ยังคงแกว่งตัวตามปัจจัยต่างประเทศ
สภาพตลาดวันวาน :
ภาคเช้า - แรงกดดันจากการดิ่งลงต่อเนื่องของตลาดหุ้นต่างประเทศ และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ รวมทั้งราคาน้ำมันดิบล่วงหน้า ส่งผลให้มีแรงขายหุ้นในกลุ่มหลัก ๆ โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน ออกมาตั้งแต่เริ่มเปิดซื้อขาย ทำให้ดัชนีเปิดลดลงจากวันก่อน 7.65 จุด จากนั้นจึงมีแรงซื้อหุ้นกลุ่มหลักทยอยกลับเข้ามาหนุนให้ดัชนีเริ่มกระเตื้องขึ้น โดยแกว่งตัวขึ้นไปทำจุดสูงสุดบริเวณ 598 จุด ต่อมามีแรงขายหุ้นกลุ่มนำตลาดออกมาเป็นระยะ ๆ ทำให้ดัชนีอ่อนตัวลงมาปิดภาคเช้าที่ 596.39 จุด ลดลง 0.15 จุด
ภาคบ่าย : แรงซื้อเก็งกำไรช่วงเปิดตลาดหนุนให้ดัชนีขึ้นไปทดสอบแนวต้านบริเวณ 600 จุด แต่ก็ไม่อาจผ่านขึ้นไปได้ จากนั้นก็มีแรงขายหุ้นกลุ่มหลักออกมาอย่างต่อเนื่อง จากความกังวลต่อการปรับฐานของดัชนี การลดลงของดัชนีตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในภูมิภาค และการเปิดตลาดลดลงของดัชนีตลาดหุ้นยุโรป ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้ามีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย ส่งผลให้ดัชนีแกว่งตัวลงไปทำจุดต่ำสุดที่ 585.29 จุด โดยแรงซื้อในช่วง 30 นาทีสุดท้าย หนุนให้ดัชนีกระเตื้องขึ้นมาปิดที่ระดับ 586.14 จุด ลดลง 10.40 จุด (-1.7%) โดยมีปริมาณซื้อขายลดลงเป็น 2.0 หมื่นล้านบาท ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิต่อเนื่อง
แนวโน้มตลาด : ขึ้นอยู่กับผลกระทบจากปัจจัยสำคัญ ต่อไปนี้
1. ทิศทางของตลาดหุ้นต่างประเทศ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในช่วงการปรับฐาน หลังจากนักลงทุนเริ่มมีความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอีกครั้ง ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศออกมามีทิศทางไม่ชัดเจน โดยข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านออกมาดีกว่าคาด ในขณะที่ตัวเลขการผลิตทางอุตสาหกรรมยังคงลดลงต่อเนื่อง ประกอบกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐลดลง ส่งผลให้ทิศทางของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดหุ้นแกนนำ ยังคงมีแนวโน้มผันผวนในสัปดาห์นี้ ซึ่งก็จะสร้างความผันผวนต่อตลาดหุ้นเอเชียเช่นกัน
2. ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และน้ำมันดิบ ราคาน้ำมันดิบยังคงมีแนวโน้มผันผวน เนื่องจากนักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้มีแรงขายทำกำไรสินค้าโภคภัณฑ์ และสัญญาส่งมอบน้ำมันดิบล่วงหน้า อย่างไรก็ดี คาดว่าปริมาณสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาจะลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งจะช่วยหนุนราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ก.ค. ให้ยังคงยืนเหนือระดับ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลได้ และจะช่วยหนุนราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานไม่ให้ลดลงมากนัก
3. ปัจจัยภายในประเทศ ปัจจัยบวกจากการที่สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบพระราชบัญญัติกู้เงิน 4 แสนล้านบาทแล้ว จากนั้นรัฐบาลจะนำเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาในต้นสัปดาห์หน้า และคาดว่ารัฐบาลจะสามารถดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 วงเงิน 1.43 ล้านล้านบาท ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งที่จะใช้ไปจนถึงปี 2555 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการก่อสร้าง ประกอบกับการที่ รฟม. จะเปิดซองราคาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงสัญญาที่ 3 ในสัปดาห์หน้า จะส่งผลดีต่อหุ้นในกลุ่มรับเหมาและวัสดุก่อสร้าง โดยรัฐบาลคาดว่าจะสามารถผลักดันให้ GDP ในปี ’53 เติบโต 2-3% ในขณะที่ปัจจัยลบที่ต้องจับตายังคงเป็นสถานการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่งลุกลามไปเรื่อย ๆ และจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ดีปัจจัยในประเทศโดยรวมยังไม่กดดันทิศทางตลาดหุ้นเท่าใดนัก
จากปัจจัยข้างต้น คาดว่าตลาดหุ้นวันนี้ มีแนวโน้มผันผวน ขึ้นอยู่กับทิศทางของตลาดหุ้นต่างประเทศ ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้า และทิศทางการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ คาดว่าดัชนีจะแกว่งตัวระหว่างกรอบแนวรับ 575-580 จุด กับแนวต้าน 600-605 จุด
กลยุทธ์ นักลงทุนระยะสั้น - ขึ้นขายก่อน รอซื้อเก็งกำไรหุ้นกลุ่มหลักที่แนวรับ
นักลงทุนระยะยาว - Short Port บ้าง ที่แนวต้าน รอซื้อกลับต่ำกว่า 580 จุด
โกสินทร์ ศรีไพบูลย์
Categories
- กองทุน (2)
- ข่าวห้องค้า (7)
- ความรู้ หุ้น (15)
- ความรู้อนุพันธ์ (6)
- ความรู้อนุพันธ์;TFEX (1)
- ความรู้ SET (5)
- คอลัมน์ทองคำ (1)
- คอลัมน์หุ้น (30)
- ค่าเงิน (4)
- ค่าระวางเรือ (2)
- ดอกเบี้ย (6)
- ตลาดเงิน (3)
- ตลาดหุ้นทั่วโลก (9)
- ตลาดหุ้นไทย (239)
- ตลาดหุ้นสหรัฐ (46)
- ตลาดหุ้นสหรัฐ;เศรษฐกิจสหรัฐ (2)
- ตัวเลขส่งออก (1)
- ตัวเลข GDP (2)
- ทองคำ (14)
- น้ำมัน (15)
- แนวโน้มตลาดรายวัน (8)
- บทความหุ้น (56)
- ปฎิทินหุ้น (3)
- แผนกู้วิกฤตการเงิน (19)
- วอร์แรนท์ (3)
- เศรษฐกิจญี่ปุ่น (1)
- เศรษฐกิจไทย (91)
- เศรษฐกิจโลก (29)
- เศรษฐกิจสหรัฐ (11)
- หุ้น (65)
- หุ้นกู้ (3)
- หุ้นเด่นวันนี้ (4)
- หุ้นแบงค์ (2)
- G20 (3)
- warrant (1)
--==::: ข่าวประกาศ :::==--
ตลาดหลักทรัพย์ เปลี่ยนช่วงราคา และการแสดงราคา จาก 3 ระดับเป็น 5 ระดับ เริ่มวันจันทร์ 30 มี.ค.2552
บทความย้อนหลัง
- 05 ก.ค. (1)
- 11 ก.ย. (3)
- 09 ก.ย. (6)
- 03 ก.ย. (3)
- 02 ก.ย. (2)
- 27 ส.ค. (2)
- 20 ส.ค. (3)
- 18 ส.ค. (4)
- 10 ส.ค. (4)
- 04 ส.ค. (1)
- 03 ส.ค. (5)
- 30 ก.ค. (5)
- 28 ก.ค. (4)
- 27 ก.ค. (3)
- 24 ก.ค. (4)
- 23 ก.ค. (4)
- 22 ก.ค. (5)
- 21 ก.ค. (3)
- 20 ก.ค. (7)
- 17 ก.ค. (3)
- 16 ก.ค. (4)
- 15 ก.ค. (2)
- 14 ก.ค. (4)
- 13 ก.ค. (5)
- 10 ก.ค. (5)
- 09 ก.ค. (5)
- 08 ก.ค. (4)
- 03 ก.ค. (6)
- 30 มิ.ย. (5)
- 29 มิ.ย. (6)
- 26 มิ.ย. (4)
- 25 มิ.ย. (5)
- 24 มิ.ย. (5)
- 23 มิ.ย. (5)
- 22 มิ.ย. (5)
- 19 มิ.ย. (5)
- 18 มิ.ย. (5)
- 17 มิ.ย. (4)
- 16 มิ.ย. (4)
- 15 มิ.ย. (6)
- 12 มิ.ย. (5)
- 11 มิ.ย. (4)
- 10 มิ.ย. (4)
- 09 มิ.ย. (4)
- 08 มิ.ย. (4)
- 05 มิ.ย. (5)
- 04 มิ.ย. (4)
- 03 มิ.ย. (1)
- 28 พ.ค. (4)
- 27 พ.ค. (4)
- 26 พ.ค. (6)
- 25 พ.ค. (6)
- 22 พ.ค. (8)
- 21 พ.ค. (5)
- 20 พ.ค. (4)
- 19 พ.ค. (3)
- 14 พ.ค. (3)
- 13 พ.ค. (2)
- 12 พ.ค. (2)
- 11 พ.ค. (5)
- 07 พ.ค. (3)
- 06 พ.ค. (4)
- 30 เม.ย. (4)
- 29 เม.ย. (5)
- 28 เม.ย. (4)
- 24 เม.ย. (4)
- 23 เม.ย. (4)
- 22 เม.ย. (4)
- 20 เม.ย. (3)
- 17 เม.ย. (4)
- 16 เม.ย. (4)
- 10 เม.ย. (5)
- 09 เม.ย. (3)
- 08 เม.ย. (7)
- 07 เม.ย. (7)
- 05 เม.ย. (4)
- 03 เม.ย. (7)
- 02 เม.ย. (8)
- 01 เม.ย. (8)
- 31 มี.ค. (5)
- 30 มี.ค. (6)
- 29 มี.ค. (4)
- 28 มี.ค. (2)
- 27 มี.ค. (9)
- 26 มี.ค. (8)
- 25 มี.ค. (4)
- 24 มี.ค. (6)
- 23 มี.ค. (7)
- 20 มี.ค. (6)
- 19 มี.ค. (9)
- 18 มี.ค. (6)
- 17 มี.ค. (6)
- 16 มี.ค. (7)
- 13 มี.ค. (3)
- 12 มี.ค. (3)
- 11 มี.ค. (5)
- 10 มี.ค. (8)
- 09 มี.ค. (7)
- 05 มี.ค. (7)
- 04 มี.ค. (6)
- 03 มี.ค. (3)
- 02 มี.ค. (5)
- 27 ก.พ. (5)
- 26 ก.พ. (2)
- 25 ก.พ. (5)
- 18 ก.พ. (2)
- 17 ก.พ. (3)
- 16 ก.พ. (2)
- 12 ก.พ. (2)
- 11 ก.พ. (3)
- 09 ก.พ. (1)
18 มิถุนายน 2552
ยังคงแกว่งตัวตามปัจจัยต่างประเทศ
โดย Mboy เวลา 09:10
ป้ายกำกับ: ตลาดหุ้นไทย, เศรษฐกิจไทย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น