"ณรงค์ชัย"ประเมินจีดีพีติดลบ 4% เตือนพ.ร.ก.ไม่ผ่านกระทบรุนแรง
"ณรงค์ชัย" ฟันธงเศรษฐกิจโลกต้องใช้เวลาฟื้นตัวกว่า 3 ปี ส่วนเศรษฐกิจไทยปีนี้ติดลบ 4% หาก พ.ร.ก.ไม่ผ่านคาดรุนแรงมากขึ้นแนะผู้ส่งออกเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส เจาะตลาดใหม่ทดแทนตลาดเก่า ชี้ตลาดเอเชียเป็นกลุ่มประเทศที่มีกำลังซื้อสูง
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) กล่าวในงาน Exim Forum ครั้งที่ 4 หัวข้อ “สู่มิติใหม่แห่งการส่งออกและการแข่งขัน” โดยเขาระบุว่าปีนี้เศรษฐกิจโลกจะติดลบ 1.8% เนื่องจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น และเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวได้ในอีก 3 ปีข้างหน้า สำหรับเศรษฐกิจไทยคาดว่าจะติดลบ 4% หากรัฐบาลนำเงินจาก พ.ร.ก.การให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 4 แสนล้านบาท มาใช้ได้ตามกำหนด แต่หากไม่ดำเนินการจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยติดลบมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และจะทำให้ค่าเงินบาทไทยแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องภายในสิ้นปีนี้
เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ขณะที่ไทยมีเงินสำรองระหว่างประเทศกว่าแสนล้านดอลลาร์และมากขึ้นทุกเดือน ขณะเดียวกันมีเงินลงทุนเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อีก
“หากร่าง พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาทไม่ผ่านรัฐสภา เชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยติดลบมากกว่านี้ เนื่องจากขณะนี้มีเพียงรัฐบาลเท่านั้นที่ใช้จ่ายเงินและลงทุนด้านต่างๆ ขณะที่ภาคเอกชนไม่ลงทุน ดังนั้น รัฐบาลต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเร่งผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 ผ่านโครงการต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้ ไม่เช่นนั้น เมื่อเงินล้นระบบแถมมีสภาพคล่องในระบบธนาคารสูง” ประธานกรรมการ ธสน.กล่าว
เขากล่าวว่า ตัวเลขเศรษฐกิจในหลายประเทศจะอยู่ในระดับที่เริ่มนิ่ง ซึ่งหมายความว่า เศรษฐกิจจะไม่ปรับตัวลดลงมากกว่านี้ ฉะนั้นในภาวะเช่นนี้ ภาคธุรกิจส่งออกของไทยก็ต้องเร่งปรับตัว เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด โดยแนะนำให้หาตลาดใหม่ ปรับสินค้าให้เหมาะสมกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมในประเทศที่ส่งออก และปรับปรุงสินค้าให้มีลักษณะเชิงสร้างสรรค์มากขึ้น
เขาระบุว่า กลุ่มตลาดใหม่ที่ว่านี้ คือ กลุ่มตลาดเอเชีย ซึ่งเป็นตลาดที่ยังมีกำลังซื้อสูง โดยเฉพาะคนระดับกลาง แม้ว่า ในภาพรวมของเศรษฐกิจแต่ละประเทศจะไม่ขยายตัวมากนัก แต่กลุ่มคนระดับกลางยังมีศักยภาพในการซื้อสูงมาก ยกตัวอย่าง ประเทศจีน และญี่ปุ่น ซึ่งประชาชนเหล่านี้มีฐานะที่ดี และมีเงินออมอยู่มาก ขณะที่ บางประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีแนวโน้มคนชราสูงมาก ฉะนั้น ผู้ประกอบธุรกิจส่งออก ก็ต้องมาคิดว่า จะผลิตสินค้า เพื่อป้อนลูกค้าเหล่านี้ได้อย่างไร นอกจากนี้ การผลิตสินค้าในเชิงสร้างสรรค์ จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าได้
“ตลาดใหม่ในกลุ่มประเทศเอเชีย ประกอบด้วย เกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน ซาอุดีอาระเบีย รัสเซีย และลิเบีย ปัจจุบันมีกำลังซื้อไม่แพ้ตลาดหลัก ขณะที่ บางประเทศ เช่น จีน และอินเดีย มีรายได้ประชากรต่อหัวไม่สูงนักในปัจจุบัน แต่ตัวเลขรายได้ประชากรต่อหัวกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศแบบก้าวกระโดดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จึงกล่าวได้ว่า กำลังซื้อของตลาดใหม่ยังมีอยู่มากและเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และนั่นคือโอกาสของผู้ส่งออกไทย” เขากล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า ผู้ประกอบการส่งออกของไทยจะเร่งปรับตัวทั้ง 3 ด้าน แต่ภาพรวมการส่งออกของไทยก็ยังขยายตัวติดลบ ซึ่งเราประเมินว่า มูลค่าการส่งออกของไทยจะขยายตัวติดลบกว่า 20% ในปีนี้ และแนะนำว่า รัฐบาลควรเลิกพูดเรื่องเป้าหมายการส่งออกได้แล้ว แต่ควรหันมาเร่งปรับปรุงโครงสร้างการส่งออกให้เข้มแข็ง โดยมองดูว่า ขณะนี้ เราได้เลี้ยวออกจากเป้าหมายเดิม และหันมาหาเป้าหมายใหม่ที่มีศักยภาพหรือยัง
"ในเม็ดเงิน 4 แสนล้านบาทที่รัฐบาลมีแผนจะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจโดยการลงทุนในด้านต่างๆ นั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการปรับปรุงคุณภาพสินค้าเพื่อการส่งออก โดยเฉพาะสินค้าเกษตร เพราะเท่าที่พิจารณาแล้ว เงินลงทุนจะลงในภาคเกษตรจำนวนมาก หากรัฐบาลเร่งปรับปรุงให้ความรู้เชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับการผลิตเพื่อส่งออก จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสินค้าแก่ผู้ส่งออกได้มากขึ้น"
นายณรงค์ชัย กล่าวว่า ให้รัฐบาลใช้กลไกตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET) เป็นกลไกการตลาดเข้าดูแลราคาสินค้าเกษตรให้กับเกษตรกร พร้อมพิจารณาจัดตั้งองค์กรขึ้นมาทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลให้กลไกตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าทำงาน (มาร์เก็ตเมคเกอร์) แทนการแทรกแซงตลาดด้วยการรับจำนำและประกันราคาผลผลิตทางการเกษตรอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่รัฐบาลดำเนินการไปตามการเรียกร้องของเกษตรกรและแรงกดดันทางการเมือง ซึ่งก็ควรใช้มาตรการนี้ในระยะสั้นเท่านั้น
ทั้งนี้สาเหตุที่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการแทรกแซงราคา และประกันราคา เพราะทั้งสองวิธีการดังกล่าว ทำให้กลไกตลาดไม่ทำงาน และวิธีการรับจำนำข้าวยังทำให้สต็อกข้าวของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจนมากอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยโชคดีที่ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ ในตลาดโลกสูงขึ้นทำให้ไทยสามารถระบายข้าวออกไปได้ แต่โชคไม่ได้มีเสมอไป ในขณะที่ระบบประกันราคามีข้อดีกว่าตรงที่รัฐบาลทราบว่าจะขาดทุนเท่าใดจากส่วนต่างราคาตลาดและราคาที่ได้รับประกันราคาเอาไว้
ด้านนายอภิชัย บุญธีรวร กรรมการผู้จัดการ ธสน.กล่าวว่า ธสน.พร้อมให้การสนับสนุนกลุ่มผู้ส่งออกที่มีแนวคิดการผลิตสินค้าเชิงสร้างสรรค์ โดยการสนับสนุนอาจจะเป็นไปในรูปของการร่วมลงทุน เพราะการผลิตสินค้าในเชิงสร้างสรรค์นี้ อาจต้องใช้เวลานานกว่าจะประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ รูปแบบการร่วมทุนนี้ ธสน.จะร่วมใส่เงินลงทุน โดยไม่คิดอัตราดอกเบี้ย แต่ต้องแบ่งผลตอบแทน อย่างไรก็ตาม สำหรับธุรกิจที่ต้องการเงินทุนระยะสั้นแค่ 2-3 ปี ทาง ธสน.ก็พร้อมที่จะสนับสนุน โดย ธสน.พร้อมที่จะผ่อนปรนเงื่อนไขสินเชื่อให้
Categories
- กองทุน (2)
- ข่าวห้องค้า (7)
- ความรู้ หุ้น (15)
- ความรู้อนุพันธ์ (6)
- ความรู้อนุพันธ์;TFEX (1)
- ความรู้ SET (5)
- คอลัมน์ทองคำ (1)
- คอลัมน์หุ้น (30)
- ค่าเงิน (4)
- ค่าระวางเรือ (2)
- ดอกเบี้ย (6)
- ตลาดเงิน (3)
- ตลาดหุ้นทั่วโลก (9)
- ตลาดหุ้นไทย (239)
- ตลาดหุ้นสหรัฐ (46)
- ตลาดหุ้นสหรัฐ;เศรษฐกิจสหรัฐ (2)
- ตัวเลขส่งออก (1)
- ตัวเลข GDP (2)
- ทองคำ (14)
- น้ำมัน (15)
- แนวโน้มตลาดรายวัน (8)
- บทความหุ้น (56)
- ปฎิทินหุ้น (3)
- แผนกู้วิกฤตการเงิน (19)
- วอร์แรนท์ (3)
- เศรษฐกิจญี่ปุ่น (1)
- เศรษฐกิจไทย (91)
- เศรษฐกิจโลก (29)
- เศรษฐกิจสหรัฐ (11)
- หุ้น (65)
- หุ้นกู้ (3)
- หุ้นเด่นวันนี้ (4)
- หุ้นแบงค์ (2)
- G20 (3)
- warrant (1)
--==::: ข่าวประกาศ :::==--
ตลาดหลักทรัพย์ เปลี่ยนช่วงราคา และการแสดงราคา จาก 3 ระดับเป็น 5 ระดับ เริ่มวันจันทร์ 30 มี.ค.2552
บทความย้อนหลัง
- 05 ก.ค. (1)
- 11 ก.ย. (3)
- 09 ก.ย. (6)
- 03 ก.ย. (3)
- 02 ก.ย. (2)
- 27 ส.ค. (2)
- 20 ส.ค. (3)
- 18 ส.ค. (4)
- 10 ส.ค. (4)
- 04 ส.ค. (1)
- 03 ส.ค. (5)
- 30 ก.ค. (5)
- 28 ก.ค. (4)
- 27 ก.ค. (3)
- 24 ก.ค. (4)
- 23 ก.ค. (4)
- 22 ก.ค. (5)
- 21 ก.ค. (3)
- 20 ก.ค. (7)
- 17 ก.ค. (3)
- 16 ก.ค. (4)
- 15 ก.ค. (2)
- 14 ก.ค. (4)
- 13 ก.ค. (5)
- 10 ก.ค. (5)
- 09 ก.ค. (5)
- 08 ก.ค. (4)
- 03 ก.ค. (6)
- 30 มิ.ย. (5)
- 29 มิ.ย. (6)
- 26 มิ.ย. (4)
- 25 มิ.ย. (5)
- 24 มิ.ย. (5)
- 23 มิ.ย. (5)
- 22 มิ.ย. (5)
- 19 มิ.ย. (5)
- 18 มิ.ย. (5)
- 17 มิ.ย. (4)
- 16 มิ.ย. (4)
- 15 มิ.ย. (6)
- 12 มิ.ย. (5)
- 11 มิ.ย. (4)
- 10 มิ.ย. (4)
- 09 มิ.ย. (4)
- 08 มิ.ย. (4)
- 05 มิ.ย. (5)
- 04 มิ.ย. (4)
- 03 มิ.ย. (1)
- 28 พ.ค. (4)
- 27 พ.ค. (4)
- 26 พ.ค. (6)
- 25 พ.ค. (6)
- 22 พ.ค. (8)
- 21 พ.ค. (5)
- 20 พ.ค. (4)
- 19 พ.ค. (3)
- 14 พ.ค. (3)
- 13 พ.ค. (2)
- 12 พ.ค. (2)
- 11 พ.ค. (5)
- 07 พ.ค. (3)
- 06 พ.ค. (4)
- 30 เม.ย. (4)
- 29 เม.ย. (5)
- 28 เม.ย. (4)
- 24 เม.ย. (4)
- 23 เม.ย. (4)
- 22 เม.ย. (4)
- 20 เม.ย. (3)
- 17 เม.ย. (4)
- 16 เม.ย. (4)
- 10 เม.ย. (5)
- 09 เม.ย. (3)
- 08 เม.ย. (7)
- 07 เม.ย. (7)
- 05 เม.ย. (4)
- 03 เม.ย. (7)
- 02 เม.ย. (8)
- 01 เม.ย. (8)
- 31 มี.ค. (5)
- 30 มี.ค. (6)
- 29 มี.ค. (4)
- 28 มี.ค. (2)
- 27 มี.ค. (9)
- 26 มี.ค. (8)
- 25 มี.ค. (4)
- 24 มี.ค. (6)
- 23 มี.ค. (7)
- 20 มี.ค. (6)
- 19 มี.ค. (9)
- 18 มี.ค. (6)
- 17 มี.ค. (6)
- 16 มี.ค. (7)
- 13 มี.ค. (3)
- 12 มี.ค. (3)
- 11 มี.ค. (5)
- 10 มี.ค. (8)
- 09 มี.ค. (7)
- 05 มี.ค. (7)
- 04 มี.ค. (6)
- 03 มี.ค. (3)
- 02 มี.ค. (5)
- 27 ก.พ. (5)
- 26 ก.พ. (2)
- 25 ก.พ. (5)
- 18 ก.พ. (2)
- 17 ก.พ. (3)
- 16 ก.พ. (2)
- 12 ก.พ. (2)
- 11 ก.พ. (3)
- 09 ก.พ. (1)
09 มิถุนายน 2552
"ณรงค์ชัย"ประเมินจีดีพีติดลบ 4%
โดย Mboy เวลา 09:19
ป้ายกำกับ: ตลาดหุ้นไทย, เศรษฐกิจไทย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น