19 มีนาคม 2552

หุ้นแบงก์ใหญ่

เซียนแนะซื้อ"หุ้นแบงก์ใหญ่" ฉวยจังหวะช่วงราคาอ่อนตัว


นักวิเคราะห์เชื่อกลุ่มแบงก์กำไรยังดี "ภัทร" ระบุผลดำเนินงานด้อยกว่าปีก่อน แต่ไม่มีขาดทุนซีดีโอ เตือนควรรอดูสถานการณ์สินเชื่อ NPL ให้ชัด คาดราคาหุ้นยังลงได้อีก แนะลงทุนหุ้นแบงก์ใหญ่สำรองครบทนทานภาวะวิกฤต เชียร์ซื้อหุ้น BBL-KBANK-SCB ช่วงราคาอ่อนตัว

นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ผลกระทบจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ยังไม่ค่อยรุนแรงจนกระทบต่อ อัตราการทำกำไรของกลุ่มธนาคาร รวมทั้ง แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่คาดว่าจะปรับตัวลงไปอีก ทำให้ธนาคารพาณิชย ์น่าจะสามารถบริหารอัตรากำไรได้ดีขึ้น และทำให้อัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS) และอัตราการเติบโตของเงินปันผล (DPS) ปรับตัวดีขึ้นด้วย

โดยจากตัวเลขการสำรวจนักวิเคราะห์ล่าสุดก็ยังยกให้กลุ่มธนาคารมี EPS จากปี 2551 อยู่ที่ 2.6% ซึ่งถือว่าต่ำกว่ากลุ่มวัสดุก่อสร้าง พลังงาน โรงแรม และอาหาร แต่มี DPS เป็นบวกเพียงแค่กลุ่มเดียว ที่ 3.3% สะท้อนให้เห็นว่ากระแสเงินสดที่จะ นำมาจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นยังไม่ถูกกระทบเหมือนกลุ่มอื่นที่ต้องสงวน สภาพคล่องไว้ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย





นายธีระพงษ์ วชิรพงศ์ รองกรรมการ ผู้จัดการและรองหัวหน้ากลุ่มวิจัยหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร กล่าวว่า กำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารจะไม่ดีเท่าปีที่ผ่านมาแต่ก็ไม่ได้ลดลงมาก เพราะปีนี้ไม่มีผลขาดทุนจากการลงทุนในตราสารหนี้ ต่างประเทศ หากมีจุดประสงค์เพื่อซื้อเพื่อขาย (trade) หุ้นกลุ่มธนาคารช่วงนี้ถือว่าไม่ใช่ช่วงที่เหมาะสมเพราะตลาดยังมีความผันผวน สูง

"ต้องใช้เวลาสักระยะ เพราะตอนนี้คำพูดทั้งของนายแบงก์และนักวิเคราะห์แทบไม่มีน้ำหนัก แม้แต่ธนาคารแห่งประเทศไทย จะออกมารับรองว่าคุณภาพสินทรัพย์แบงก์ดี แต่มันมีปัจจัยจากต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย"

นายธีระพงษ์กล่าวว่า การที่ตลาดมีความผันผวนทำให้การประเมินมูลค่าหุ้นที่ต้องขึ้นอยู่กับอนาคต สามารถทำได้ลำบาก ภายใต้สถานการณ์แบบนี้ราคาหุ้นจึงมีโอกาสทั้งปรับขึ้นและลง

อย่างไรก็ตาม ถ้าต้องการลงทุนระยะยาว ราคาหุ้นกลุ่มธนาคารถือว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสม และเมื่อประเมินผลตอบแทนจากการลงทุนถือว่าดีกว่าการลงทุนในพันธบัตรอายุ 10 ปี ที่เฉลี่ยอยู่ที่ 3-4% ขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารกำไรต่อหุ้น 13-14% กำไรจากเงินปันผล 5-10% ซึ่งตอนนี้ บล.ภัทร ให้น้ำหนักกลุ่มธนาคารมากกว่าตลาด (over weigh)

นางสาวสุกัญญา อุดรวรนันท์ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กิมเอ็ง กล่าวว่า จากสัญญาณในช่วง 2 เดือนแรกปีนี้ ทำให้คาดว่าในไตรมาสแรกสินเชื่อและส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์จะ ลดลง และยังต้องติดตามสถานการณ์ NPL อีก จึงให้น้ำหนักกลุ่มธนาคารเท่ากับตลาด

แต่ถ้าลงทุนระยะยาวควรหาจังหวะซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวในหุ้นธนาคารขนาดใหญ่ เช่น ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) และธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)

ขณะที่ บล.นครหลวงไทยระบุว่า ข่าวในตลาดยังไม่นิ่ง นักลงทุนควรรอสักระยะ เพราะคาดว่าราคาหุ้นกลุ่มธนาคารยังมีโอกาสลดลงอีก โดยเฉพาะจากภาวะ NPL ที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงสิ้นไตรมาสที่ 1-2 นี้ แต่สำหรับหุ้นธนาคารขนาดใหญ่ที่ทนทานกับภาวะเศรษฐกิจ มีเงินทุนสำรองที่เพียงพอหาก NPL เพิ่ม สูงขึ้น อย่างเช่น หุ้น BBL, KBANK, SCB ควรหาจังหวะเข้าซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว

0 ความคิดเห็น:

Template by - Abdul Munir | Blogging4