------------------------------------------------------------
ไม่เล่น/ (-๕๐,-๑๐๐) //////////////// (-๑๐๐,๐)
---------------------------------------------------------------------

(ตารางจะดูยากหน่อยนะครับ เพราะผมจัดหน้ากระดาษไม่ได้)


อธิบายว่า เลขแรกเป็นของรายใหญ่ เลขถัดไปเป็นของรายย่อย
ค่าที่ ๑ คือ เล่น/เล่น ค่าที่ ๒ คือ เล่น/ไม่เล่น
ค่าที่ ๓ คือ ไม่เล่น/เล่น ค่าที่ ๔ คือ ไม่เล่น/ไม่เล่น

จะ เห็นว่า รายใหญ่มี dominant strategy คือ เล่นวอร์ฯใกล้หมดอายุดีกว่า เพราะ ไม่ว่ารายย่อยจะเลือกเล่นหรือไม่เล่น รายใหญ่เมื่อเลือกเล่น จะได้ผลตอบแทนมากกว่าไม่เล่นเสมอ คือกรณีที่รายย่อยไม่เล่น รายใหญ่จะได้ผลตอบแทนจากการเล่น ที่ ๐ ต่อ ไม่เล่น -๑๐๐
กรณีที่รายย่อยเล่น รายใหญ่จะได้ผลตอบแทนจากการเล่น +๑๐๐ ต่อไม่เล่น -๕๐

ดังนั้น ไม่ว่ารายย่อยจะเลือกเล่นอะไร รายใหญ่จะเลือกเล่น อยู่ดี เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่มากกว่าเสมอ

ส่วนรายละออง ไม่มี dominant strategy คือ ไม่มีอันไหนที่ถ้าเลือกทำแล้ว จะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเสมออย่างรายใหญ่
แต่ในฐานะรายฝุ่น เมื่อเรารู้ว่า รายใหญ่ มีโอกาสที่จะเล่นมากกว่าไม่เล่น เพราะเป็น dominant strategy ของรายใหญ่
ดังนั้น เพื่อให้ได้ ผลตอบแทนที่สูงสุดเสมอ เราจึงควรเล่นกับรายใหญ่ด้วย(เพราะสามารถคาดเดาได้ว่ารายใหญ่พร้อมจะเล่นเกมนี้เสมอ)

ดังนั้น จุดสมดุลที่ยอมรับได้ของทั้งสองฝ่าย จึงอยู่ที่ รายใหญ่ และรายย่อยร่วมเล่นเกมนี้ครับ คือ +๑๐๐ ต่อ +๕๐ ครับ

ส่วน จะเข้ากันที่ราคาไหน เมื่อไร หรือขายที่ราคาเท่าไรนั้น ต้องไปดูกันเองในสนามอีกที และแน่นอนว่าจะมีแมงเม่าเพื่อนตายตู ตายเป็นเบืออีกเช่นเคยครับ เพราะไม่ว่าอย่างไร แมงเม่ากลุ่มนี้ จะได้รับผลตอบแทนเป็น -๑๐๐ เสมอ ฮ่าๆ

อ่านเอามันส์ เฉยๆครับ

บทความจาก คุณแมงเม่ามือใหม่ pantip.com


0 ความคิดเห็น:

Template by - Abdul Munir | Blogging4