10 สิงหาคม 2552

คอลัมน์ เกาะติดตลาดหุ้น-เงิน

คอลัมน์ เกาะติดตลาดหุ้น-เงิน


- ตลาดหุ้นในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวสูงสุดในภูมิภาคเอเชีย จากแรงเก็งกำไรสินค้าโภคภัณฑ์หลังค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัว ดัชนีวันแรกปิดที่ 641.43 จุด เพิ่มขึ้น 17.43 จุด มูลค่าซื้อขาย 24,636.77 ล้านบาท แต่มีแรงเทขายทำกำไรกดตลาดปรับตัวลงต่อเนื่อง ท้ายสัปดาห์ดัชนีปิดที่ 643.34 จุด ลดลง 5.87 จุด มูลค่าซื้อขาย 18,421.08 ล้านบาท



- สัปดาห์นี้ บล.กิมเอ็ง ติดตามทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์ตลาดโลก และกำไรไตรมาส 2 ของบริษัทจดทะเบียน ตลาดมีแนวรับ 630-620 จุด แนวต้าน 650 จุด

- ส่วนค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ 34.01/02 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นในทิศทางเดียวกับภูมิภาค จากแรงเทขายดอลลาร์เพื่อลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง (Risk Appetite) ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าสุดที่ 33.96 ขณะที่ช่วง กลางสัปดาห์ ธปท.มีมาตรการผ่อนคลายเกณฑ์การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศท้ายสัปดาห์เงินบาทปิดที่ 33.94/96

- สัปดาห์นี้ธนาคารกสิกรไทยคาดว่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบ 33.90-34.10






ผ่านกฎหมายสกัดปั่นราคาน้ำมัน

มะกันผ่านกฎหมายสกัดปั่นราคาน้ำมัน
โทษปรับ1ล้านเหรียญ/วัน


เอเอฟพี รายงานว่า คณะกรรมาธิการการค้าของสหรัฐ (Federal Trade Commision-FTC) เพิ่งอนุมัติกฎระเบียบใหม่ในอุตสาหกรรมพลังงาน โดยห้ามไม่ให้ผู้เล่นในตลาดใช้ข้อมูลที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดในเรื่องราคาน้ำมัน



โดยแถลงการณ์ของเอฟทีซี ระบุว่า กฎใหม่นี้จะห้ามการฉ้อโกง หรือหลอกลวงในตลาดพลังงาน และการใช้ข้อมูลเพื่อบิดเบือนตลาด

หากใครฝ่าฝืนกฎระเบียบดังกล่าวจะต้องถูกปรับสูงถึง 1 ล้านดอลลาร์ต่อวัน ซึ่งกฎใหม่นี้จะเริ่มมีผลในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2552

"จอน ไลโบวิตซ์" ประธานเอฟทีซี ระบุในแถลงการณ์ว่า กฎระเบียบใหม่นี้จะให้อำนาจเอฟทีซีในการจัดการกับพฤติกรรมฉ้อโกงและปั่นราคาให้สูงขึ้น

กฎระเบียบใหม่นี้ห้ามการกระทำที่เข้าข่ายความผิด อาทิ การประกาศแผนที่เกี่ยวกับราคา หรือการตัดสินใจเกี่ยวกับการผลิตที่เป็นเท็จ รวมถึงตัวเลขสถิติ หรือข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง


ปฏิทินเศรษฐกิจสหรัฐฯ

ปฏิทินเศรษฐกิจสหรัฐฯในสัปดาห์นี้

ยังเหลือให้ลุ้นต่อกับผลประกอบการไตรมาสที่2รายวันกับหุ้นบางตัว

ในขณะที่นักลงทุนยังติดตามข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้...

วันจันทร์
ที่น่าจะเป็นวันที่เงียบสุดของสัปดาห์ในช่วงเริ่มต้นSummerอันสุขสันต์

วันอังคาร ประกาศยอดการผลิตและต้นทุน

วันพุธ
กระทรวงพลังงานจะปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ และยังมียอดนำเข้า-ส่งออก
และลุ้นสรุปข้อมูลจากFED

วันพฤหัสบดี
กระทรวงแรงงานจะเปิดเผยยอดชาวอเมริกันที่ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
รวมทั้งลุ้นตัวเลขการค้าปลีก

วันศุกร์ รอตัวเลขค้าปลีกและความมั่นใจผุ้บริโภคและรายงานภาคการผลิต

ทิศทางหุ้น 10/08/52

ทิศทางหุ้น 10/08/52

ภาวะการซื้อขายหุ้น

ในสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนีหุ้นไทยปิดที่ 644.20 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.24% จาก 624.00 จุด ในสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสัปดาห์เพิ่มขึ้น 26.29% จาก 93,768.28 ล้านบาทในสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ 118,416.58 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่เพิ่มขึ้นจาก 18,753.66 ล้านบาทในสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 23,683.31 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิที่ 6,771.94 ล้านบาท และ 23.96 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิที่ 6,795.90 ล้านบาท ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 186.81 จุด ขยับลง 0.27% จาก 187.31 จุดในสัปดาห์ก่อน


สำหรับแนวโน้มในสัปดาห์นี้ (10-14 ส.ค. 52) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทยและบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่าดัชนีอาจปรับฐานต่อจากท้ายสัปดาห์ก่อน เนื่องจากตลาดรับรู้ข่าวดีไปมากพอสมควรแล้ว ขณะที่การประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/2552 ของบริษัทจดทะเบียนก็ใกล้จะสิ้นสุดลง โดยปัจจัยที่ต้องจับตา ได้แก่ การรายงานตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ค. ในวันที่ 13 ส.ค. โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รวมทั้งเหตุการณ์ทางการเมือง

ส่วนปัจจัยในต่างประเทศที่สำคัญ คงจะต้องติดตามผลการประชุมนโยบายอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯในวันที่ 11-12 ส.ค. การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมัน

ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดว่าดัชนีจะมีแนวรับที่ 641 และ 623 จุด ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 650 และ 660 จุด




ภาวะตลาดเงินและตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นยังค่อนข้างนิ่ง โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมามีการทยอยไหลกลับเข้ามาของสภาพคล่องหลังจากการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือน ในขณะที่มีการตัดจ่ายเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายผ่านระบบธนาคารในช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์ประเภทกู้ยืมข้ามคืน (Overnight) หนาแน่นตลอดทั้งสัปดาห์ที่ระดับ 1.15% เช่นเดียวกับสัปดาห์ก่อนหน้า


เงินบาทในประเทศ (Onshore) แข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ แม้มีแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่าเป็นการเข้าดูแลเสถียรภาพเงินบาทของ ธปท. เงินบาทปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ เช่นเดียวกับสกุลเงินอื่นๆในภูมิภาค โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการเสี่ยงของนักลงทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นตามความหวังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม เงินบาทลดช่วงบวกลงเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ โดยตลาดมองว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ เพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาทจาก ธปท. สำหรับในวันศุกร์เงินบาทปรับตัวอยู่ที่ระดับ 33.97 บาทต่อดอลลาร์.

บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด




Template by - Abdul Munir | Blogging4