19 มีนาคม 2552

คาดส่งออกปี 52 ลดลง

คาดส่งออกปี 52 ลดลงร้อยละ 13.5-20

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดส่งออกปี 52 ลดลงร้อยละ 13.5-20 แนะผู้ประกอบการปรับแผนรับมือวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย


บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า การส่งออกของไทยในเดือน ก.พ. 2552 มีมูลค่า 11,736 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 11.3 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แต่หากไม่นับรวมทองคำ ซึ่งไม่ใช่รายการที่สะท้อนความสามารถในการส่งออกที่แท้จริงของไทย พบว่าหดตัวร้อยละ 24.6 ยังหดตัวสูงต่อเนื่องจากเดือน ม.ค. ที่การส่งออกไม่รวมทองคำหดตัวร้อยละ 30 และศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกจะยังคงได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจถดถอยของโลกที่มีแนวโน้ม รุนแรงขึ้นกว่าที่ประเมินไว้ในเดือนก่อน โดยการส่งออกของไทยอาจจะยังหดตัวสูงในระดับประมาณร้อยละ 20 ต่อเนื่องไปจนถึงปลายไตรมาสที่ 2 ขณะที่แนวโน้มในครึ่งปีหลังยังคงขึ้นอยู่กับทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ภูมิภาคหลักของโลก ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์แนวโน้มการส่งออกของไทยในปี 2552 อาจจะลดลงประมาณร้อยละ 13.5-20 จากปีก่อนหน้า

สำหรับการปรับตัวของธุรกิจส่งออก ผู้ประกอบการควรเตรียมแผนรับมือในกรณีสถานการณ์เลวร้ายที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ของโลกอาจจะยิ่งรุนแรงและยาวนาน ในด้านการตลาด ควรศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดประเทศต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงในภาวะเศรษฐกิจซบเซา เพื่อปรับกลยุทธ์การผลิตและการตลาดให้สอดคล้องกับสภาวะตลาด และควรประเมินทิศทางตลาดอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเหตุการณ์เศรษฐกิจโลกมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน ควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านการเงิน โดยเฉพาะในด้านสภาพคล่อง และการบริหารต้นทุนอย่างรัดกุม เพื่อประคองธุรกิจให้อยู่รอดในสภาวะที่ยากลำบากนี้

ประเด็นที่ควรติดตาม คือ ทิศทางมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในประเทศต่าง ๆ ซึ่งผู้ประกอบการในบางธุรกิจอาจมีโอกาสได้รับประโยชน์จากการใช้จ่ายเม็ดเงิน ในโครงการเหล่านั้น ขณะเดียวกัน อาจมองหาโอกาสในตลาดใหม่ที่ยังมีศักยภาพเติบโต โดยประเทศในภูมิภาคที่ยังมีการขยายตัวในเกณฑ์ที่ดีกว่าประเทศอื่น ๆ คือ จีนและอินเดีย

แม้ในขณะนี้การส่งออกของไทยไปยังประเทศจีนและอินเดียจะยังคงหดตัว แต่ทั้งสองประเทศเป็นประเทศที่น่าจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกน้อย กว่าประเทศก้าวหน้าอื่น ๆ รวมถึงประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน โดยเฉพาะจีน ซึ่งมีการคาดหมายว่า เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งหลังของปี จากผลของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 4 ล้านล้านหยวน และรัฐบาลจีนยังกล่าวว่า พร้อมที่จะออกมาตรการเพิ่มเติมทุกเมื่อ หากมีความจำเป็น เพื่อผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ร้อยละ 8 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า จีนจะก้าวแซงญี่ปุ่นขึ้นมาเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐได้ภายในปี 2553

กลยุทธ์การลงทุน (19/3/52)

กลยุทธ์การลงทุน (19/3/52) .... By ZMICO

ลุ้นทดสอบแนวต้านอีกรอบ

ภาวะ ตลาดวานนี้ SET ดีดตัวทันทีที่เปิดตลาด ด้วยอานิสงส์จากตลาดหุ้นสหรัฐที่ปรับตัวขึ้นแรง แม้จะมีแกว่งๆ บ้างระหว่างวัน แต่ตัวเลขส่งออกเดือน ก.พ. ที่ลดลงน้อยกว่าคาด ก็เป็นไม้ต่อมารับในช่วงบ่าย ทำให้ SET แกว่งขึ้นมาปิดใกล้จุดสูงสุดของวันที่ 426.20 จุด เพิ่มขึ้น 3.88 จุด แต่มูลค่าซื้อขายหดเหลือเพียง 5.66 พันล้านบาท

ภาวะตลาดวันนี้ SET ยังได้ปัจจัยบวกจากการดีดตัวของตลาดต่างประเทศ ช่วยผลักดันให้แกว่งตัวขึ้นต่อได้ แต่ก็จะเผชิญกับจุดตัดสินใจระยะสั้นที่สำคัญที่บริเวณแนวต้าน 428 – 430 จุด เราประเมินว่าการดีดตัวของดัชนีในช่วงที่ผ่านมาเป็นการดีดตัวในตลาดขาลง เพราะความเสี่ยงเศรษฐกิจยังมีอยู่สูง (การส่งออกหากไม่รวมทองคำ ยังติดลบถึง 20%YoY ในเดือน ก.พ.) จึงยังคงให้ทยอยลดพอร์ตเมื่อดัชนีดีดตัวขึ้น แล้วหาจังหวะรับเมื่ออ่อนตัว กลุ่มที่น่าสนใจเป็นกลุ่มที่อ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ยอย่าง ธนาคาร (SCB, BBL) และอสังหาริมทรัพย์ (LH, AP)

เก็บเอามาเล่า

ส่ง ออก ก.พ. ติดลบน้อยกว่าคาด...อย่าเพิ่งดีใจ กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยยอดส่งออกเดือน ก.พ. ลดลง 11.3%YoY เป็น 11,735 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เทียบกับ -26.5%YoY ในเดือน ม.ค.) ขณะที่การนำเข้าปรับตัวลงรุนแรงกว่าถึง 40.3%YoY ทำให้ไทยเกินดุลการค้าสูงถึง 3,576.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่หากไม่นับรวมการส่งออกอัญมณีที่สูงถึง 402.7%YoY (หลักๆ เป็นการดีดตัวของการส่งออกทองคำ) มูลค่าส่งออกจะลดลง 27.6%YoY และมีดุลการค้าเหลือเพียง 1,426.8 ล้านดอลลาร์สหัฐเท่านั้น

เฟดคง อัตราดอกเบี้ยตามคาด พร้อมซื้อพันธบัตรระยะยาว 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เฟดคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed fund rate) ไว้ที่ระดับ 0-0.25% พร้อมประกาศจะเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐ มูลค่า 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในระยะ 6 เดือนข้างหน้า และจะขยายการรับซื้อตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาจำนอง เพื่อช่วยบรรเทาภาวะตึงตัวในตลาดสินเชื่อ

ประเด็นสำคัญ

ตลาด หุ้นสหรัฐทะยานรับเฟดซื้อพันธบัตรระยะยาว ดัชนีดาวโจนส์ดีด 90.88 จุด ปิดที่ 7,486.58 จุด หลังเฟดประกาศซื้อพันธบัตรระยะยาวเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปี เพื่อต้องการฟื้นเศรษฐกิจจากภาวะถดถอย อย่างไรก็ดี เรายังเชื่อว่าเป็นการดีดตัวขึ้นในภาวะตลาดหมี

 สหรัฐ: เฟดประกาศซื้อพันธบัตรระยะยาว 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และซื้อตราสารหนี้ที่เกี่ยวกับสัญญาจำนองอีก 7.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อหวังผ่อนคลายภาวะตึงตัวในตลาดสินเชื่อ และกดดันต้นทุนการกู้ยืมให้ลดลง คาดว่าน่าจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายภาคธุรกิจและผู้บริโภคอีกครั้ง ทั้งนี้ เฟดคาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะหดตัวประมาณ 0.5-1.3% ในปี 52 มากกว่า -0.2-1.1% ที่คาดการณ์ในช่วงก่อนหน้า ขณะที่ราคาบ้านในสหรัฐยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวในระยะสั้น

  • สหรัฐ: ประธานกรรมการ Bank of America คาดอาจจ่ายคืนหนี้รัฐบาล 4.5 หมื่นดอลลาร์สหรัฐได้ปลายปี 52 หรือต้นปี 53 ขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจ

  • ญี่ปุ่น: ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ตัดสินใจเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.1% และตัดสินใจเพิ่มปริมาณการซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวจาก 1.4 เป็น 1.8 ล้านล้านเยนต่อเดือน เพื่อเสริมสภาพคล่องในตลาดเงิน และควบคุมอัตราดอกเบี้ยระยะยาวไม่ให้ปรับตัวสูงขึ้นมากเกินไป

  • จีน: ธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์อัตราการเติบโตเศรษฐกิจจีนจากเดิม 7.5% เหลือ 6.5% หลังภาคส่งออกถูกกระทบอย่างหนัก

ราคา น้ำมันร่วง หลังสต๊อคน้ำมันสูงเกินคาด ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ร่วง 1.02 ดอลลาร์สหรัฐ ปิดที่ 48.14 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ประกาศสต๊อคน้ำมันดิบสัปดาห์ล่าสุด เพิ่มขึ้น 2 ล้านบาร์เรล เป็น 353.3 ล้านบาร์เรล และสต๊อคน้ำมันเบนซีน ก็เพิ่มขึ้น 3.2 ล้านบาร์เรลเป็น 315.7 ล้านบาร์เรล กดราคาน้ำมันรูดในช่วงแรก ก่อนจะตีตี้นกลับด้วยแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ หลังเฟดประกาศแผนซื้อพันธบัตรระยะยาว





ASP - ถือ
คาดอัตราเงินปันผลตอบแทน 7% ในปี 52 (1.06 บาท / ถือ)


ECONOMY - เศรษฐกิจ: ส่งออก ก.พ. ติดลบน้อยกว่าคาด...อย่าเพิ่งดีใจ
CENTEL - CENTEL: ขายหุ้นกู้ชุดใหม่ในช่วง 2H52
CENTEL - CENTEL: คาดรายได้ 1Q52 ใกล้เคียง 1Q51

หุ้นแบงก์ใหญ่

เซียนแนะซื้อ"หุ้นแบงก์ใหญ่" ฉวยจังหวะช่วงราคาอ่อนตัว


นักวิเคราะห์เชื่อกลุ่มแบงก์กำไรยังดี "ภัทร" ระบุผลดำเนินงานด้อยกว่าปีก่อน แต่ไม่มีขาดทุนซีดีโอ เตือนควรรอดูสถานการณ์สินเชื่อ NPL ให้ชัด คาดราคาหุ้นยังลงได้อีก แนะลงทุนหุ้นแบงก์ใหญ่สำรองครบทนทานภาวะวิกฤต เชียร์ซื้อหุ้น BBL-KBANK-SCB ช่วงราคาอ่อนตัว

นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ผลกระทบจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ยังไม่ค่อยรุนแรงจนกระทบต่อ อัตราการทำกำไรของกลุ่มธนาคาร รวมทั้ง แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่คาดว่าจะปรับตัวลงไปอีก ทำให้ธนาคารพาณิชย ์น่าจะสามารถบริหารอัตรากำไรได้ดีขึ้น และทำให้อัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS) และอัตราการเติบโตของเงินปันผล (DPS) ปรับตัวดีขึ้นด้วย

โดยจากตัวเลขการสำรวจนักวิเคราะห์ล่าสุดก็ยังยกให้กลุ่มธนาคารมี EPS จากปี 2551 อยู่ที่ 2.6% ซึ่งถือว่าต่ำกว่ากลุ่มวัสดุก่อสร้าง พลังงาน โรงแรม และอาหาร แต่มี DPS เป็นบวกเพียงแค่กลุ่มเดียว ที่ 3.3% สะท้อนให้เห็นว่ากระแสเงินสดที่จะ นำมาจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นยังไม่ถูกกระทบเหมือนกลุ่มอื่นที่ต้องสงวน สภาพคล่องไว้ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย





นายธีระพงษ์ วชิรพงศ์ รองกรรมการ ผู้จัดการและรองหัวหน้ากลุ่มวิจัยหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร กล่าวว่า กำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารจะไม่ดีเท่าปีที่ผ่านมาแต่ก็ไม่ได้ลดลงมาก เพราะปีนี้ไม่มีผลขาดทุนจากการลงทุนในตราสารหนี้ ต่างประเทศ หากมีจุดประสงค์เพื่อซื้อเพื่อขาย (trade) หุ้นกลุ่มธนาคารช่วงนี้ถือว่าไม่ใช่ช่วงที่เหมาะสมเพราะตลาดยังมีความผันผวน สูง

"ต้องใช้เวลาสักระยะ เพราะตอนนี้คำพูดทั้งของนายแบงก์และนักวิเคราะห์แทบไม่มีน้ำหนัก แม้แต่ธนาคารแห่งประเทศไทย จะออกมารับรองว่าคุณภาพสินทรัพย์แบงก์ดี แต่มันมีปัจจัยจากต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย"

นายธีระพงษ์กล่าวว่า การที่ตลาดมีความผันผวนทำให้การประเมินมูลค่าหุ้นที่ต้องขึ้นอยู่กับอนาคต สามารถทำได้ลำบาก ภายใต้สถานการณ์แบบนี้ราคาหุ้นจึงมีโอกาสทั้งปรับขึ้นและลง

อย่างไรก็ตาม ถ้าต้องการลงทุนระยะยาว ราคาหุ้นกลุ่มธนาคารถือว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสม และเมื่อประเมินผลตอบแทนจากการลงทุนถือว่าดีกว่าการลงทุนในพันธบัตรอายุ 10 ปี ที่เฉลี่ยอยู่ที่ 3-4% ขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารกำไรต่อหุ้น 13-14% กำไรจากเงินปันผล 5-10% ซึ่งตอนนี้ บล.ภัทร ให้น้ำหนักกลุ่มธนาคารมากกว่าตลาด (over weigh)

นางสาวสุกัญญา อุดรวรนันท์ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กิมเอ็ง กล่าวว่า จากสัญญาณในช่วง 2 เดือนแรกปีนี้ ทำให้คาดว่าในไตรมาสแรกสินเชื่อและส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์จะ ลดลง และยังต้องติดตามสถานการณ์ NPL อีก จึงให้น้ำหนักกลุ่มธนาคารเท่ากับตลาด

แต่ถ้าลงทุนระยะยาวควรหาจังหวะซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวในหุ้นธนาคารขนาดใหญ่ เช่น ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) และธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)

ขณะที่ บล.นครหลวงไทยระบุว่า ข่าวในตลาดยังไม่นิ่ง นักลงทุนควรรอสักระยะ เพราะคาดว่าราคาหุ้นกลุ่มธนาคารยังมีโอกาสลดลงอีก โดยเฉพาะจากภาวะ NPL ที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงสิ้นไตรมาสที่ 1-2 นี้ แต่สำหรับหุ้นธนาคารขนาดใหญ่ที่ทนทานกับภาวะเศรษฐกิจ มีเงินทุนสำรองที่เพียงพอหาก NPL เพิ่ม สูงขึ้น อย่างเช่น หุ้น BBL, KBANK, SCB ควรหาจังหวะเข้าซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว

ปีนี้คาดจีดีพี -1.8%

ส.นักวิเคราะห์คาดจีดีพี-1.8% สิ้นปีดัชนี495จุด/เชียร์4หุ้นเด่น

สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์เผยผลสำรวจปีนี้คาดจีดีพี -1.8% ดัชนีตลาดสิ้นปีอยู่ที่ 495 จุด ชี้ปัจจัยลบน่าห่วงสุดอยู่ที่ปัญหาว่างงาน-NPL-ศก.ตกต่ำ แนะคนติดหุ้นลดพอร์ตหากราคาต่ำกว่าพื้นฐาน-ฐานะการเงินไม่ดี เปิดโพล 4 หุ้นเด่น

นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวถึงผลสำรวจของนักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์จำนวน 23 แห่ง ล่าสุดเมื่อ 16 มี.ค.ที่ผ่านมาว่า คาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจใน

ปี 2552 เฉลี่ยที่ -1.8% และดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ณ สิ้นปีอยู่ที่ 495 จุด โดยมีจุดสูงสุด 527 จุด และต่ำสุด 348 จุด ส่วนอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS) 5% ขณะที่ค่าเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปีอยู่ที่ 36.3 บาท อัตราดอกเบี้ยนโยบายภายในสิ้นปีอยู่ที่ 0.91% และเงินเฟ้อทั้งปี-0.2% พร้อมคาดเศรษฐกิจโลกแตะจุดต่ำสุดในไตรมาสแรกนี้ จากนั้นจะเริ่มฟื้นตัวได้ใน ปีหน้า

"จีดีพีไตรมาส 1/52 จะหดตัวมากสุดที่ -4.8% และไตรมาส 2-3 ยังติดลบจนถึงไตรมาส 4 ที่คาดว่าจะพลิกฟื้นตัวดีขึ้น"

กลุ่มธุรกิจที่มีกำไรต่อหุ้นเติบโตสูงสุด ได้แก่ กลุ่มวัสดุก่อสร้างโต 24.7% เพราะ ไม่ต้องบันทึกรายการพิเศษสต๊อกสินค้า คาดพลิกขาดทุนเป็นกำไร, กลุ่มพลังงานโต 23.1% หลังไม่มีรายการสต๊อกน้ำมัน และกลุ่มโรงแรมโต 11.9% ส่วนกลุ่มที่กำไรต่อหุ้นติดลบมากสุด คือกลุ่มเดินเรือ -51.4% กลุ่มปิโตรเคมี -34.2% และกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ -10.8%

ส่วนปัจจัยลบที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ให้น้ำหนักมากสุด คือปัญหาว่างงานที่เพิ่มขึ้น, ปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพิ่มขึ้น, เศรษฐกิจในประเทศโตลดลง, สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่กระทบประเทศคู่ค้าของไทย, ความไม่แน่นอนทางการเมือง และปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นที่เบาบาง พร้อมสนับสนุนรัฐลงทุนในโครงการสาธารณูปโภค เพื่อจ้างงานในระยะสั้นและ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะยาว

ส่วนมาตรการแจกเงิน 2,000 บาท กว่า 50% นักวิเคราะห์ไม่เห็นด้วย เพราะเป็น การช่วยเหลือที่ไม่ตรงจุด แต่ควรจะเป็นการเข้าไปอุ้มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาว่างงาน หรือกลุ่มธุรกิจที่ผลกระทบจริงๆ

สำหรับคำแนะนำลงทุนจะต้องใช้ความระมัดระวังในการทยอยลงทุน โดยเลือกหุ้นที่มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง การจ่ายปันผลสม่ำเสมอ และเป็นหุ้นที่ได้รับปัจจัยบวก จากมาตรการรัฐ ส่วนผู้ที่ติดหุ้นควรปรับพอร์ตและเลือกลงทุนในตลาดอนุพันธ์ มาช่วย หุ้นที่แนะนำได้แก่ แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC), บีอีซี เวิลด์ (BEC),ซีพี ออลล์ (CPALL) และธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)


Bear Market Rally

บล. ทิสโก้คาดหุ้นไทยช่วงนี้ไม่หลุด 410 จุดแน่ และอาจเกิดภาวะ Bear Market Rally ใน Q2/52

นายปรเมศวร์ ทองบัว ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยตลาดทุน บล. ทิสโก้ กล่าวในรายการก้าวทันตลาดทุนว่า หุ้นไทยในระยะนี้ยังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นได้ และแม้ว่าจะมีแรงเทขายออกมาก็ไม่น่าจะทำให้ดัชนีลดลงไปต่ำกว่า 410 จุดได้ เนื่องจากเศรษฐกิจในไตรมาส 2/52 ยังมีแนวโน้มส่งสัญญาณฟื้นตัวได้ จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะที่ดัชนีปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงภาวะตลาดหมี (Bear Market Rally) ได้

ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ออกมาเพิ่มเติมในขณะนี้ ก็น่าจะส่งผลดีต่อบรรยากาศในการลงทุนอยู่บ้าง แต่จากการที่รัฐบาลชุดต่าง ๆ ได้พูดถึงโครงการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์มานาน แต่ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ทำให้นักลงทุนอาจไม่คาดหวังกับตัวเลขนี้มากนัก จึงอาจไม่เป็นจุดเร่งให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนอย่างยั่งยืนด้วย

นายปรเมศวร์กล่าวอีกว่า ในช่วงเกิด Bear Market Rally ในไตรมาส 2/52 ก็น่าจะเลือกหุ้นที่สามารถปรับเพิ่มขึ้นได้มากกว่าตลาด (High Beta) เช่น กลุ่มธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากหนี้เสีย (NPL) และตัวเลขสินเชื่อยังไม่ย่ำแย่มากนัก แต่ราคาหุ้นกลุ่มนี้ได้ปรับลดลงไปมากแล้ว โดยเฉพาะธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ที่ราคาหุ้นได้ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ในช่วงที่ผ่านมา จากความกังวลด้านหนี้เสียของกลุ่มลูกค้า SMEs ที่อาจเพิ่มขึ้นได้มาก แต่การที่ KBANK ยังมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง และคาดว่า NPL จะเร่งตัวเพิ่มขึ้นชัดเจนในช่วงไตรมาส 3/52 จึงยังสามารถลงทุนหุ้น KBANK ได้ในระยะสั้น และยังแนะนำว่าเมื่อเกิด Bear Market Rally แล้ว นักลงทุนจะต้องขายทำกำไรออกมา เพราะมองว่าดัชนีจะเข้าสู่ช่วงขาลงอีกครั้งในไตรมาส 3/52

ทั้งนี้ บล. ทิสโก้ให้ราคาที่เหมาะสมของหุ้น KBANK ไว้ที่ 50 บาท ส่วนราคาปิดเมื่อวานนี้อยู่ที่ 42.50 บาท

บล.ฟาร์อีสท์ แนะ - ขาย

บล.ฟาร์อีสท์ แนะ - ขาย หากดัชนียืนเหนือ 428 จุด เหตุยังมีความเสี่ยงที่จะปรับลดลงอีก

นายจักรกริช เจริญเมธาชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า นักลงทุนที่ได้ซื้อหุ้นมาตั้งแต่ดัชนีที่ระดับ 400 จุด ควรขายออกไปก่อนหากดัชนีปรับเพิ่มขึ้นไปเหนือระดับ 428 จุด ส่วนผู้ที่ไม่มีหุ้นก็ยังสามารถเก็งกำไรระยะสั้นได้ และต้องพร้อมขายหุ้นออกไปเมื่อมีปัจจัยลบเข้ามาในตลาด เพราะเชื่อว่าหลังจากที่ตลาดหุ้นทั่วโลกได้ปรับเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องใน ช่วง 7 วันที่ผ่านมา ก็น่าจะทำให้ในขณะนี้หมดช่วงการปรับเพิ่มขึ้นในภาวะตลาดหมี (Bear Market Rally) แล้ว ซึ่งการเก็งกำไรในระยะนี้ ควรเลือกหุ้นที่มีปัจจัยสนับสนุน เช่น บมจ. แคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) (CCET) ที่ราคาซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไต้หวันและไทยยังมีส่วนต่างราคาอีกมาก จึงยังสามารถทำกำไรข้ามตลาดได้ (Arbitrage)

ส่วนหุ้นที่เหมาะกับการลงทุนระยะยาวอย่างบมจ. บ้านปู (BANPU) นั้น เนื่องจากมีนักลงทุนต่างชาติเจ้าลงทุนมาก และพร้อมเทขายออกมาทันทีที่สถานการณ์เปลี่ยนแปลง ทำให้ราคาหุ้นมีโอกาสปรับลดลงแรงกว่าหุ้นขนาดเล็กได้

สำหรับปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยที่เบาบางวานนี้ เชื่อว่าเกิดจากความกังวลของนักลงทุนที่มีต่อสถานการณ์เศรษฐกิจและตลาดหุ้น ในต่างประเทศ โดยนักลงทุนไม่มั่นใจว่ามาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐจะไม่สามารถเข้ามาช่วยภาคอุตสาหกรรมหรือภาคการผลิตได้ทัน ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ยังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

นายจักรกริชกล่าวอีกว่า นักลงทุนยังต้องจับตาปัจจัยการเมืองในประเทศด้วย ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนในประเทศอีกได้


ดัชนีหุ้นไทยวานนี้ ปิดที่ 426.20 จุด เพิ่มขึ้น 3.88 จุด หรือ 0.92% ด้วยปริมาณการซื้อขายที่ 5,664.09 ล้านบาท

- นักลงทุนสถาบันในประเทศ ขายสุทธิ 63.90 ล้านบาท
- นักลงทุนต่างชาติ ซื้อสุทธิ 289.67 ล้านบาท
- นักลงทุนรายย่อย ขายสุทธิ 225.76 ล้านบาท


- Money Channel โดยวาสิฏฐี อนุกูล Email: wasittee@set.or.th

ระวังอ่อนตัว!!

ระวังอ่อนตัว!!
[19 มี.ค. 52 - 05:08]

ดัชนีหุ้นวันที่ 18 มี.ค.52 ปิดที่ 426.20 จุด เพิ่มขึ้น 3.88 จุด มีมูลค่าการซื้อขาย 5,664.09 ล้านบาท ต่างชาติซื้อสุทธิ 288.75 ล้านบาท

หุ้นที่มีการซื้อขายสูงสุด PTTEP ปิดที่ 95 บาท เพิ่มขึ้น 1 บาท, TOP ปิด 26.25 บาท บวก 0.75 บาท, KBANK ปิด 43.25 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาท, PTT ปิด 148 บาท เพิ่มขึ้น 1 บาท และ PTTAR ปิด 8.70 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง

ฝ่ายวิเคราะห์ บล.ซิกโก้ ชี้ว่า ตลาดตอบรับข่าวดีหลังตัวเลขเริ่มก่อสร้างบ้านเดือน ก.พ.52 ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึง 22.2% สู่ 583,000 ยูนิต ดีกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจอาจฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดจึงมี แรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้นใหญ่

ส่วนราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับขึ้นทำ New High ในรอบ 4 เดือนใกล้ 50 เหรียญสหรัฐฯ หนุนให้มีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นพลังงานช่วยหนุนดัชนียืนบวกได้ตลอดทั้งวัน

ขณะที่มองแนวโน้มตลาดระยะสั้นคาดว่า การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟดไม่น่าปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก แต่อาจมีนโยบายผ่อนคลายทางการเงินและอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ที่ต้องจับตาคือเฟดอาจมีมาตรการจัดการหนี้เสียสถาบันการเงินซึ่งจะเป็น ปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจและตลาดภาพรวม

แนะกลยุทธ์การลงทุน ให้ขายลดพอร์ต ด้านเทคนิคให้แนวรับไว้ที่ 423 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 430 จุด

ฝ่ายวิเคราะห์ บล.เคทีบีคาดว่า ดัชนียังไปตามทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าดัชนีมีโอกาสอ่อนตัวลงได้ต่อ จาก แรงขายทำกำไรในหุ้นกลุ่มต่างๆหลังราคาหุ้นปรับขึ้นพอสมควรแล้ว

แนะกลยุทธ์การลงทุนให้รอซื้อเมื่ออ่อนตัว โดยประเมินแนวรับไว้ที่ 415 จุด.


อินเด็กซ์ 51

AIG ยอมรับความผิดพลาด

ซีอีโอเอไอจี ยอมรับเกิดความผิดพลาดมากมายในการบริหารงาน



สหรัฐ 19 มี.ค.-ซีอีโอเอไอจียอมรับเกิดความผิดพลาดมากมายในการบริหารงานของบริษัท และว่าเป็นเรื่องน่ารังเกียจ ที่มีพนักงานได้รับโบนัส ซึ่งเป็นเงินจากภาษีของประชาชน


นายเอ็ดเวิร์ด เอ็ม ลิดดีย์ ซีอีโอ ของอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป อิงค์ หรือ เอไอจี ได้เข้าชี้แจงและตอบคำถามจากคณะอนุกรรมการด้านการเงินสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ นายลิดลีย์ ยอมรับว่า เกิดความผิดพลาดอย่างมหันต์ในเอไอจี ในระดับที่ทุกคนไม่สามารถจินตนาการว่าจะเกิดขึ้นได้ และว่าสิ่งที่เกิดขึ้นภายในเอไอจีนั้นซับซ้อน ยากที่จะจัดการ รวมทั้งยากที่จะเข้าใจได้โดยง่าย พร้อมกับยอมรับว่า เป็นเรื่องน่ารังเกียจที่มีการจ่ายโบนัสกว่า 200 ล้านดอลลาร์ หรือ 7,000 ล้านบาท ให้แก่ซีอีโอและพนักงานจำนวนมาก

ซึ่งหากเขาทำได้ เขาจะไม่ลงนามในสัญญาให้มีการจ่ายโบนัสอย่างแน่นอน และยืนยันว่า เขาไม่ได้รับโบนัสจำนวนดังกล่าวแต่อย่างใด และเรียกร้องไปยังผู้บริหารหลายคนที่ได้รับเงินโบนัสไปแล้วให้มีจิตสำนึก และนำเงินมาคืนแก่รัฐบาลอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของที่ได้รับไปแล้ว

ชื่อ:  AIG (4).gif ครั้ง: 443 ขนาด:  17.2 กิโลไบต์


ที่มา:สำนักข่าวไทย

FED คงดอกเบี้ย 0-0.25%

FED มีมติคงดอกเบี้ย 0-0.25% ประกาศซื้อพันธบัตร $3 แสนล้านหวังคลายวิกฤติสินเชื่อ

Fed Holds Interest Rate At Near Zero Levels

NEW YORK - MARCH 18: Traders work on the floor during afternoon trading at the New York Stock Exchange
March 18, 2009 in New York City. With less than 2 hours left in the trading session, the Dow Jones industrial average (INDU) jumped 1.5% following news that the Federal Reserve would buy up to $300 billion in long-term Treasury's over the next six months to help boost the liquidity in the credit markets.

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed funds rate) ไว้เท่าเดิมที่ 0-0.25% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.ปีพ.ศ.2497 และคงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (discount rate) ที่ระดับ 0.50% และส่งสัญญาณว่าเฟดจะรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง พร้อมกับประกาศมาตรการใหม่ๆเพื่อยับยั้งภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ

ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยมาตรฐานคืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เฟดเรียกเก็บจากธนาคาร พาณิชย์ซึ่งกู้ยืมโดยตรงจากเฟด ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นคืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนที่ธนาคารพาณิชย์ เรียกเก็บจากการกู้ยืมระหว่างกัน

คณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟดได้ออกแถลงการณ์ภายหลังการประชุม ซึ่งมีใจความว่า "เฟดจะใช้มาตการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ครอบคลุมถึงการเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวของ รัฐบาลสหรัฐมูลค่า 3 แสนล้านดอลลาร์ในช่วง 6 เดือนข้างหน้า และเพิ่มการรับซื้อตราสารที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยรองรับ (MBS) อีก 7.50 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งจะทำให้มูลค่าการเข้าซื้อตราสารประเภทดังกล่าวของเฟดในปีนี้พุ่งขึ้น เป็น 1.25 ล้านล้านดอลลาร์"

"การดำเนินการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะคลี่คลายภาวะตึงตัวในตลาดสินเชื่อ เฟดยืนยันว่าจะใช้เครื่องมือทุกอย่างที่มีอยู่เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและรักษา เสถียรภาพด้านราคา นอกจากนี้ เฟดจะเข้าซื้อตราสารหนี้ที่ออกโดย หรือ รับประกันโดยสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้เพื่อการซื้อบ้านรายใหญ่ 2 แห่ง คือ แฟนนี เม และเฟรดดี แมค ในปีนี้ เป็นวงเงินสูงถึง 1 แสนล้านดอลลาร์" เฟดระบุ

"เฟดเชื่อว่าการดำเนินการเช่นนี้จะช่วยยับยั้งภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ อีกทั้งจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายผู้บริโภคและกระตุ้นอัตราการปล่อยกู้ให้กับ ภาคเอกชน นอกจากนี้ เฟดเชื่อว่ามาตรการครั้งใหม่จะช่วยให้สภาพคล่องในระบบไหลลื่นและจะเพิ่ม อัตราการจ้างงาน ซึ่งถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในอีกทางหนึ่ง" เฟดกล่าวในแถลงการณ์

เฟดคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะหดตัวประมาณ 0.5-1.3% ในปีนี้ มากกว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะหดตัวเพียง 0.2-1.1% โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวตลอดทั้งปี 2552 ซึ่งเป็นสถิติที่หดตัวทั้งปีเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี และคาดว่าอัตราว่างงานในสหรัฐจะพุ่งขึ้นสู่ระดับ 8.5-8.8% สูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 7.1-7.6%

นอกจากนี้ เฟดคาดการณ์ว่า ราคาบ้านในสหรัฐจะร่วงลงอีกในปีนี้ และยังไม่มีสัญญาณว่าจะฟื้นตัวขึ้นในเร็วๆนี้ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อบริษัทสร้างบ้านและภาพรวมในตลาด อสังหาริมทรัพย์ โดยเฟดคาดว่าอุตสาหกรรมก่อสร้างจะหดตัวไปจนถึงช่วงปลายปีนี้ สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงาน


อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช

สำนักข่าวอินโฟเควสท์

Template by - Abdul Munir | Blogging4