23 มีนาคม 2552

กลยุทธ์การลงทุน (23/3/52)

กลยุทธ์การลงทุน (23/3/52) by ZMICO
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหนุน SET แกว่งตัวขึ้น

ภาวะ ตลาดวานนี้ SET ดีดตัวตั้งแต่เปิดตลาด ด้วยอานิสงส์หุ้นในกลุ่มพลังงาน หลังราคาน้ำมันดีดตัวกว่า 7% กลับมายืนเหนือ 50 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล แต่ยังไม่อาจผ่านแนวต้านบริเวณ 430 จุดไปได้ (จุดสูงสุด 431.92 จุด) เลยมีแรงขายทำกำไรในช่วงบ่ายหยุดสุดสัปดาห์ ทำให้ SET บวกเพียง 1.92 จุด ปิดที่ 429.64 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 8,090 ล้านบาท แต่พัฒนาการด้านบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ ทำให้ SET เพิ่มขึ้น 1.14%WoW

ภาวะตลาดวันนี้ SET ยังเคลื่อนไหวในลักษณะแกว่งตัวขึ้น จากแรงหนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ ทั้งในและต่างประเทศ แต่ยังอยู่ในกรอบจำกัด และการซื้อขายระหว่างวันอาจผันผวน จากความพยายามที่จะฝ่าแนวต้านบริเวณ 430 จุด (หากผ่านไปได้ แนวต้านถัดไป 434 และ 440 จุดตามลำดับ) หากมีแรงขายที่บริเวณดังกล่าว ให้รอจังหวะการอ่อนตัวซื้อเพื่อการเก็งกำไร โดยมีแนวรับบริเวณ 420 – 425 จุด การลงทุนยังให้เน้นหุ้นที่เกี่ยวเนื่องกับการบริโภคในประเทศ อาทิ กลุ่มธนาคาร (SCB, BBL, TCAP) กลุ่มค้าปลีก (CPALL) และกลุ่มสื่อสาร (ADVANC)

ปัจจัยหนุนตลาดสัปดาห์นี้

+ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ คาดว่าจะมีการเปิดเผยรายละเอียดการซื้อสินทรัพย์เสี่ยงจากบัญชีงบดุลของ สถาบันการเงิน และการพิจารณายกเลิกมาตรฐานบัญชี mark-to-market เป็นการชั่วคราว

+ เม็ดเงินเศรษฐกิจกระตุ้นเศรษฐกิจรอบแรก ผ่านโครงการ “เช็คช่วยชาติ” จะถึงมือผู้ได้รับสิทธิในวันที่ 26 มี.ค.

+ รัฐบาลเตรียมประกาศพระราชกฤษฎีกา ขยายเวลาการใช้มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ออกไปถึง 28 มี.ค. 53

+ คาดการณ์แรงซื้อจากนักลงทุนสถาบัน เพื่อหนุนราคาในช่วงก่อนปิดไตรมาส

+/- ผ่านพ้นไปด้วยดี สำหรับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกฯ และรัฐมนตรีรวม 5 ท่าน ด้วยคะแนนเสียงไว้วางใจ 246 เสียง (ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาล หักประธานสภาฯ และ ส.ส. ที่เป็นรัฐมนตรีมีทั้งสิ้น 238 เสียง) ยกเว้นคุณกษิต ภิรมย์ รมว. การต่างประเทศ ที่ได้คะแนนเพียงแค่ 237 เสียง ในขณะที่ผลการสำรวจของ ABAC Poll ความนิยมต่อนายกฯ อภิสิทธิ์อยู่ที่ระดับ 50.6% เท่านั้น สัปดาห์นี้ต้องจับตาการเคลื่อนไหวใหญ่ของกลุ่ม นปช. ในวันที่ 26 มี.ค. เราไม่คาดว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

เราเพิ่งปรับลด อัตราการเติบโตเศรษฐกิจในปี 52 ลงเป็น -3.5% หลังเศรษฐกิจโลกชะลอตัวเร็วและแรงกว่าคาด โดยคาดว่าจะเห็นการฟื้นตัวของวัฏจักรเศรษฐกิจใน 4Q51 ดังนั้น เวลาที่เหมาะสมสำหรับการสะสมหุ้นเพื่อการลงทุน จึงน่าจะเป็นช่วง 3Q52

ประเด็นสำคัญ

ตลาด สหรัฐร่วงต่อ หลังแผนเฟดไม่เป็นไปตามคาด ดัชนีดาวโจนส์ลดลง 122.42 จุด ปิดที่ 7,278.38 จุด ยังมีแรงขายหุ้นในกลุ่มการเงินต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน หลังมีการยื่นเรื่องของรับเงินกู้ในโครงการ TALF ไม่ถึง 2.5% ของวงเงิน 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐที่เฟดประกาศไว้

ราคาน้ำมันร่วง จากแรงขายทำกำไร ราคาน้ำมันในตลาดล่วงหน้า NYMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ลดลง 0.55 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ปิดที่ 51.06 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล โดยผันผวนตลอดวัน เนื่องจากเป็นวันครบกำหนดส่งมอบ และเทรดเดอร์ไม่มั่นใจว่า ราคาน้ำมันดิบจะสามารถไต่ขึ้นได้ในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย 3.47 ดอลลาร์สหรัฐ ปิดที่ 51.61 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ขณะที่ราคาทองคำก็เพิ่มขึ้น 18 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ปิดที่ 958.60 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์

รูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันยังเป็นไปตาม คาดการณ์ของเรา โดยราคาน้ำมันน่าจะเห็นจุดต่ำสุดใน 1Q52 หลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเริ่มมีผล และจะค่อยๆ ปรับขึ้นในช่วงเวลาที่เหลือของปี ดังนั้น สมมติฐานราคาน้ำมันของเราที่ 55 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรลในปี 52 (มากกว่าคาดการณ์ตลาด 10%) จึงยังมีความเป็นไปได้ ดังนั้น เราจึงแนะนำให้ซื้อเก็งกำไร PTTEP, TOP, BCP และ SGP ด้วยมูลค่าพื้นฐาน 119 บาท, 27 บาท, 10.40 บาท และ 6.6 บาท ตามลำดับ





--
PROPERTY - อสังหาริมทรัพย์: ต่ออายุมาตรการลดภาษีกระตุ้นอสังหาฯ อีก 1 ปี มีผล 29 มี.ค. 52 - 28 มี.ค. 53
PB - PB: คาดรายได้ปี 52 โตแค่ 10% จากปีก่อน

SETมีโอกาสทะลุ 434

SETมีโอกาสทะลุ434
วันที่ 23 มีนาคม 2552 05:00
โดย : บล.อยุธยา

บล.อยุธยา คาดระยะสั้นดัชนีหุ้นมีโอกาสทะลุ 434 จะยืนยันขึ้น เป้าหมาย 452 จุด และมีจุดตัดขาดทุนที่ 420 จุด

SET ปรับสูงขึ้นทดสอบเป้า 430 จุดแล้ว...อาจอ่อนตัวระยะสั้น

SET ปรับสูงขึ้นไปที่เป้าหมายการ REBOUND แรกที่เราให้ไว้บริเวณ 430 จุด ในสัปดาห์ที่ผ่านมา และเริ่มมีแรงขายทำกำไรออกมาบ้าง ปิดตลาดที่ 429.64 จุด

ทั้งนี้แม้ว่าตัวเลขการส่งออกเดือน ก.พ.จะหดตัวลงเพียง 11.3% YOY ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวเมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.ที่มูลค่าการส่งออกหดตัวลงถึง 26.5% YOY แต่ถ้าพิจารณาในรายละเอียดแล้วจะเห็นว่า ตัวเลขการส่งออกที่หดตัวลดลงเป็นสาเหตุมาจากการส่งออกทองคำที่เพิ่มขึ้นถึง 1100% YOY เป็น US$1.8 พันล้าน ซึ่งถ้าเรานำมูลค่าการส่งออกทองคำออกจากการคำนวณจะเห็นว่ามูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ.ยังหดตัวมากถึง 24.5% ทีเดียว

ตัวเลขการส่งออกที่หดตัวลงต่อเนื่อง ทำให้เราคาดว่าจะเห็นตัวเลขดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม อัตราการใช้กำลังการผลิต ที่ตกต่ำต่อเนื่อง และอัตราการจ้างงานมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นในช่วง 1H09 นี้

ขณะที่ล่าสุด IMF ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจโลกเหลือ -0.6% จากเดิมในเดือน ม.ค.ที่คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว +0.5%....อย่างไรก็ตามแม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะยังแสดงให้เห็นถึงการ ชะลอตัวต่อเนื่อง และอาจเห็นแรงขายทำกำไรบ้างที่เป้าหมายการ REBOUND แรกบริเวณ 430 จุด แต่เราคงมองเป้าหมายการปรับสูงขึ้นของ SET ในระยะกลางที่บริเวณ 480 จุด ต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจาก

1. ตลาดหุ้นทั่วโลกมี SENTIMENT ที่ดีขึ้น เนื่องจาก ผู้บริหารสถาบันการเงินขนาดใหญ่อย่าง CITIGROUP, JP MORGAN, BANK OF AMERICA และ STANDARD CHARTERED ให้ความเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน (OPERATING) ในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. ที่ฟื้นตัว ขณะที่ประธานเฟด คาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะจบลงภายในปี 2009 นี้ นอกจากนี้ถ้าพิจารณาจากการประมาณการเศรษฐกิจของ IMF แม้คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะหดตัว 0.6% ในปีนี้ แต่เศรษฐกิจจะกลับมาขยายตัวอีกครั้ง 2.3% ในปีหน้า

2. ระดับ DOWNSIDE RISK ของ SET ไม่มากนัก ทำให้เรามองว่ามีนักลงทุนบางส่วนเริ่มกลับเข้ามาสะสมหุ้นบ้าง โดยเรามองระดับ DOWNSIDE RISK ที่บริเวณ 380 - 400 จุด หรือที่ระดับ P/BV 1 เท่า เท่านั้น ขณะที่มี UPSIDE GAIN ที่ระดับ 520 จุด (อิง BOTTOM UP APPROACH) นอกจากนี้เรายังมองถึงผลตอบแทนจากเงินปันผลที่สูงถึงระดับ 7.0% ในปัจจุบันที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปีที่ 1.25% มาก

3. ค่าเงินดอลลาร์ฯ ที่อ่อนค่าลง เป็นปัจจัยบวกต่อค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสนับสนุนการปรับสูงขึ้นของ SET และหุ้นกลุ่มพลังงาน

สำหรับกลุ่มหุ้นแนะนำ เล่นรอบการ REBOUND เราคงเน้นการลงทุนในกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน ที่เราคาดว่าจะเป็นกลุ่มหุ้นนำตลาด อย่าง PTT PTTEP TOP PTTAR BANPU BBL KBANK SCB KTB SCC LH QH MINT และ BEC


วิเคราะห์ทางเทคนิค

ตลาดมีแนวโน้มจบขาลงระยะกลาง จะฟื้นตัวขึ้นไม่เกิน 488 จุด

กราฟดัชนี SET ย้อนหลัง 2 ปี มีรูปแบบ HEAD& SHOULDERS เป็นสัญญาณกลับตัวลงของแนวโน้มระยะกลาง เมื่อเดือนพฤษภาคม 2551 ดัชนีหลุดต่ำกว่า 730 จุด ตลาดเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาลงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งดัชนีลงไปทำจุดต่ำสุดที่ 380 จุดในเดือนพฤศจิกายน 2551 และฟื้นตัวขึ้นบ้างมาอยู่ที่ 488 จุด ชนเส้นแนวโน้มขาลงระยะกลางเมื่อต้นปี 2552 ทำให้เรากำหนดให้กรอบแนวโน้มขาลงดังกล่าวเป็นแนวต้านสำคัญ

ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา สังเกตพบว่าดัชนี SET เริ่มขึ้นมาอยู่เหนือเส้นแนวโน้มขาลงระยะกลาง และจากจุดต่ำสุดเมื่อสองสัปดาห์ก่อนที่บริเวณ 408 จุด ทำให้เราสร้างเส้นแนวโน้มขาขึ้นได้เป็นครั้งแรก ซึ่งจะยืนยันได้เมื่อดัชนีสามารถทะลุขึ้นมาปิดเหนือ 435 จุดได้สำเร็จ และคาดว่าดัชนี SET จะเคลื่อนไหวแบบ SIDEWAYS รูปแบบสามเหลี่ยมขาขึ้นในระยะ 3 เดือนข้างหน้า มีเป้าหมายขึ้นไปทดสอบแนวต้าน 488 จุดอีกครั้ง

เครื่องมือทางเทคนิคในกราฟรายสัปดาห์ เป็นการยืนยันว่าปัจจุบันตลาดยังคงเคลื่อนไหวไร้ทิศทาง เมื่อใช้เครื่องมือ DIRECTIONAL INDICATORS จากการอ่านค่า DI+ เท่ากับ 18.88 จุด แนวโน้มฟื้นตัว, DI- เท่ากับ 35.20 จุด แนวโน้มอ่อนตัว และ ADX เท่ากับ 38.87 จุด ทิศทางลง วิเคราะห์ได้ว่า ตลาดมีความเป็นไปได้ที่จะจบแนวโน้มลง และมีความแข็งแกร่งมากขึ้น
โดยคาดว่า สัปดาห์นี้จะมีความชัดเจนของการฟื้นตัวของตลาดในแนวโน้มระยะสั้น
อย่างไรก็ตาม การขึ้นของตลาดยังไม่มีความรุนแรงมากพอที่จะทำให้เปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวได้

ระยะสั้นมีโอกาสทะลุ 434 จะยืนยันขึ้น เป้าหมาย 452 จุด และมีจุดตัดขาดทุนที่ 420 จุด
หลังจากที่สัปดาห์ที่แล้ว ดัชนี SET เปิดช่องว่างขึ้นเหนือ 420 จุด และดัชนีขึ้นต่อเนื่องเข้าใกล้เส้นแนวโน้มขาลงระยะสั้นบริเวณ 434 จุดเป็นแนวต้านสำคัญในสัปดาห์นี้ ถ้าทะลุได้จะยืนยันการเกิดเส้นแนวโน้มขาขึ้นเส้นใหม่ที่ลากจากจุดต่ำสุด 380 จุดมายัง 408 จุด และแนวโน้มระยะกลางเป็นรูปแบบสามเหลี่ยมขาขึ้น


ในขณะที่การปรับตัวลงไม่ต่ำกว่าแนวรับ 420 จุด จะไม่ใช่สัญญาณลบที่รุนแรงนัก และยังคาดหวังการฟื้นตัวขึ้นไปทะลุ 434 จุดได้อีกครั้ง มีแนวต้านถัดไปที่ 452 จุด และเป้าหมายสูงสุดคือ 488 จุด

ดัชนีหุ้นไทยมีลุ้น 500 จุด

บล. ทิสโก้ชี้ดัชนีหุ้นไทยมีลุ้นแตะ 500 จุด
แนะลงทุน HMPRO เพื่อรับปันผล หลังยอดขายยังแกร่ง

นายชัยพัชร ธนวัฒโน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยตลาดทุน บล. ทิสโก้ กล่าวในรายการก้าวทันตลาดทุน ว่า ดัชนีหุ้นไทยในวันนี้ น่าจะได้รับปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มพลังงาน และเนื่องจากดัชนีในไตรมาส 2/52 ยังมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นได้ (Bear Market Rally) ทำให้มีการซื้อขายในตลาดเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้หุ้นไทยมีแนวโน้มขึ้นไปแตะ 500 จุด แต่ก็จะเกิดขึ้นในช่วงสั้น ๆ เพียง 1 ไตรมาสเท่านั้น และการที่นักลงทุนต่างชาติยังไม่ได้เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากนัก จึงยังไม่มีแรงขายออกมา

ส่วนการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) มีแผนจะซื้อพันธบัตรระยะยาว ก็น่าจะทำให้สภาพคล่องในระบบการเงินสหรัฐฯดีขึ้น และจะกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงด้วย ซึ่งจะเป็นผลดีต่อตลาดหุ้นไทย เนื่องจากจะมีการโยกเงินเข้าไปในตลาดที่มีค่าเงินแข็งค่าเมื่อเทียบกับค่า เงินดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลก็ไม่น่าจะมีผลต่อหุ้นไทยมากนัก

บล. ทิสโก้แนะนำให้ลงทุนหุ้นบมจ. โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ (HMPRO) โดยมองว่าเป็นหุ้นที่จะได้รับผลดีจากการกระตุ้นการบริโภคในประเทศ และยอดขายในไตรมาส 1/52 ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากจากการจัดงาน โฮมโปร เอ็กซ์โปร ส่วนการที่มีลูกค้าเป็นกลุ่มที่มีบ้านอยู่แล้วเป็นสัดส่วนถึง 70% ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นได้แม้ว่าเศรษฐกิจและยอดขายบ้านใหม่จะไม่ดีนัก เพราะเชื่อว่า จะต้องมีการซ่อมแซมอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ HMPRO ยังมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง เนื่องจากมีอัตราหนี้สินสุทธิต่อทุนที่ 0.4 เท่า แม้ว่าจะมีการขยายสาขาใหม่ 3-4 แห่งต่อปี โดยกำไรสุทธิของ HMPRO ปี 2552 อาจปรับลดลงเล็กน้อยจากภาวะเศรษฐกิจ และจากฐานกำไรที่สูงมากในปี 2551 และแม้ว่าราคาหุ้น HMPRO ในขณะนี้ได้ปรับเพิ่มขึ้นมาสะท้อนเงินปันผลที่ 0.35 บาทต่อหุ้น โดยจะขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันที่ 16 เมษายน 2552 แต่ก็เชื่อว่าราคาหุ้นจะไม่ปรับลดลงไปมากหากขึ้นเครื่องหมาย XD เพราะยอดขายและกำไรยังมีแนวโน้มที่ดี

บล. ทิสโก้ให้ราคาที่เหมาะสมตามปัจจัยพื้นฐานของหุ้น HMPRO ไว้ที่ 4.30 บาท





เกาะติดหุ้นร้อน

เกาะติดหุ้นร้อน


- หุ้นร้อนสัปดาห์ที่ผ่านมา หุ้นอินเตอร์ แนชั่นเนิล เอนจีเนียริง (IEC) ทำราคา หวือหวาเก็งกำไรข่าวลดทุนแจกวอร์แรนต์ จาก 0.39 บาท ขึ้นมาอยู่ที่ 0.80 บาท เพิ่มขึ้น 105.12% ในที่สุดคณะกรรมการก็มีมติลดทุนจดทะเบียนจาก 2,000 ล้านบาท เหลือ 1,814 ล้านบาท และงดจ่ายปันผล แต่ปลอบใจผู้ถือหุ้นด้วยการแตกพาร์ จาก 1 บาท เป็น 0.10 บาท และออกหุ้นเพิ่มทุน 3,628 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 9,071 ล้านหุ้น ในอัตรา 2 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ราคา 0.05 บาท วอร์แรนต์ 9,071 ล้านหน่วย ในอัตรา 2 หุ้นเดิมต่อ 1 วอร์แรนต์





- ยิ่งใกล้วันประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซีมิโก้ (ZMICO) ราคาก็ปรับขึ้นเอาๆ จาก 1.32 บาท อยู่ที่ 1.80 บาท โดยวันที่ 20 มี.ค.นี้ จะมีการโหวตครั้งที่ 2 ในเรื่องการโยนสินทรัพย์เงินสดมูลค่า 500 ล้านบาทจาก บล.กรุงไทย มาให้ บล.ซีมิโก้ หลังควบรวมกิจการระหว่างกันเรียบร้อย ตั้งแต่ปลายปี" 51 ซึ่งผู้บริหาร ZMICO ก็ยอมรับว่าเร่งตุนใบมอบฉันทะของผู้ถือหุ้นไว้ในมือ หวังจะโหวตให้ผ่านรอบนี้ให้ได้ หลังครั้งก่อนหน้า โหวตเสียงตกไป

- ข้ามหน้าข้ามตาหุ้นเหล็กในกลุ่ม ทั้งที่ความต้องการใช้เหล็กในตลาดโลกหดตัวลง แต่ หุ้นเพิ่มสินสตีลเวิคส์ (PERM) กลับพุ่งพรวด จากราคา 1.04 บาท มาอยู่ที่ 1.58 บาท เพราะมีข่าวรายใหญ่ดอดเก็บหุ้นจนขึ้นมาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และขอนั่ง กรรมการ 2 คน และกรรมการตรวจสอบด้วย แต่ผู้บริหาร PERM มั่นใจว่าจะสามารถครองความเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุดได้ และจะมีการโหวตเสียงเลือกกรรมการ ซึ่งจะต้องเกินกึ่งหนึ่ง หรือ 50% จึงเป็นหน้าที่ของผู้ถือหุ้นที่จะเลือกกรรมการ

- หุ้นน้ำตาลขอนแก่น (KSL) ราคาหุ้น วิ่งขึ้นจาก 6 บาท อยู่ที่ 6.7 บาท หลังโชว์ไตรมาส 1/ 52 กำไรเติบโต 138% จากงวดเดียวกันปีก่อน เนื่องจากวัตถุดิบเก่ามีต้นทุนต่ำ ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นขึ้นมาที่ 33.8% ด้าน บล.นครหลวงไทย มีมุมมองเชิงบวก หลังราคาน้ำตาลในตลาดโลกมีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูง ประกอบกับประเทศลาวและกัมพูชามีการลงทุนสร้างโรงงานน้ำตาลเพื่อขายให้กลุ่ม ประเทศยุโรป ซึ่งจะกำหนดราคาขายที่สูงกว่า จึงแนะนำ "ซื้อ" โดยให้ราคาเหมาะสม 8.20 บาท

เกาะติดหุ้นร้อน

เกาะติดหุ้นร้อน


- หุ้นร้อนสัปดาห์ที่ผ่านมา หุ้นอินเตอร์ แนชั่นเนิล เอนจีเนียริง (IEC) ทำราคา หวือหวาเก็งกำไรข่าวลดทุนแจกวอร์แรนต์ จาก 0.39 บาท ขึ้นมาอยู่ที่ 0.80 บาท เพิ่มขึ้น 105.12% ในที่สุดคณะกรรมการก็มีมติลดทุนจดทะเบียนจาก 2,000 ล้านบาท เหลือ 1,814 ล้านบาท และงดจ่ายปันผล แต่ปลอบใจผู้ถือหุ้นด้วยการแตกพาร์ จาก 1 บาท เป็น 0.10 บาท และออกหุ้นเพิ่มทุน 3,628 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 9,071 ล้านหุ้น ในอัตรา 2 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ราคา 0.05 บาท วอร์แรนต์ 9,071 ล้านหน่วย ในอัตรา 2 หุ้นเดิมต่อ 1 วอร์แรนต์





- ยิ่งใกล้วันประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซีมิโก้ (ZMICO) ราคาก็ปรับขึ้นเอาๆ จาก 1.32 บาท อยู่ที่ 1.80 บาท โดยวันที่ 20 มี.ค.นี้ จะมีการโหวตครั้งที่ 2 ในเรื่องการโยนสินทรัพย์เงินสดมูลค่า 500 ล้านบาทจาก บล.กรุงไทย มาให้ บล.ซีมิโก้ หลังควบรวมกิจการระหว่างกันเรียบร้อย ตั้งแต่ปลายปี" 51 ซึ่งผู้บริหาร ZMICO ก็ยอมรับว่าเร่งตุนใบมอบฉันทะของผู้ถือหุ้นไว้ในมือ หวังจะโหวตให้ผ่านรอบนี้ให้ได้ หลังครั้งก่อนหน้า โหวตเสียงตกไป

- ข้ามหน้าข้ามตาหุ้นเหล็กในกลุ่ม ทั้งที่ความต้องการใช้เหล็กในตลาดโลกหดตัวลง แต่ หุ้นเพิ่มสินสตีลเวิคส์ (PERM) กลับพุ่งพรวด จากราคา 1.04 บาท มาอยู่ที่ 1.58 บาท เพราะมีข่าวรายใหญ่ดอดเก็บหุ้นจนขึ้นมาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และขอนั่ง กรรมการ 2 คน และกรรมการตรวจสอบด้วย แต่ผู้บริหาร PERM มั่นใจว่าจะสามารถครองความเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุดได้ และจะมีการโหวตเสียงเลือกกรรมการ ซึ่งจะต้องเกินกึ่งหนึ่ง หรือ 50% จึงเป็นหน้าที่ของผู้ถือหุ้นที่จะเลือกกรรมการ

- หุ้นน้ำตาลขอนแก่น (KSL) ราคาหุ้น วิ่งขึ้นจาก 6 บาท อยู่ที่ 6.7 บาท หลังโชว์ไตรมาส 1/ 52 กำไรเติบโต 138% จากงวดเดียวกันปีก่อน เนื่องจากวัตถุดิบเก่ามีต้นทุนต่ำ ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นขึ้นมาที่ 33.8% ด้าน บล.นครหลวงไทย มีมุมมองเชิงบวก หลังราคาน้ำตาลในตลาดโลกมีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูง ประกอบกับประเทศลาวและกัมพูชามีการลงทุนสร้างโรงงานน้ำตาลเพื่อขายให้กลุ่ม ประเทศยุโรป ซึ่งจะกำหนดราคาขายที่สูงกว่า จึงแนะนำ "ซื้อ" โดยให้ราคาเหมาะสม 8.20 บาท

คาดตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวขึ้น

กสิกรไทยคาดตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวขึ้น รอแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบแคบ โดยปัจจัยต่างประเทศยังคงมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นไทย ขณะที่มูลค่าการซื้อขายยังคงเบาบาง โดยดัชนีหุ้นไทยปิดลบเล็กน้อยในวันจันทร์ แม้ว่าจะมีแรงขายหุ้นกลุ่มพลังงาน เทคโนโลยี และอสังหาริมทรัพย์ถ่วงตลาด แต่ก็มีแรงซื้อหุ้นกลุ่มธนาคารและขนส่งเข้ามาช่วยพยุงตลาด หลังจากนั้น ดัชนีปิดปรับตัวลงต่อในวันอังคาร ท่ามกลางความกังวลของนักลงทุนต่อภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยและปัญหาแรงงาน ขณะที่ตลาดยังคงติดตามการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน อย่างไรก็ตาม ดัชนีปรับตัวขึ้นได้ในวันพุธ โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขส่งออกที่หดตัวน้อยลงกว่าในเดือนก่อนหน้า ขณะที่มีแรงซื้อนำในกลุ่มพลังงาน ธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ แต่มูลค่าการซื้อขายยังคงเบาบาง โดยนักลงทุนบางส่วนยังรอดูผลการประชุมนโยบายดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 17-18 มีนาคม หลังจากนั้น ดัชนีปรับตัวขึ้นต่อในวันพฤหัสบดี โดยในภาคเช้าได้รับแรงหนุนจากการปรับขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐ ขณะที่มีแรงซื้อหุ้นในกลุ่มพลังงาน เทคโนโลยี อสังหาริมทรัพย์ และขนส่ง แต่ยังไม่สามารถผ่านแนวต้านสำคัญที่ระดับ 430 จุด เนื่องจากมีแรงขายทำกำไรหุ้นกลุ่มธนาคารในภาคบ่าย ส่วนในวันศุกร์ ดัชนีปรับตัวขึ้นในภาคเช้า จากแรงซื้อในหุ้นกลุ่มพลังงาน ตามทิศทางของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวขึ้น ขณะที่ในภาคบ่ายมีแรงขายมากขึ้น นำโดยหุ้นกลุ่มธนาคาร เทคโนโลยี และอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้ดัชนีปิดบวกได้เพียงเล็กน้อย

สำหรับแนวโน้มในสัปดาห์นี้ (23-27 มี.ค.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทยและบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีน่าจะแกว่งตัวขึ้น

โดยอาจได้รับแรงหนุนจากมาตรการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะอัดฉีดเงินอีก 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เข้าสู่ระบบการเงิน และการพิจารณายกเลิกมาตรฐานบัญชี mark-to-market เป็นการชั่วคราว

ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้อาจส่งผลบวกต่อตลาดหุ้น นอกจากนี้ ยังคงต้องติดตามการเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ราคาน้ำมันในตลาดโลก การปรับตัวของตลาดหุ้นภูมิภาค ตลอดจนการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐ ส่วนปัจจัยในประเทศ ได้แก่ การพิจารณากรอบเงินกู้ 70,000 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 ในวันอังคารที่ 24 มี.ค. และความเคลื่อนไหวทางการเมือง ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด

คาดว่าดัชนีจะมีแนวรับที่ 426 และ 420 จุด ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 435 และ 442 จุด ตามลำดับ


ที่มา:สำนักข่าวไทย

เกาะติดตลาดหุ้น-เงิน

เกาะติดตลาดหุ้น-เงิน

- ตลาดหุ้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีวันแรกปิดที่ 426.61 จุด ลดลง 0.18 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6,400.43 ล้านบาท จากการที่ตลาดชะลอดูหลังปัญหาการล้มละลาย ของสถาบันการเงินในสหรัฐ

- กลางสัปดาห์ดัชนีปิด 426.20 จุด เพิ่มขึ้น 3.88 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5,664.09 ล้านบาท เป็นผลมาจากการคงอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางในยุโรป รวมทั้งการเสริมสภาพคล่องในภาคการเงิน ด้วยการที่เฟดจะเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาลสหรัฐ มูลค่า 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในระยะ 6 เดือนข้างหน้านี้





- ท้ายสัปดาห์ดัชนีปิดที่ 429.64 จุด บวก 1.92 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8,089.65 ล้านบาท โดยตลาดยังมีแรงกดดันจากการประกาศมาตรการเข้ามาเพิ่มสภาพคล่องของเฟด ซึ่งนักลงทุนยังกังวลถึงความเป็นไปได้ของแผนดังกล่าว

- สัปดาห์นี้ บล.บัวหลวง คาดว่าดัชนียังแกว่งตัว โดยมีปัจจัยกดดันจากต่างประเทศ ให้แนวรับที่ 420 จุด แนวต้าน 430-435 จุด

- ด้านค่าเงินบาท เปิดตลาดต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ 35.93/96 บาท/ดอลลาร์ หลังจากนั้นปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการอ่อนค่าลงของดอลลาร์ เนื่องจากนักลงทุนเริ่มเชื่อมั่นในเศรษฐกิจสหรัฐ ภายหลังสถาบันการเงินขนาดใหญ่ได้ประกาศว่าธนาคารมีกำไรใน 2 เดือนแรกของปี ตลอดจนมาตรการเสริมสภาพคล่องทำให้นักลงทุนลดการถือครองดอลลาร์ลง ส่งผลให้ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลหลักๆ รวมถึงเงินบาทของไทย

- กลางสัปดาห์เงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ ระหว่าง 35.50/85 จากนั้นได้เคลื่อนไหวสู่ระดับแข็งค่าที่สุดในสัปดาห์ที่ 35.34 จนปิดตลาดที่ 35.34/36 บาท/ดอลลาร์

- สัปดาห์นี้นักค้าเงินจากธนาคารกรุงศรี อยุธยา คาดว่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 35.20/60 บาท/ดอลลาร์ โดยยังต้องติดตามสถานการณ์เงินดอลลาร์อย่างใกล้ชิด

Template by - Abdul Munir | Blogging4