"ตลาดหุ้นดิ่ง ค่าเงินบาทผันผวน"
ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของค่าเงินประจำวันอังคารที่ 23 มิถุนายน 2552 ในช่วงการซื้อขายของตลาดนิวยอร์กเมื่อวันจันทร์ ค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับคาเงินสกุลหลัก เนื่องจากนักลงทุนกลับเข้าซื้อสกุลเงินดอลลาร์ในฐานะแหล่งเงินทุนที่ปลอดภัย หลังจากที่มีแถลงการณ์จากธนาคารโลก (World bank) ว่า ยังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะเห็นได้จากรายงานแนวโน้มที่ซบเซาทางเศรษฐกิจของธนาคารโลก
โดยธนาคารโลกได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) ประจำปี 2009 เช่น ยูโรโซน ได้มีการปรับลดการคาดการณ์จาก -2.7% เป็น -4.5% ประเทศญี่ปุ่น ปรับลดการคาดการณ์จาก -5.3% เป็น -6.3% ประเทศสหรัฐอเมริกา ปรับลดคาดการณ์จาก -2.4% เป็น -3%
ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาด นอกจากนี้นักลงทุนยังมุ่งความสนใจไปที่ผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมูลค่าสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 1.04 แสนล้านดอลาร์ในสัปดาห์นี้ด้วย อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐ อาทิ สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติรายงานยอดขายบ้านมือสองเดือนพฤษภาคม (23/6), กระทรวงพาณิชย์รายงานยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนและยอดขายบ้านใหม่เดือนพฤษภาคม (24/6), กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ (25/6), กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่แท้จริงขั้นสุดท้ายประจำไตรมาส 1 (25/6) โดยคาดว่า จีดีพีสหรัฐจะติดลบ 5.7% ในไตรมาสแรก ปี 2009
ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์
ด้านการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ ค่าเงินบาทเปิดตลาดวันอังคาร (23/6) ที่ระดับ 34.15/17 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจากระดับปิดวันจันทร์ (22/6) ที่ระดับ 34.15/16 บาท/ดอลลาร์ ในการซื้อขายระหว่างวันค่าเงินบาทมีการปรับตัวผันผวนโดยอ่อนค่าในช่วงเช้าจากการแข็งค่าขึ้นของดอลลาร์สหรัฐ จนไปแตะระดับ 34.13 อย่างไรก็ตามในช่วงบ่าย ค่าเงินบาทมีการแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย เนื่องจาก มีแรงขายดอลลาร์สหรัฐจากผู้ส่งออกอีกครั้ง โดยได้รับแรงหนุนจากที่ประชุมวุฒิสภามีมติเห็นชอบพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 4 แสนล้านบาท เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 34.16-34.21 บาท/ดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 34.13/15 บาท/ดอลลาร์
ตลาดยังรอดูผลการซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 ปี ครั้งแรกของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพุธนี้ ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ภาคธนาคารปล่อยกู้อีกครั้ง และปรับลดต้นทุนในการกู้ยืมสำหรับภาคธนาคาร ภาคเอกชน และผู้บริโภค ทั้งนี้ตลอดทั้งวันคาเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ ระหว่าง 1.3829-1.3939 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 1.3929/27 ดอลลาร์/ยูโร
อนึ่ง ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะประกาศมติการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินในวันพรุ่งนี้ (24/6) โดยคาดว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ 0.25%
Categories
- กองทุน (2)
- ข่าวห้องค้า (7)
- ความรู้ หุ้น (15)
- ความรู้อนุพันธ์ (6)
- ความรู้อนุพันธ์;TFEX (1)
- ความรู้ SET (5)
- คอลัมน์ทองคำ (1)
- คอลัมน์หุ้น (30)
- ค่าเงิน (4)
- ค่าระวางเรือ (2)
- ดอกเบี้ย (6)
- ตลาดเงิน (3)
- ตลาดหุ้นทั่วโลก (9)
- ตลาดหุ้นไทย (239)
- ตลาดหุ้นสหรัฐ (46)
- ตลาดหุ้นสหรัฐ;เศรษฐกิจสหรัฐ (2)
- ตัวเลขส่งออก (1)
- ตัวเลข GDP (2)
- ทองคำ (14)
- น้ำมัน (15)
- แนวโน้มตลาดรายวัน (8)
- บทความหุ้น (56)
- ปฎิทินหุ้น (3)
- แผนกู้วิกฤตการเงิน (19)
- วอร์แรนท์ (3)
- เศรษฐกิจญี่ปุ่น (1)
- เศรษฐกิจไทย (91)
- เศรษฐกิจโลก (29)
- เศรษฐกิจสหรัฐ (11)
- หุ้น (65)
- หุ้นกู้ (3)
- หุ้นเด่นวันนี้ (4)
- หุ้นแบงค์ (2)
- G20 (3)
- warrant (1)
--==::: ข่าวประกาศ :::==--
ตลาดหลักทรัพย์ เปลี่ยนช่วงราคา และการแสดงราคา จาก 3 ระดับเป็น 5 ระดับ เริ่มวันจันทร์ 30 มี.ค.2552
บทความย้อนหลัง
- 05 ก.ค. (1)
- 11 ก.ย. (3)
- 09 ก.ย. (6)
- 03 ก.ย. (3)
- 02 ก.ย. (2)
- 27 ส.ค. (2)
- 20 ส.ค. (3)
- 18 ส.ค. (4)
- 10 ส.ค. (4)
- 04 ส.ค. (1)
- 03 ส.ค. (5)
- 30 ก.ค. (5)
- 28 ก.ค. (4)
- 27 ก.ค. (3)
- 24 ก.ค. (4)
- 23 ก.ค. (4)
- 22 ก.ค. (5)
- 21 ก.ค. (3)
- 20 ก.ค. (7)
- 17 ก.ค. (3)
- 16 ก.ค. (4)
- 15 ก.ค. (2)
- 14 ก.ค. (4)
- 13 ก.ค. (5)
- 10 ก.ค. (5)
- 09 ก.ค. (5)
- 08 ก.ค. (4)
- 03 ก.ค. (6)
- 30 มิ.ย. (5)
- 29 มิ.ย. (6)
- 26 มิ.ย. (4)
- 25 มิ.ย. (5)
- 24 มิ.ย. (5)
- 23 มิ.ย. (5)
- 22 มิ.ย. (5)
- 19 มิ.ย. (5)
- 18 มิ.ย. (5)
- 17 มิ.ย. (4)
- 16 มิ.ย. (4)
- 15 มิ.ย. (6)
- 12 มิ.ย. (5)
- 11 มิ.ย. (4)
- 10 มิ.ย. (4)
- 09 มิ.ย. (4)
- 08 มิ.ย. (4)
- 05 มิ.ย. (5)
- 04 มิ.ย. (4)
- 03 มิ.ย. (1)
- 28 พ.ค. (4)
- 27 พ.ค. (4)
- 26 พ.ค. (6)
- 25 พ.ค. (6)
- 22 พ.ค. (8)
- 21 พ.ค. (5)
- 20 พ.ค. (4)
- 19 พ.ค. (3)
- 14 พ.ค. (3)
- 13 พ.ค. (2)
- 12 พ.ค. (2)
- 11 พ.ค. (5)
- 07 พ.ค. (3)
- 06 พ.ค. (4)
- 30 เม.ย. (4)
- 29 เม.ย. (5)
- 28 เม.ย. (4)
- 24 เม.ย. (4)
- 23 เม.ย. (4)
- 22 เม.ย. (4)
- 20 เม.ย. (3)
- 17 เม.ย. (4)
- 16 เม.ย. (4)
- 10 เม.ย. (5)
- 09 เม.ย. (3)
- 08 เม.ย. (7)
- 07 เม.ย. (7)
- 05 เม.ย. (4)
- 03 เม.ย. (7)
- 02 เม.ย. (8)
- 01 เม.ย. (8)
- 31 มี.ค. (5)
- 30 มี.ค. (6)
- 29 มี.ค. (4)
- 28 มี.ค. (2)
- 27 มี.ค. (9)
- 26 มี.ค. (8)
- 25 มี.ค. (4)
- 24 มี.ค. (6)
- 23 มี.ค. (7)
- 20 มี.ค. (6)
- 19 มี.ค. (9)
- 18 มี.ค. (6)
- 17 มี.ค. (6)
- 16 มี.ค. (7)
- 13 มี.ค. (3)
- 12 มี.ค. (3)
- 11 มี.ค. (5)
- 10 มี.ค. (8)
- 09 มี.ค. (7)
- 05 มี.ค. (7)
- 04 มี.ค. (6)
- 03 มี.ค. (3)
- 02 มี.ค. (5)
- 27 ก.พ. (5)
- 26 ก.พ. (2)
- 25 ก.พ. (5)
- 18 ก.พ. (2)
- 17 ก.พ. (3)
- 16 ก.พ. (2)
- 12 ก.พ. (2)
- 11 ก.พ. (3)
- 09 ก.พ. (1)
24 มิถุนายน 2552
ตลาดหุ้นดิ่ง ค่าเงินบาทผันผวน
โดย Mboy เวลา 09:06
ป้ายกำกับ: ค่าเงิน, ดอกเบี้ย, ตลาดหุ้นไทย, เศรษฐกิจโลก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น